การเปรียบเทียบระบบวีซ่าของประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทย (8) เกี่ยวกับ “สิทธิอยู่อาศัยถาวร” ※ เป็นบทความฉบับภาษาไทย วันที่ 2 กันยายน 2563

「日タイのビザ制度比較(8)~永住権~」のタイ語訳です

คราวนี้จะลองเปรียบเทียบเกี่ยวกับสิทธิอยู่อาศัยถาวรของประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทย

คำว่า “สิทธิอยู่อาศัยถาวร” ได้ยินคำว่า “สิทธิอยู่อาศัยถาวร” บ่อย แล้ว “สิทธิอยู่อาศัยถาวร” คืออะไร
อาจจะพูดได้ว่า “ไม่มีหลักเกณฑ์ที่เหมือนทุกประเทศ”
เนื่องจากการที่จะให้คนต่างด้าวมีสิทธิอยู่อาศัยถาวรในประเทศของตนภายใต้เงื่อนไขอย่างไรนั้น (เงื่อนไขการอนุญาต) ย่อมมีความแตกต่างกันในแต่ละประเทศ
ถ้าจะให้เกิดภาพพจน์ของคำว่า “สิทธิอยู่อาศัยถาวร” ที่ใคร ๆ ก็มีสิทธิที่จะได้รับ  เปลี่ยนเป็นคำพูดที่น่าจะเป็นว่า “สิทธิอยู่อาศัยตลอดชีพในประเทศใดประเทศหนึ่งนอกจากประเทศของตนเอง โดยยังคงให้ถือสัญชาติของตนเองไว้”

แต่เมื่อได้รับคำอธิบายจากพาทเนอร์เกี่ยวกับสิทธิอยู่อาศัยถาวรของประเทศไทย หรือที่เรียกว่า “การขอมีถิ่นที่อยู่ถาวร”  สำหรับการขอมีถิ่นที่อยู่ถาวรของประเทศไทย รู้สึกว่าไม่ค่อยจะมีข้อดีเท่ากับภาพพจน์ของคนญี่ปุ่นที่ได้มาจากคำว่า “สิทธิ”

อาจจะเป็นเพราะว่าสิทธิอยู่อาศัยถาวรของประเทศญี่ปุ่นให้สิทธิที่มีขอบเขตกว้าง และมีตำแหน่งที่มั่นคงให้กับคนต่างชาติมากกว่าประเทศไทย
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเงื่อนไขหรือความยุ่งยากในการขอสิทธิ  แต่ของประเทศไทยนั้นเหมือนจะมีการสูญเสียสิทธิง่ายและไม่มีอิสระในการทำงาน รู้สึกว่าไม่ค่อยจะมีความมั่นคงหรือข้อดีเลย 

ต่อไปจะเขียนถึง “สิทธิอยู่อาศัยถาวร” ของทั้งประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทย

รวมถึงเรื่องที่พูดมาในตอนแรกกรณีที่ “ถือสิทธิอยู่อาศัยถาวร” ในประเทศญี่ปุ่น หมายความว่า “สิทธิอยู่อาศัย ผู้อยู่อาศัยถาวร” “สิทธิอยู่อาศัย” โดยทั่วไปจะเรียกว่า วีซ่า (ในบล็อคนี้ด้วย) หรือ “วีซ่าผู้อยู่อาศัยถาวร” ก็คือ สิทธิอยู่อาศัยถาวรของประเทศญี่ปุ่นเป็นประเภทหนึ่งของสิทธิอยู่อาศัย (วีซ่า)
สำหรับวีซ่าประเภทอื่นจะมีระยะเวลาอยู่อาศัย (ระยะเวลาวีซ่า) กำหนดไว้ ถึงแม้จะเป็นวีซ่าที่มีระยะเวลานานก็ตามก็จะต้องต่ออายุวีซ่าอย่างน้อย 5 ปี ต่อ 1 ครั้ง และต้องได้รับการตรวจสอบสภาพการอยู่อาศัยต่าง ๆ แต่สำหรับวีซ่าอยู่อาศัยถาวรเป็นวีซ่าเพียงประเภทเดียวที่ไม่มีระยะเวลาของวีซ่า
หลักการส่วนใหญ่ของระบบสิทธิอยู่อาศัยของประเทศญี่ปุ่นจะเป็น “หนึ่งคนต่อหนึ่งสิทธิอยู่อาศัย” หมายถึง คนต่างชาติมีสิทธิถือวีซ่าได้เพียงประเภทเดียว เช่น ไม่สามารถถือวีซ่า “วิศวกร ผู้เชี่ยวชาญด้านมนุษยศาสตร์ กิจการระหว่างประเทศ” และวีซ่า “ผู้อยู่อาศัยถาวร” พร้อมกันได้  ดังนั้น แม้จะมีคุณสมบัติครบตามเงื่อนไขของทั้งสองวีซ่าก็ตาม

