นักเรียนในโรงเรียนสอนภาษาญี่ปุ่นสามารถขอรับวีซ่าทำงานได้หรือไม่ ※ เป็นบทความฉบับภาษาไทย วันที่ 20 มิถุนายน 2563

   

※日本語(ภาษาญี่ปุ่น)記事はこちら

เมื่อวานมีคำถามทางโทรศัพท์ ดังต่อไปนี้

ตอนนี้เป็นนักเรียนในโรงเรียนสอนภาษาญี่ปุ่นที่ประเทศญี่ปุ่นและปีหน้าจะเรียนจบแล้ว หากเรียนจบสามารถขอวีซ่าทำงานที่ประเทศญี่ปุ่นได้หรือไม่

มีคำถามแบบนี้ค่อนข้างเยอะและผมเคยเขียนไว้แล้ว  (น่าจะเขียนใน Facebook แต่ไม่ได้เขียนใน Blog   นี้) ดังนั้นผมจึงจะเขียนอีกรอบหนึ่ง

ยกตัวอย่าง “วีซ่าวิศวกร ผู้เชี่ยวชาญด้านมนุษยศาสตร์ กิจการระหว่างประเทศ” มีการยื่นขอมากที่สุดต่อจาก  วีซ่านักเรียน ลองพิจารณาดูว่าสามารถขอรับวีซ่าทำงานได้หรือไม่ ดังนั้นคำถามแรกที่ผมจะถามคนนี้คือ

คุณเรียนจบมหาวิทยาลัยหรือวิทยาลัยในประเทศของตนเองหรือไม่

โดยหลักแล้ว “วีซ่าวิศวกร ผู้เชี่ยวชาญด้านมนุษยศาสตร์ กิจการระหว่างประเทศ” ถ้าเรียนจบมหาวิทยาลัย (บัณฑิต) หรือวิทยาลัย (อนุปริญญา) ก็มีโอกาสที่จะเข้าเงื่อนไขในการขอวีซ่าประเภทดังกล่าวได้ ไม่ว่าจะเรียนจบจากมหาวิทยาลัยในประเทศใดก็ตาม ดังนั้น ถ้าคุณตอบว่า ใช่ ตามที่ผมถามข้างต้น “หากทำสัญญากับบริษัทญี่ปุ่นได้ตรงตามเนื้องานที่ตรงกับประเภทวีซ่าดังกล่าวก็มีโอกาสที่จะได้รับวีซ่า” (เพียงแค่ “มีโอกาส”) (ไม่ใช่ว่าวิชาเรียนและประเภทงานจะไม่มีความเกี่ยวข้องกัน)

หากเรียนจบจากวิทยาลัยเฉพาะทางในประเทศญี่ปุ่น เงื่อนไขเกี่ยวกับการศึกษาก็ขอวีซ่าประเภทดังกล่าวได้ แต่ถ้าเรียนจบจากวิทยาลัยเฉพาะทางนอกประเทศญี่ปุ่น จะไม่เข้าเงื่อนไขในการขอวีซ่านี้ได้และแม้จะเป็นโรงเรียนสอนภาษาในประเทศญี่ปุ่นก็ไม่เข้าเงื่อนไขเช่นกัน เพราะไม่ถือว่าเป็นโรงเรียนวิชาชีพเฉพาะทาง

ขออธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับการศึกษาของประเทศไทยว่า มีคนไทยจำนวนมากที่มีวุฒิการศึกษาที่เรียกว่าอนุปริญญา (ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง คำย่อ “ปวส.”) เป็นวุฒิการศึกษาที่ให้แก่ผู้ที่เรียนจบโรงเรียนวิชาชีพระดับกลาง

วุฒิการศึกษานี้ หลังจากเรียนจบโรงเรียนมัธยมปลาย (ที่ประเทศไทย3 ปี) หรือโรงเรียนวิชาชีพระดับต้น  (ระบบ 3 ปี) ถ้าเรียนจบจะได้ประกาศนียบัตรวิชาชีพ คำย่อ ปวช.) และเรียนต่ออีก 2 ปี ก็จะได้รับวุฒิการศึกษาที่เรียนจบจากโรงเรียนวิชาชีพระดับกลาง (ระบบ 2 ปี) ถ้านับตั้งแต่การเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา รวมแล้วก็ 14 ปี ดูเหมือนจะเท่ากับโรงเรียนวิชาชีพของประเทศญี่ปุ่น

