วีซ่าที่สามารถอาศัยอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่นพร้อมครอบครัวได้และวีซ่าที่อาศัยอยู่ไม่ได้ ※เป็นบทความฉบับภาษาไทย ณ วันที่ 29 พฤษภาคม 2563

เมื่อครั้งก่อนเป็นการเปรียบเทียบระหว่างประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทย และครั้งนี้จะเขียนเกี่ยวกับวีซ่าของประเทศญี่ปุ่น

ในหัวข้อ คนต่างชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่นและได้รับวีซ่าระยะยาวสามารถเรียกครอบครัวมาอยู่ด้วยกันที่ประเทศญี่ปุ่นได้หรือไม่?

เป็นข้อมูลสำหรับผู้ที่มีคุณสมบัติตรงกับกรณีดังต่อไปนี้

กรณีที่ 1  ทำงานในบริษัทญี่ปุ่น ต่อมามีชีวิตที่มั่นคงมากขึ้นจึงอยากจะให้คู่สมรสและบุตรมาอยู่ด้วยกันที่ประเทศญี่ปุ่น

กรณีที่ 2  แต่งงานใหม่กับคนญี่ปุ่น แต่มีบุตรกับสามีหรือภรรยาคนเก่า และอยากจะให้บุตรมาอยู่ด้วยกันที่ประเทศญี่ปุ่น

กรณีที่ 3 อาศัยอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่นนานแล้ว พ่อแม่อยู่ประเทศที่เกิดและอายุเยอะแล้ว จะให้พ่อแม่มาอยู่ด้วยกันที่ประเทศญี่ปุ่นได้หรือไม่

สรุปคร่าว ๆ แล้ว มีบางเรื่องที่สามารถทำได้และทำไม่ได้ ขึ้นอยู่กับประเภทวีซ่าหรือสถานการณ์ของผู้ที่อาศัยอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น

จึงขอสรุปเป็นตารางว่า วีซ่าประเภทไหนทำได้ และทำไม่ได้ (เป็นการสรุปแบบคร่าว ๆ ดังนั้นจึงไม่ได้เขียนข้อยกเว้นหรือเงื่อนไขโดยละเอียด)

〇 สามารถทำได้ (อย่างไรก็ตามบางกรณีอาจมีการตรวจสอบอย่างเข้มงวด)
X  ไม่สามารถทำได้
△ ต้องแสดงเงื่อนไขชัดเจน เช่น อายุ หรือรายได้ (รายละเอียดจะโพสในภายหลัง)

ประเภทวีซ่าของผู้ที่จะเรียกครอบครัวมาอยู่ด้วยกัน

   ความสัมพันธ์กับผู้ที่อาศัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่น

ประเภทวีซ่าของครอบครัว

คู่สมรส

บุตร

บุตรบุญธรรม

พ่อแม่

พี่น้อง

วีซ่าอาชีพความเชี่ยวชาญสูงทางเทคนิค
(高度専門職)

×

วีซ่าผู้ติดตามครอบครัว
(家族滞在)


*กรณีเป็นพ่อแม่ จะได้รับ「วีซ่าผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจกรรมตามที่กำหนด(特定活動)」
*สำหรับสามีภรรยา ก็มีโอกาสที่จะได้รับ「วีซ่าประเภทนี้เช่นกัน(特定活動)」

วีซ่าทักษะเฉพาะทาง ประเภท1
(特定技能1号)

×

 ×

×

× 

×

โดยหลักจะไม่มีสิทธิได้รับ「วีซ่าผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจกรรมตามที่กำหนด(特定活動)」 ยกเว้นในบางกรณี

วีซ่าทักษะเฉพาะทาง ประเภท2
(特定技能2号)

×

×

วีซ่าผู้ติดตามครอบครัว
(家族滞在)

วีซ่าผู้ฝึกปฏิบัติงานเทคนิค
(技能実習)

×

 ×

×

× 

×

วีซ่าผู้ฝึกงาน
(研修)

×

 ×

×

× 

×

วีซ่าทำงานอื่นๆ(ยกเว้นกรณี「วีซ่านักการทูต」「วีซ่าผู้มีกิจราชการ」)

×

×

วีซ่าผู้ติดตามครอบครัว
(家族滞在)

วีซ่านักศึกษา
(留学)

×

×

วีซ่าผู้ติดตามครอบครัว
(家族滞在)

วีซ่านักศึกษา(กรณีเป็นนักเรียนของโรงเรียนสอนภาษาญี่ปุ่น)
(留学(日本語学校の学生))

×

 ×

×

× 

×

วีซ่าผู้ประกอบกิจกรรมทางวัฒนธรรม
(文化活動) 

 〇

×

×

วีซ่าผู้ติดตามครอบครัว
(家族滞在)

 วีซ่าผู้อยู่อาศัยถาวร
(永住者)

×

×

วีซ่าคู่สมรสหรือบุตรของบุคคลผู้อยู่อาศัยถาวร
(永住者の配偶者等)