ในประเทศญี่ปุ่นจะให้การรับรองผู้ถือสิทธิอยู่อาศัยถาวรด้วยบัตร “ไซริวการ์ด” ซึ่งเป็นสิทธิอยู่อาศัย

สำหรับประเทศไทยกำหนดว่า “สิทธิอยู่อาศัยถาวร” ไม่ใช่วีซ่า และสิทธิอยู่อาศัยถาวรของประเทศไทยจะมีโอกาสได้รับเฉพาะผู้ที่ถือวีซ่า 4 ประเภท (วีซ่าทำงาน วีซ่าครอบครัว วีซ่าผู้เชี่ยวชาญ วีซ่านักลงทุน) หมายถึง คนต่างชาติที่จะมีสิทธิขอมีถิ่นที่อยู่ถาวรในประเทศไทยจะต้องถือวีซ่าประเภทใดประเภทหนึ่งในวีซ่า 4 ประเภทดังกล่าว

เนื่องจากประเทศไทยนั้นวีซ่ากับสิทธิอยู่อาศัยถาวรเป็นคนละประเภทกัน โดยจะมีการออกใบอนุญาตอยู่อาศัยถาวรที่แสดงว่าเป็นผู้มีสิทธิอยู่อาศัยถาวรต่างหาก (ค่าธรรมเนียมประมาณ 190,000 บาท  อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 21 สิงหาคม 2020 ประมาณ  640,000 เยน เป็นอัตราที่ค่อนข้างสูง)

ต่อไปจะเป็นเงื่อนไขการได้รับสิทธิอยู่อาศัยถาวร

การได้รับสิทธิอยู่อาศัยถาวรนั้นมีหลายเงื่อนไข  แม้จะมีเอกสารครบถ้วนก็ตามก็ใช่ว่าจะได้รับการอนุมัติอย่างแน่นอน ในประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทยก็เช่นเดียวกัน ถ้าจะเขียนเรื่องเงื่อนไขหรือเอกสารที่ใช้ประกอบการยื่นคำขอนั้นมีค่อนข้างเยอะ ดังนั้น ในคอลัมน์นี้จะเขียนเฉพาะเงื่อนไขที่สำคัญหลัก ๆ เท่านั้น หมายถึง ถ้าไม่เข้าเงื่อนไขดังจะกล่าวต่อไปนี้ แม้จะยื่นคำขอก็อาจจะเสียเวลาเปล่า (ไม่ได้รับการอนุมัติ)

◎จำนวนปีที่อยู่อาศัย

ประเทศญี่ปุ่น

ประเทศไทย

วีซ่าทำงานทั่วไป : 10 ปี

วีซ่าคู่สมรสของบุคคลสัญชาติญี่ปุ่น : 1 ปี (ระยะเวลาจดทะเบียนสมรส 3 ปี)

วีซ่าคู่สมรสของบุคคลผู้อยู่อาศัยถาวร : 1 ปี (ระยะเวลาจดทะเบียนสมรส 3 ปี)

วีซ่าผู้อยู่อาศัยระยะยาว : 5 ปี

วีซ่าอาชีพความเชี่ยวชาญสูงทางเทคนิค (มากกว่า 70 แต้ม) : 3 ปี

วีซ่าอาชีพความเชี่ยวชาญสูงทางเทคนิค (มากกว่า 80 แต้ม) : 1 ปี

ไม่น้อยกว่า 3 ปี นับถึงวันที่ยื่นคำขอ

 