ที่ประเทศญี่ปุ่นการเรียนจบระดับวิชาชีพ ถือว่าเทียบเท่ากับการเรียนจบระดับวิทยาลัย แต่สำหรับประเทศไทยผู้ที่มีใบประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงแม้จะเข้าเรียนต่ออีก 2 ปี ในมหาวิทยาลัยระบบ 4 ปีได้ก็ตาม ในปัจจุบันมาตรฐานวีซ่าของประเทศญี่ปุ่นนั้น วุฒิการศึกษาดังกล่าวก็ไม่เทียบเท่ากับการเรียนจบระดับวิทยาลัย ไม่เข้าเงื่อนไขที่จะขอรับวีซ่าได้ หากนักเรียนคนที่มาถามไม่มีประวัติการทำงาน แม้เรียนจบระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือระดับ ปวส. และจะเรียนจบจากโรงเรียนสอนภาษาญี่ปุ่นในปีหน้าก็ตาม ก็ไม่มีโอกาสที่จะขอรับวีซ่าเพื่อทำงานได้ อ้างอิงมาจากหนังสือ “ระบบของโรงเรียนทั่วโลก” ที่ตีพิมพ์โดยกระทรวงศึกษาธิการ และ ดูเหมือนว่าประเทศไทยก็มีระดับวิทยาลัย (อนุปริญญา) หากค้นหาบนอินเตอร์เน็ตก็จะปรากฎคำว่า “อนุปริญญา” เช่นกัน แต่ผมก็ยังไม่พบกรณีผู้ที่เรียนจบจากวิทยาลัยจากประเทศไทยเป็นผู้ยื่นคำขอ แม้ว่ากรณีดังกล่าวจะถูกตีพิมพ์ในหนังสือของกระทรวงศึกษาธิการก็ตาม หรืออาจจะเป็นไปได้ว่ามีผู้ที่เรียบจบจากวิทยาลัยมีจำนวนน้อย

ต่อไปเป็นกรณีของผู้ที่กำลังเรียนที่โรงเรียนสอนภาษาญี่ปุ่นมาสอบถาม และยังเรียนไม่จบระดับมหาวิทยาลัยหรือวิทยาลัย กรณีเช่นนี้จำเป็นจะต้องตรวจสอบประสบการณ์ในการทำงาน หากเป็นงานด้านระหว่างประเทศ (เช่น งานล่าม งานแปล งาน Trading ครูสอนภาษาไทย) ต้องมีประสบการณ์ในการทำงาน 3 ปี หรือด้านมนุษยศาสตร์ (เช่น การบัญชี กฎหมาย การวางแผนโครงการ) หรือรู้ด้านเทคนิค (เช่น System engineer) ต้องมีประสบการณ์ในการทำงาน 10 ปี (ผ่านการสอบคุณสมบัติ (ถ้ามี)) ก็มีโอกาสขอรับวีซ่าโดยทำสัญญากับบริษัทญี่ปุ่นโดยอ้างอิงจากประสบการณ์นั้นได้ 

สรุปก็คือ หากเรียนจบระดับมหาวิทยาลัยหรือมีประสบการณ์ในการทำงานที่สอดคล้องกับเงื่อนไขของวีซ่า ก็สามารถขอรับวีซ่า “วิศวกร ผู้เชี่ยวชาญด้านมนุษยศาสตร์ กิจการระหว่างประเทศ” ได้ โดยทำสัญญากับบริษัทญี่ปุ่น ในทางตรงกันข้าม หากไม่ได้เรียนจบระดับมหาวิทยาลัยและไม่มีประสบการณ์ในการทำงาน ก็ไม่สามารถขอรับวีซ่า “วิศวกร ผู้เชี่ยวชาญด้านมนุษยศาสตร์ กิจการระหว่างประเทศ” ภายหลังที่เรียนจบจากโรงเรียนสอนภาษาญี่ปุ่นในประเทศญี่ปุ่นได้


คงเข้าใจเกี่ยวกับวีซ่า “วิศวกร ผู้เชี่ยวชาญด้านมนุษยศาสตร์ กิจการระหว่างประเทศ” กันแล้ว ส่วนวีซ่าประเภทอื่นเป็นอย่างไรบ้าง มาดูกันครับ