*กรณีบุตรเกิดนอกจากประเทศญี่ปุ่น 「วีซ่าผู้อยู่อาศัยระยะยาว(定住者)」

วีซ่าคู่สมรสหรือบุตรของผู้ที่มีสัญชาติญี่ปุ่น(กรณีคู่สมรสของผู้ที่มีสัญชาติญี่ปุ่น)
(日本人の配偶者等(日本人の配偶者))

×

×

วีซ่าผู้อยู่อาศัยระยะยาว
(定住者)

วีซ่าคู่สมรสหรือบุตรของผู้ที่มีสัญชาติญี่ปุ่น(กรณีบุตรของผู้ที่มีสัญชาติญี่ปุ่น)
(日本人の配偶者等(日本人の子))

×

×

วีซ่าผู้อยู่อาศัยระยะยาว
(定住者)

วีซ่าคู่สมรสหรือบุตรของบุคคลผู้อยู่อาศัยถาวร
(永住者の配偶者等(永住者の配偶者))

×

×

วีซ่าผู้อยู่อาศัยระยะยาว
(定住者)

วีซ่าคู่สมรสหรือบุตรของผู้ที่อยู่อาศัยถาวร(กรณีบุตรของผู้ที่อยู่อาศัยถาวร)
(永住者の配偶者等(永住者の子))

×

×

วีซ่าผู้อยู่อาศัยระยะยาว
(定住者)


*แม้กฎหมายไม่ได้กำหนดไว้อย่างชัดเจน แต่ก็มีโอกาสที่สามารถจะได้รับวีซ่าได้

 วีซ่าผู้อยู่อาศัยระยะยาว
(定住者)

×

×

วีซ่าผู้อยู่อาศัยระยะยาว
(定住者)

 วีซ่าผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจกรรมตามที่กำหนด
(特定活動)

ขึ้นอยู่กับประเภทวีซ่าที่ได้รับ

 

 

 สิ่งที่จะเข้าใจได้อย่างชัดเจนจากตารางคือ เป็นสิ่งที่เข้มงวดมาก ตามหลักแล้วผู้ฝึกปฎิบัติงานทางเทคนิคและ   ผู้ฝึกงาน รวมถึงนักเรียนของโรงเรียนสอนภาษาญี่ปุ่น จะไม่สามารถให้ครอบครัวมาอยู่ด้วยกันที่ประเทศญี่ปุ่นได้ ในกรณีเป็นนักเรียนของโรงเรียนสอนภาษาญี่ปุ่น หากจะให้ครอบครัวมาอยู่ด้วยกันจริง ๆ จำเป็นจะต้องเปลี่ยนประเภทวีซ่าเป็นประเภทอื่นที่ตรงตามเงื่อนไขหรือเข้าศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น

อย่างไรก็ตาม แม้จะเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัย ก็เป็นเรื่องยากที่จะให้ครอบครัวมาอยู่ด้วยกันได้เพราะไม่มีความสามารถในการเลี้ยงครอบครัว  รวมถึงผู้ที่มีวีซ่าประกอบกิจกรรมทางวัฒนธรรมก็เช่นเดียวกัน

ส่วนผู้ฝึกปฎิบัติงานและผู้ฝึกงานจะต้องเดินทางกลับประเทศเพื่อขอรับวีซ่าที่ตรงตามเงื่อนไขอื่น ๆ

 นอกจากนี้ตามตารางข้างบน จะไม่สามารถขอวีซ่าให้สำหรับพี่น้องเพื่อจะมาอยู่ด้วยกันได้  และนอกจากนี้ ในกรณีที่ 3 ถ้าไม่ไช่กรณีที่บุตรอาศัยอยู่ที่ญี่ปุ่นและเป็นผู้ที่ได้รับวีซ่าอาชีพความเชี่ยวชาญทางเทคนิคขั้นสูง จะไม่สามารถให้พ่อแม่มาอยู่ด้วยกันได้ (ไม่ใช่ว่าจะไม่มีข้อยกเว้น แต่เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก ดังนั้นในตารางจึงใส่กากบาทไว้)

翻訳(แปลโดย):鈴木秀明(ฮิเดอากิ ซูซูกิ)

Author

福島(Fukushima) 竜太(Ryuta)
福島(Fukushima) 竜太(Ryuta)入管手続専門行政書士(Certified Administrative Procedures Legal Specialists/Immigration Consultant)
aroi行政書士事務所 代表行政書士(東京都行政書士会所属)
アジアランゲージセンター(株) 代表取締役
群馬県渋川市出身
大東文化大学国際関係学部(タイ語選択)卒業後、タイ・バンコクに2年間駐在
日本語教師・日本語学校事務(留学ビザ手続担当)を経て2009年10月行政書士登録

コメントを残す

メールアドレスが公開されることはありません。 が付いている欄は必須項目です

CAPTCHA


このサイトはスパムを低減するために Akismet を使っています。コメントデータの処理方法の詳細はこちらをご覧ください