กรณีประเทศญี่ปุ่น ไม่ว่าจะอยู่อาศัยโดยวัตถุประสงค์หรือเหตุผลใด โดยหลักจะต้องอยู่อาศัยติดต่อกันมากกว่า 10 ปีขึ้นไป หรือหากผู้ยื่นคำขอมีทักษะเฉพาะตัวในด้านใดก็สามารถขอลดจำนวนปีที่อยู่อาศัยได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าผู้นั้นอยู่อาศัยด้วยวัตถุประสงค์หรือเหตุผลใดด้วย โดยหลักแล้วการอยู่อาศัยจะต้องติดต่อกันมากกว่า 10 ปีขึ้นไป กรณีกลับเข้าประเทศญี่ปุ่นอีกครั้งโดยวีซ่าประเภทใหม่ก็จะต้องเริ่มนับใหม่ แม้จะอยู่อาศัยที่ประเทศญี่ปุ่นครบตามจำนวนปีดังตารางข้างต้นก็ตาม  สำหรับกรณีที่เคยเดินทางออกจากประเทศญี่ปุ่นไปแล้วเป็นระยะเวลายาวนาน มีโอกาสที่จะไม่ได้รับอนุมัติโดยเหตุผลที่ว่า “อยู่อาศัยที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นประจำค่อนข้างน้อย”
และประเทศญี่ปุ่นมีเงื่อนไขเพิ่มเติมอีกว่า จะต้องเป็นผู้ที่ถือวีซ่ามากกว่า 3 ปีขึ้นไป  ดังนั้น ผู้ที่ถือวีซ่า 1 ปี แม้จะอาศัยอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่นมานานกว่า 10 ปีก็ตาม  ก็ไม่สามารถได้รับสิทธิอยู่อาศัยถาวร

※หมายเหตุ สำหรับเงื่อนไขที่จะได้รับวีซ่า 3 ปี กรุณาดูดังต่อไปนี้

วีซ่า “คู่สมรสของบุคคลสัญชาติญี่ปุ่น” และวีซ่า “คู่สมรสของบุคคลผู้อยู่อาศัยถาวร”
วีซ่า “ วีซ่าผู้อยู่อาศัยระยะยาว”
วีซ่า “วิศวกร ผู้เชี่ยวชาญด้านมนุษยศาสตร์ กิจการระหว่างประเทศ”  วีซ่า “แรงงานมีฝีมือ”  วีซ่า “พนักงานโยกย้ายภายในบริษัท”

สำหรับประเทศไทย โดยหลักจะต้องอยู่อาศัยไม่น้อยกว่า 3 ปี  และกรณีที่กลับประเทศของตนและได้รับวีซ่าใหม่ก็จะเริ่มนับใหม่เช่นเดียวกับประเทศญี่ปุ่น แต่ถึงแม้ว่าจะเริ่มนับใหม่ ประวัติการอยู่อาศัยในอดีตอาจจะอยู่ในเกณฑ์การพิจารณาด้วย

◎ประเภทวีซ่าที่สามารถยื่นคำขอได้

ประเทศญี่ปุ่น

ประเทศไทย

เช่น วีซ่า “ผู้ฝึกปฎิบัติงานทางเทคนิค”หรือวีซ่า “นักศึกษา” หรือวีซ่า”ทักษะเฉพาะทาง ประเภท1″ มีโอกาสได้รับยกเว้นบางกรณี

การทำงาน (NON B)

การลงทุน (NON IB)

ผู้เชี่ยวชาญ (NON EX)

ครอบครัว (NON O)

 

กรณีประเทศญี่ปุ่น วีซ่า “นักศึกษา” ที่ยังไม่มีรายได้ หรือวีซ่า “ผู้ฝึกปฎิบัติงานทางเทคนิค” ที่ในอนาคตจะต้องกลับประเทศ หรือวีซ่า “ผู้ฝึกปฏิบัติงานทางเทคนิคประเภท 1” ไม่มีโอกาสที่จะได้รับสิทธิอยู่อาศัย  นอกจากนั้นเช่น วีซ่า “ผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจกรรมตามที่กำหนด” มีความจำเป็นที่จะต้องมีการตรวจสอบต่างหาก

สำหรับประเทศไทยมีวีซ่า 4 ประเภท ที่มีโอกาส

◎อายุ

ประเทศญี่ปุ่น

ประเทศไทย

ไม่มีจำกัด

อายุ 40 ปีขึ้นไป (ยกเว้นบุตรของผู้มีสิทธิอยู่อาศัยถาวร)

             