ยกเว้นวีซ่า “การบริหารและการควบคุม” (วีซ่าสำหรับผู้บริหารของบริษัท) หรือวีซ่า “ทักษะเฉพาะทาง” ที่เพิ่งเริ่มมีเมื่อปีที่แล้ว ส่วนใหญ่วีซ่าทำงานประเภทอื่นของประเทศญี่ปุ่นจะต้องมีเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ประวัติการศึกษาหรือประวัติการทำงานที่สอดคล้องกับประเภทวีซ่า (ประมาณ 10 ปี สำหรับผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิคบางคนต้องสอบผ่านคุณสมบัติที่กำหนดไว้)

หมายเหตุ นอกจากนี้ยังมีวีซ่าที่ต้องมีเงื่อนไขพิเศษ คือ วีซ่า “ผู้ปฎิบัติงานทางเทคนิค” และวีซ่า “ด้านความบันเทิง” ซึ่งคราวนี้ผมจะยังไม่พูดถึง

สำหรับวีซ่า “การบริหารและการควบคุม” และ วีซ่า “ทักษะเฉพาะทาง” แตกต่างกันอย่างไรบ้างนั้น

วีซ่า “การบริหารและการควบคุม” ไม่ได้กำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับวุฒิการศึกษาและประวัติการทำงาน หากมีเงินทุน (5ล้านเยน) ก็มีโอกาสขอรับวีซ่าประเภทนี้ได้ แต่ก็ไม่ได้ความว่าจะไม่ตรวจสอบวุฒิการศึกษาหรือประวัติการทำงานใด ๆ เลย โดยเฉพาะในช่วงนี้การตรวจสอบวีซ่าประเภทนี้ค่อนข้างมีความเข้มงวด ดังนั้นผมจึงแนะนำวีซ่าประเภทนี้ให้กับผู้ที่มีเงินทุน มีความตั้งใจ และมีแผนธุรกิจที่ชัดเจนเท่านั้น  

วีซ่า “ทักษะเฉพาะทาง” กำหนดเงื่อนไขว่าต้องมีความสามารถด้านภาษาญี่ปุ่นระดับ N4 ขึ้นไป และต้องสอบผ่านคุณสมบัติเกี่ยวกับประเภทงานนั้น ๆ ซึ่งเป็นเงื่อนไขค่อนข้างง่ายสำหรับนักศึกษาต่างชาติ แต่ในปัจจุบันได้ยกเว้นงานบางประเภท (งานก่อสร้าง งานอุตสาหกรรมเกี่ยวกับเรือ) วีซ่า “ทักษะเฉพาะทาง” จะไม่สามารถต่ออายุเกิน 5 ปีได้ กล่าวคือหากครบ 5 ปีแล้ว จะต้องเดินทางกลับประเทศ ดังนั้นสำหรับผู้ที่ต้องการจะอยู่อาศัยในประเทศญี่ปุ่นเกินกว่านั้นผมจะไม่แนะนำ แต่หากคิดว่า “ทำงานที่ประเทศญี่ปุ่น 5 ปี ก็เพียงพอแล้ว” ก็ไม่มีปัญหาใด ๆ   

ดังนั้นสำหรับนักเรียนในโรงเรียนสอนภาษาญี่ปุ่นที่ไม่มีวุฒิการศึกษาหรือประวัติการทำงาน แต่อยากจะทำงานที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นเวลานาน ๆ ผมแนะนำให้คิดดี ๆ ว่า “อยากจะทำงานด้านไหนในประเทศญี่ปุ่น ก็ควรจะเรียนมาในด้านนั้นเพื่อที่จะได้ทำงานในด้านนั้น ๆ โดยตรง” และต้องเรียนที่มหาวิทยาลัย วิทยาลัย หรือโรงเรียนวิชาชีพในประเทศญี่ปุ่น

สุดท้ายนี้ ผมขอตอบคำถามที่ถามกันบ่อย ๆ ว่า “เรียนจบจากมหาวิทยาลัยแล้วสามารถขอรับวีซ่าที่สอดคล้องกับประเภทงานนั้น ๆ ได้หรือไม่” (สำหรับคนไทย)


 1.หมอนวดไทย สามารถขอรับวีซ่าทำงานได้หรือไม่

 = ไม่ได้

 2.ทำงานในร้านอาหารไทยได้หรือไม่

 = สำหรับผู้ที่เงื่อนไขเกี่ยวกับประสบการณ์ทำงาน เช่น เป็นกุ๊ก สามารถขอรับวีซ่าได้  สำหรับพนักงานบริการหรือพนักงานล้างจาน มีโอกาสขอรับวีซ่า “ทักษะเฉพาะทาง” ได้ หากแสดงหลักฐานเกี่ยวกับการทำงาน ยกเว้นพนักงานบริการหรือพนักงานล้างจานในร้านอาหารหรือบริษัทที่มีขนาดใหญ่ ก็มีโอกาสขอรับวีซ่า “วิศวกร ผู้เชี่ยวชาญด้านมนุษยศาสตร์ กิจการระหว่างประเทศ”

 3.งานล่าม งานแปล งาน Trading ครูสอนภาษาไทย สามารถขอรับวีซ่าทำงานได้หรือไม่

 = มีโอกาสขอวีซ่า “วิศวกร ผู้เชี่ยวชาญด้านมนุษยศาสตร์ กิจการระหว่างประเทศ”

 4.System engineer สามารถขอรับวีซ่าทำงานได้หรือไม่

 = มีโอกาสขอรับ “วีซ่าวิศวกร ผู้เชี่ยวชาญด้านมนุษยศาสตร์ กิจการระหว่างประเทศ”

 5.พนักงานขายในร้านสะดวกซื้อ สามารถขอรับวีซ่าทำงานได้หรือไม่

 = ถ้าเป็นพนักงานขายในร้านสะดวกซื้อ (Franchise) ไม่สามารถขอรับวีซ่าได้ (อนาคตอาจขอรับ   วีซ่าทักษะเฉพาะได้)

 6.ทำงานในโรงงาน สามารถขอรับวีซ่าทำงานได้หรือไม่

 = ขึ้นอยู่กับประเภทของงาน และมีโอกาสขอรับ “วีซ่าเฉพาะทาง” ได้ สำหรับช่างเทคนิคที่มีความสามารถขั้นสูง ก็มีโอกาสขอรับ ““วีซ่าวิศวกร ผู้เชี่ยวชาญด้านมนุษยศาสตร์ กิจการระหว่างประเทศ”

 7.ทำงานในโรงแรม สามารถขอรับวีซ่าทำงานได้หรือไม่

 = หากเป็นพนักงานทำความสะอาด พนักงานจัดเตียง พนักงานจัดเลี้ยง มีโอกาสขอรับ “วีซ่าเฉพาะทาง”  สำหรับพนักงานต้อนรับ งานล่าม งานแปล ในโรงแรมที่มีผู้พักอาศัยเป็นชาวต่างชาติอยู่จำนวนมาก ก็มีโอกาสขอรับ “วีซ่าวิศวกร ผู้เชี่ยวชาญด้านมนุษยศาสตร์ กิจการระหว่างประเทศ”

 8.ร้าน cabaret club/Host club สามารถขอรับวีซ่าได้หรือไม่

 = ไม่ได้  แต่หากเป็นร้านเหล้า (อิซากะยะ) มีโอกาสขอรับ “วีซ่าเฉพาะทาง” ได้


สำหรับครั้งนี้ก็มีข้อมูลเพียงเท่านี้ครับ

翻訳(แปลโดย):鈴木秀明(ฮิเดอากิ ซูซูกิ)

Author

福島(Fukushima) 竜太(Ryuta)
福島(Fukushima) 竜太(Ryuta)入管手続専門行政書士(Certified Administrative Procedures Legal Specialists/Immigration Consultant)
aroi行政書士事務所 代表行政書士(東京都行政書士会所属)
アジアランゲージセンター(株) 代表取締役
群馬県渋川市出身
大東文化大学国際関係学部(タイ語選択)卒業後、タイ・バンコクに2年間駐在
日本語教師・日本語学校事務(留学ビザ手続担当)を経て2009年10月行政書士登録

コメントを残す

メールアドレスが公開されることはありません。 が付いている欄は必須項目です

CAPTCHA


このサイトはスパムを低減するために Akismet を使っています。コメントデータの処理方法の詳細はこちらをご覧ください