กรณีประเทศไทยมีการจำกัดอายุ กล่าวคือ คนที่อายุต่ำกว่า 40 ปี ไม่สามารถยื่นคำขอได้  ยกเว้นกรณีบุตรของผู้มีสิทธิอยู่อาศัยถาวรแม้จะมีอายุไม่ถึง 40 ปี ก็สามารถได้สิทธิอยู่อาศัยถาวรตามครอบครัว แต่สิทธิอยู่อาศัยถาวรของบุตรจะหมดอายุตอนอายุครบ 20 ปี

สำหรับประเทศญี่ปุ่นไม่มีจำกัดในเรื่องของอายุ บุตรของบุคคลผู้อยู่อาศัยถาวรจะได้รับสิทธิตลอดชีพ ยกเว้นกรณีที่เกินเวลาอนุมัติเข้าประเทศใหม่หรือทำผิดกฎหมายที่กำหนดไว้

จุดที่เหมือนกันของทั้ง 2 ประเทศ คือกรณีที่ไม่มีรายได้เนื่องจากอายุเยอะแล้ว (กรณีที่ไม่มีรายได้จากระบบเงินบำนาญ หรือ เนงคิน) โอกาสที่จะได้รับสิทธิอยู่อาศัยถาวรค่อนข้างจะยากขึ้น ทั้งนี้ประเทศญี่ปุ่นมีระบบเยียวยาสำหรับคนต่างชาติที่เข้าเงื่อนไขที่กำหนดไว้ ก็สามารถมีสิทธิที่จะได้รับสิทธิอยู่อาศัยถาวร แต่ระบบเยียวยาไม่ถือว่ามีรายได้ ไม่สามารถได้รับสิทธิอยู่อาศัยถาวรได้ (ระบบเยียวยา การได้รับวีซ่า 3 ปี ค่อนข้างจะยาก)

◎ช่วงเวลาในการยื่นคำขอ และจำนวนคนที่รับยื่นคำขอ

ประเทศญี่ปุ่น

ประเทศไทย

สามารถยื่นคำขอได้ทุกเวลา / ไม่มีจำกัดจำนวนคน

เปิดรับคำขอปีละครั้ง (ติดตามข่าวสารได้ที่ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง)    / ปีละไม่เกิน 100 คน

 

ประเทศญี่ปุ่นสามารถยื่นคำขอได้ทุกเวลา และไม่มีจำกัดจำนวนคนที่ยื่นคำขอ หากมีคุณสมบัติครบตามเงื่อนไขก็สามารถได้รับสิทธิอยู่อาศัยถาวร และสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองจะไม่พูดว่า “ปีนี้มีการยื่นคำขอหลายคนแล้วจะไม่รับอีก”

สำหรับประเทศไทยช่วงเวลายื่นคำขอมีเพียงปีละหนึ่งครั้ง (ช่วงเวลาอาจมีการเปลี่ยนแปลง ติดตามข่าวสารได้ที่ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง) โดยเปิดรับไม่เกิน 100 คน ต่อปี  ดังนั้นสำหรับผู้ที่อยากจะยื่นคำขอมีความจำเป็นจะต้องเตรียมตัวล่วงหน้าและยื่นคำขอให้เร็วที่สุด เพื่อจะได้อยู่ในลำดับ 100 คน 

◎ความสามารถทางด้านภาษา                             

ประเทศญี่ปุ่น

ประเทศไทย

ไม่มีการทดสอบความสามารถทางด้านภาษาญี่ปุ่น

มีการทดสอบความสามารถทางด้านภาษาไทยโดยการสัมภาษณ์

 

ประเทศญี่ปุ่นไม่มีการทดสอบความสามารถทางด้านภาษาญี่ปุ่นในการยื่นคำขอ (กรณีเปลี่ยนสัญชาติจะมีการทดสอบความสามารถทางด้านภาษาญี่ปุ่น) สำหรับการยื่นคำขอสิทธิอยู่อาศัยถาวรของประเทศญี่ปุ่นนั้น ผู้ช่วยด้านกฎหมายอย่างพวกเราสามารถยื่นคำขอแทนได้และไม่มีการสัมภาษณ์ แต่ภายหลังจากที่ยื่นคำขอแล้วอาจจะมีการขอเอกสารเพิ่มเติม แต่โดยหลักจะรอฟังผลการพิจารณาอย่างเดียว

สำหรับประเทศไทยผู้ยื่นคำขอจะต้องยื่นคำขอพร้อมเอกสารประกอบด้วยตนเอง และมีการนัดหมายเพื่อมาสัมภาษณ์โดยจะมีการทดสอบความสามารถทางด้านภาษาไทยเกี่ยวกับการพูดและการฟัง ซึ่งการสัมภาษณ์นี้อาจจะมีมากกว่า 2 ครั้ง ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของเจ้าหน้าที่ ดังนั้นหากมีความต้องการที่จะได้รับสิทธิอยู่อาศัยถาวรในประเทศไทยจะต้องมีความสามารถทางด้านภาษาไทยพอสมควร

◎ประวัติการทำผิดกฎหมาย

เป็นจุดสำคัญของทั้งประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทย
กรณีประเทศไทยประวัติการทำผิดกฎหมายนอกประเทศก็อยู่ในเกณฑ์การพิจารณาอย่างชัดเจน  ดังนั้นตอนยื่นคำขอมีความจำเป็นจะต้องมีหนังสือรับรองประวัติอาชญากรรมด้วย ได้ยินบ่อยครั้งว่า “Overstay ของประเทศไทย จ่ายค่าปรับก็จบ” แต่จะอยู่ในระบบบัญชีเฝ้าดู Blacklist หรือไม่ ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของเจ้าหน้าที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง  หากขณะที่ออกจากประเทศส่วนใหญ่มีระยะเวลา Overstay เกิดขึ้นบ่อย ๆ หรือทำซ้ำกัน มีโอกาสสูงที่จะอยู่ในระบบบัญชีเฝ้าดู Blacklist ดังนั้นหากผู้ยื่นคำขอมีรายชื่ออยู่ในระบบบัญชีเฝ้าดู Blacklist  การจะได้รับสิทธิอยู่อาศัยถาวรก็จะค่อนข้างยากขึ้น  การตรวจสอบว่ามีรายชื่อผู้อยู่ในระบบบัญชีเฝ้าดู Blacklist  หรือไม่ สามารถตรวจสอบได้ที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง

สำหรับประเทศญี่ปุ่น ไม่ต้องแสดงหนังสือรับรองประวัติอาชญากรรมของประเทศสัญชาติของผู้ยื่นคำขอ แต่อาจจะมีโอกาสสูงที่จะมีการตรวจสอบประวัติการทำผิดกฎหมายนอกประเทศญี่ปุ่นขณะพิจารณาคำขอได้  และประเทศญี่ปุ่นประวัติของ Overstay ทั้งหมดจะถูกบันทึกไว้อย่างถาวร ไม่ใช่ว่า “ถ้ามีประวัติ Overstay แล้ว ไม่สามารถได้รับสิทธิอยู่อาศัยถาวรได้” แต่จะมีผลกระทบในทางลบเกี่ยวกับการพิจารณาโดยขึ้นอยู่กับความถี่หรือระยะเวลา

◎เกี่ยวกับรายได้

ทั้งประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น เรื่องรายได้ก็ถือเป็นจุดสำคัญ แต่ไม่ได้แสดงชัดเจนว่าจะต้องมีรายได้จำนวนเท่าไหร่ถึงจะยื่นคำขอได้
กรณีประเทศญี่ปุ่น ถ้าเป็นผู้ที่ถือวีซ่าทำงานได้ยินบ่อย ๆ ว่าจะต้องมีรายได้ต่อปีมากว่า 3 ล้านเยน ติดต่อกันเป็นเวลา 5 ปีขึ้นไป  แต่ก็ไม่ใช่ตัวเลขที่ระบุไว้แน่นอนอาจจะขึ้นอยู่กับฐานะทางครอบครัวด้วย บางกรณีมีรายได้มากกว่านี้แต่ก็ไม่ได้รับการอนุมัติ  หรือน้อยกว่านี้อาจจะได้รับการอนุมัติก็มี

◎การชำระภาษี

ทั้งประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่นจำเป็นจะต้องชำระภาษีภายในระยะเวลาที่กำหนด เช่น ภาษี หรือเงินประกันสังคม ยกเว้นเป็นผู้ได้รับการเลี้ยงดูเนื่องจากเป็นพ่อบ้าน แม่บ้าน หรือเด็ก
กรณีประเทศญี่ปุ่นจะต้องยื่นสำเนาใบเสร็จ  หากมีประวัติการชำระเกินระยะเวลาอาจจะไม่ได้รับอนุญาต เพียงเหตุผลนี้ข้อเดียวก็ได้

เงื่อนไขคร่าว ๆ ก็เป็นที่ดังกล่าวมาข้างต้น
ต่อไปเป็นกรณีที่เกี่ยวกับการเสียสิทธิอยู่อาศัยถาวร

ตามที่กล่าวมาข้างต้น ผู้ยื่นคำขอสิทธิอยู่อาศัยถาวรของประเทศไทยจะต้องถือวีซ่าประเภทใดประเภทหนึ่งในวีซ่า 4 ประเภท หากมีการเสียสิทธิในกิจกรรมหรือฐานะที่ตรงกับวีซ่าแล้ว (กรณีลาออกจากงานหรือหย่า) กล่าวคือ กรณีที่เสียวีซ่าแล้วจะเสียสิทธิอยู่อาศัยถาวรด้วย ส่วนกรณีที่เป็น “วีซ่าครอบครัว” โดยแต่งงานกับภรรยาคนไทย หากภรรยาคนไทยเสียชีวิต สิทธิอยู่อาศัยถาวรก็จะหมดไป

สำหรับประเทศญี่ปุ่น สิทธิอยู่อาศัยถาวร คือ วีซ่าผู้อยู่อาศัยถาวร เมื่อได้รับสิทธิอยู่อาศัยถาวรแล้วจะไม่เกี่ยวข้องกับงานหรือฐานะ แม้จะลาออกจากงานหรือหย่ากับคู่สมรส หรือคู่สมรสเสียชีวิต สิทธิอยู่อาศัยถาวรก็จะไม่หมดไป ดังนั้น หากได้รับสิทธิอยู่อาศัยถาวรของประเทศญี่ปุ่น จึงพูดได้ว่ามีความมั่นคงค่อนข้างมากในการอาศัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่น

นอกจากนี้ทั้ง 2 ประเทศมีกรณีที่อาจจะสูญเสียสิทธิอยู่อาศัยถาวร กล่าวคือ

  1. กรณีที่ไม่ได้กลับเข้าประเทศใหม่ภายในระยะเวลาอนุมัติในการเข้าประเทศใหม่
  2. กรณีกระทำผิดกฎหมายตามที่กำหนดไว้

กรณีกระทำผิดกฎหมายตามหัวข้อที่ 2. (รวมถึงละเลยในการทำหน้าที่ด้วย) จะพูดถึงข้อควรระวังเฉพาะของประเทศญี่ปุ่นเกี่ยวกับการสูญเสียสิทธิอยู่อาศัยอถาวรในกรณีที่ไม่ใช่อาชญากรรมที่ร้ายแรง เช่น

  • กรณีที่ปรากฏว่ายื่นเอกสารเท็จหรือใช้เอกสารปลอม
    →แน่นอนว่าเริ่มจากการโกหก จึงขึ้นอยู่กับเนื้อหาของข้อเท็จจริงว่า “จริง ๆ แล้ว คุณเป็นใคร” และอาจจะถูกสงสัยว่าปกปิดประวัติการกระทำผิดกฎหมายหรือไม่ (อาจจะปรากฎสิ่งที่ปิดบังไว้)
  • กรณีที่ละเลยหรือแจ้งที่อยู่เป็นเท็จ
    →ที่ผ่านมาผมยังไม่มีลูกค้าที่ถูกยกเลิกสิทธิอยู่อาศัยถาวรด้วยเหตุผลนี้ ทั้งนี้ไม่ใช่เงื่อนไขเฉพาะสิทธิอยู่อาศัยถาวรเท่านั้น แต่เป็นข้อกำหนดที่ใช้กับวีซ่าทุกประเภทจึงจำเป็นจะต้องระมัดระวัง เพราะเคยมีเหตุการณ์ที่ “คู่สมรสของคนญี่ปุ่น” ไม่สามารถต่ออายุได้ (ไม่ใช่การยกเลิก)

 

นอกจากนี้ยังมีการกระทำผิดกฎหมายในประเทศญี่ปุ่นที่ทำให้สูญเสียสิทธิอยู่อาศัยถาวรอีกหลายกรณี แต่ในบทความนี้จะไม่พูดถึง
ถ้าเป็นกรณีฆาตกรรม ยาเสพติด ค้าประเวณี การกระทำผิดกฎหมายร้ายแรงจำพวกนี้ น่าจะทำให้สูญเสียสิทธิอยู่อาศัยถาวรของทั้งประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทย

สุดท้ายนี้มาดูข้อดีของการได้รับสิทธิอยู่อาศัยถาวร

ทั้งประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่นไม่จำเป็นจะต้องต่อวีซ่าหลังจากได้รับสิทธิอยู่อาศัยถาวร  การต่ออายุวีซ่านอกจากจะต้องเตรียมเอกสารไว้ล่วงหน้าแล้วจะต้องเสียเวลาในการเดินทางไปสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และมีโอกาสที่จะไม่ได้รับอนุมัติในการพิจารณาเป็นประจำ  หากไม่ต่ออายุจะกลายเป็น Overstay จำเป็นจะต้องระมัดระวังอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น  ทั้งประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น การได้รับสิทธิอยู่อาศัยถาวรจึงเป็นข้อดีที่ดีที่สุดในการที่จะไม่ต้องต่ออายุวีซ่า

นอกจากนั้นที่ประเทศญี่ปุ่นผู้ถือสิทธิอยู่อาศัยถาวรสามารถทำงานได้อย่างอิสระ ยกตัวอย่างเช่น ผู้ที่ถือวีซ่า “แรงงานมีฝีมือ”  โดยเป็นกุ๊กร้านอาหารไทยกว่าจะได้รับสิทธิอยู่อาศัยถาวร ไม่สามารถทำงานได้ยกเว้นกุ๊กของร้านอาหารไทย แต่เมื่อได้รับสิทธิอยู่อาศัยถาวรแล้วสามารถทำงานได้ทุกอย่าง ถ้าดำรงชีวิตอยู่ได้ไม่ต้องทำงานก็ได้ สำหรับเรื่องนี้คนที่มีวีซ่า “คู่สมรสคนญี่ปุ่น” วีซ่า “คู่สมรสของผู้อาศัยอยู่ถาวร” วีซ่า “ ผู้อยู่อาศัยระยะยาว” สามารถทำงานได้อย่างอิสระอยู่แล้ว อาจจะไม่รู้สึกว่าเป็นข้อดี แต่คนที่มีวีซ่า “คู่สมรสคนญี่ปุ่น” หรือคนที่มีวีซ่า “คู่สมรสของผู้อยู่อาศัยถาวร” สำหรับเรื่องการทำงานมีอิสระอยู่แล้ว แต่ถ้าเกิดหย่ากันจะมีความเสี่ยงที่จะสูญเสียวีซ่า แต่ถ้าได้รับสิทธิอยู่อาศัยถาวรก่อนจะหย่ากัน ถึงแม้จะหย่ากันก็สามารถอยู่อาศัยต่อในประเทศญี่ปุ่นได้ (กรณีหย่ากันทันทีหลังจากได้รับสิทธิอยู่อาศัยถาวร อาจจะมีโอกาสถูกสงสัยว่าแต่งงานกันหลอก ๆ หรือไม่ )
สิทธิอยู่อาศัยถาวรของประเทศญี่ปุ่นมีความมั่นคงค่อนข้างมากในการที่จะอาศัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่นเมื่อเทียบกับวีซ่าประเภทอื่น

สำหรับเรื่องที่พูดมากรณีของประเทศไทยก็อาจจะมีเงื่อนไขการสูญเสียสิทธิอยู่อาศัยถาวรเหมือนเช่นเดียวกัน การมีวีซ่า 4 ประเภท ถือเป็นเงื่อนไขของการขอสิทธิอยู่อาศัยถาวร ยกตัวอย่างเช่น ผู้ที่ถือวีซ่า NON B ได้รับสิทธิอยู่อาศัยถาวร ต่อมาลาออกจากงาน ถือว่าไม่อาจถือวีซ่า NON B ต่อไปได้จึงทำให้สูญเสียสิทธิอยู่อาศัยถาวร ดังนั้น การสูญเสียสิทธิอยู่อาศัยถาวร จึงหมายความว่า กรณีมีสิทธิอยู่อาศัยถาวรโดยถือวีซ่าทำงานจึงไม่สามารถออกจากงานได้ และกรณีผู้ที่ถือวีซ่าครอบครัว (วีซ่า NON O) โดยแต่งงานกับคู่สมรสคนไทยและได้รับสิทธิอยู่อาศัยถาวร หากต่อมาหย่ากัน ก็สูญเสียสิทธิอยู่อาศัยถาวรเช่นกัน หมายความว่า หากจะรักษาสิทธิอยู่อาศัยถาวรจะต้องไม่หย่ากัน ดังนั้น กรณีมีการวางแผนที่จะลาออกจากงานและอยู่ในฐานะสมรส จำเป็นจะต้องเปลี่ยนประเภทวีซ่าเป็นวีซ่าครอบครัวเสียก่อน  หากเป็นกรณีที่จะมีโอกาสหย่ากันจำเป็นจะต้องเปลี่ยนเป็นวีซ่าทำงาน วีซ่านักลงทุน วีซ่าผู้เชี่ยวชาญ อันใดอันหนึ่งล่วงหน้าก่อนและจะต้องได้รับใบอนุญาตทำงาน ( Work Permit) ไว้ก่อนด้วย
กรณีของประเทศไทย แม้จะได้รับสิทธิอยู่อาศัยถาวรก็ตาม ก็ไม่มีความเป็นอิสระในด้านการทำงาน (วีซ่าทำงาน หรือWork Permit) หรือฐานะ (การแต่งงานหรือการหย่า)
※หมายเหตุ วีซ่าทำงาน หรือการได้รับใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) ไม่ได้หมายความว่า สามารถทำงานได้ทุกอย่าง

เรื่องนี้ทำให้ผมรู้สึกว่า ข้อดีของสิทธิอยู่อาศัยถาวรของประเทศไทยมีน้อย

สำหรับข้อดีของสิทธิอยู่อาศัยถาวรของประเทศไทยนอกจากจะไม่จำเป็นต้องต่ออายุวีซ่า ข้อดีที่ดีที่สุดคืออาจจะเป็นเรื่องที่ไม่จำเป็นต้องรายงานตัว 90 วัน สำหรับคนต่างชาติการรายงานตัว 90 วัน ถือเป็นภาระที่หนัก คิดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ แต่ที่ประเทศญี่ปุ่นคนต่างชาติไม่มีหน้าที่ที่จะต้องรายงานตัว 90 วันอยู่แล้ว

ถ้าเทียบกันง่าย ๆ แล้ว รู้สึกว่าสิทธิอยู่อาศัยถาวรของประเทศไทยไม่น่ามีผลประโยชน์เท่าสิทธิอยู่อาศัยของประเทศญี่ปุ่น

สิทธิอยู่อาศัยถาวรของประเทศญี่ปุ่นดีเกินไปหรือเปล่านะ

สำหรับท่านไหนที่อยากจะได้รับสิทธิอยู่อาศัยถาวรของประเทศไทย กรุณาติดต่อตามข้อมูลดังต่อไปนี้ (สามารถติดต่อจากฟอร์มการติดต่อของบล็อคนี้ได้ด้วย)

พาร์ทเนอร์ของประเทศไทย : Mr.Hideaki SuZuki  kunhide111@gmail.com (ภาษาไทย และภาษาญี่ปุ่น)


翻訳(แปลโดย):鈴木秀明(ฮิเดอากิ ซูซูกิ)

にほんブログ村 海外生活ブログ タイ情報へ    にほんブログ村 士業ブログ 行政書士へ
にほんブログ村   にほんブログ村

Author

福島(Fukushima) 竜太(Ryuta)
福島(Fukushima) 竜太(Ryuta)入管手続専門行政書士(Certified Administrative Procedures Legal Specialists/Immigration Consultant)
aroi行政書士事務所 代表行政書士(東京都行政書士会所属)
アジアランゲージセンター(株) 代表取締役
群馬県渋川市出身
大東文化大学国際関係学部(タイ語選択)卒業後、タイ・バンコクに2年間駐在
日本語教師・日本語学校事務(留学ビザ手続担当)を経て2009年10月行政書士登録

コメントを残す

メールアドレスが公開されることはありません。 が付いている欄は必須項目です

CAPTCHA


このサイトはスパムを低減するために Akismet を使っています。コメントデータの処理方法の詳細はこちらをご覧ください