วีซ่า “เฉพาะกิจกรรมตามที่กำหนด (ดูแลบุพการีสูงอายุ)”

特定活動ビザ(老親扶養)のタイ語訳です

คำขอของลูกค้าที่มาในวันนี้คือต้องการต่ออายุวีซ่า”เฉพาะกิจกรรมตามที่กำหนด”

  วีซ่า “เฉพาะกิจกรรมตามที่กำหนด” นั้นมีหลายประเภทด้วยกัน  คราวนี้ขอกล่าวถึงวีซ่าที่มักจะถูกเรียกว่า “ดูแลบุพการีสูงอายุ” ​หรือ “ารพาผู้ปกครองมา” สำหรับชาวต่างชาติที่อาศัยในญี่ปุ่น แต่บุพการีผู้สูงอายุอยู่ที่ประเทศบ้านเกิดและคู่สมรสของบุพการีได้เสียชีวิตไปแล้ว บุพการีไม่มีบุตรคนอื่นหรือญาติ​คนอื่นที่จะคอยดูแลทำให้ไม่สามารถทิ้งบุพการีผู้สูงอายุเอาไว้คนเดียวที่ประเทศบ้านเกิดได้ วีซ่า​ที่กล่าวมานั้นจะเป็นวีซ่าที่ออกให้แก่บุพการีที่ตกอยู่ในกรณีข้างต้น​

  วีซ่า “เฉพาะกิจกรรมที่กำหนด” ​นี้ จะมีจุดประสงค์เพื่อดูแลบุพการีสูงอายุซึ่งจะเป็นวีซ่าที่ได้รับเป็นกรณียกเว้นประเภทหนึ่งหรือกล่าวได้ว่า【นอกเหนือจากประกาศ(ไม่ได้มีกำหนดโดยกฎหมาย)】คุณจะไม่สามารถยื่นคำร้องขอ “ใบรับรองสถานภาพการพำนัก(COE)” ได้ตั้งแต่แรก ดังนั้น “พการี” ​ที่ต้องการขอวีซ่าเข้าประเทศจะต้องขอวีซ่าพำนักระยะสั้นก่อนหลังจากได้เข้ามาในประเทศญี่ปุ่นแล้วจึงไปยื่นเรื่องขอเปลี่ยนแปลงเป็น วีซ่า “เฉพาะกิจกรรมที่กำหนด” ​ ที่กองตรวจคนเข้าเมือง

  ลูกค้าที่มาวันนี้ เคยยื่นเรื่องขอทำการเปลี่ยนแปลงวีซ่าผ่านสำนักงานของผมได้สำเร็จในปีที่แล้ว

 

สำหรับวีซ่าที่กล่าวถึงนี้จะต้องผ่านข้อกำหนดอย่างน้อยดังต่อไปนี้

  -​ อายุของบุพการีจะต้องมีอายุ 65ปี​ – มากกว่า 70 ปี

  -​ ไม่มีคู่สมรสแล้ว

  -​ ไม่มีบุตรคนอื่นๆนอกจากบุตรที่อยู่ในประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น

  -​ บุตร ที่อยู่ในประเทศญี่ปุ่น จะต้องมีรายได้มากพอในการใช้ดูแลบุพการี

 

    คำถามที่มักจะพบบ่อยๆ 【บุพการี มีบุตรคนอื่นนอกเหนือจากบุตรที่อยู่ในญี่ปุ่นแต่ไม่ได้อยู่ด้วยกัน​ และอาศัย​อยู่​ห่างไกลกันในประเทศบ้านเกิด】​หรือ​ 【มีบุตรคนอื่นอีกที่อาศัยอยู่ต่างประเทศที่ไม่ใช่ประเทศญี่ปุ่น】​ จึงอยากจะ เรียกให้บุพการี มาอยู่กับตัวเองที่ญี่ปุ่นจะได้ไหม?
ในกรณีแบบนี้ทางด้านประเทศ​ญี่ปุ่น​จะ​มีความคิดโดยพื้นฐานว่า​

กรุณาให้บุตรที่อาศัยอยู่นอกประเทศญี่ปุ่นเป็นผู้ดูแลแทน

ถ้าให้เหตุผล​ว่า บุตรที่อยู่ในประเทศ​เดียวกัน ไม่มีงานไม่มีรายได้ ทางประเทศญี่ปุ่นจะแย้งว่า​ 【การดูแลทางด้านต่างๆให้บุตร​คนอื่นดูแลแทนส่วนเรื่องค่าใช้จ่ายต่างๆกรุณาให้บุตรที่ ญี่ปุ่นเป็นคนส่งเสียไปให้ก็ได้】 ถึงแม้ว่าจะยังมีเหตุผลว่าลูกที่อาศัยอยู่ในประเทศเดียวกันกับบุพการีนั้นอาศัยห่างไกลกันมาก​  ทางประเทศญี่ปุ่นก็จะแย้งว่า 【ถึงอย่างนั้นก็ไม่มีความจำเป็น ที่จะต้องพามาอยู่ไกลจากประเทศบ้านเกิด​ การที่อยู่ในประเทศบ้านเกิดเดียวกับบุตรคนอื่นยังสามารถติดต่อสื่อสารกันด้วยภาษาเดียวกัน​ วัฒนธรรมการใช้ชีวิตก็เหมือนกันก็ควรจะให้บุตรที่อยู่ในประเทศเดียวกันเป็นผู้ดูแล】

ซึ่งฟังดูอาจจะทำให้รู้สึกว่าไม่มีความเมตตา​

แต่ทางด้านประเทศญี่ปุ่นก็มีความคิดเห็นว่า【สำหรับคนที่ไม่เคยเสียภาษีหรือจ่ายเบี้ยประกันสังคมและ ไม่เคยมีส่วนร่วมสนับสนุนกิจกรรมต่างๆทางเศรษฐกิจใดๆในช่วงที่ทำงานได้ให้แก่ประเทศ​ญี่ปุ่น​ แล้วจะมาที่ญี่ปุ่นเมื่อตอนแก่ตัว​ และมารับเอาผลประโยชน์จากประกันสังคมของญี่ปุ่นอย่างนั้นหรือ】​
ดังนั้นจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่การพิจารณาตรวจสอบอย่างละเอียด​เพื่ออนุมัติวีซ่านี้จึงเป็นไปอย่างเข้มงวด​ และจะอนุญาตให้ แก่ผู้ที่มีความจำเป็นจริงๆเท่านั้น

   ผมเข้าใจดีว่าบุตรที่สามารถสร้างฐานะ​มีชีวิตที่มั่นคงในญี่ปุ่นได้แล้ว​ ต้องการเรียกพ่อหรือแม่ ให้มาอาศัยอยู่ที่ญี่ปุ่นด้วยกัน​ แต่ในความเป็นจริงแล้วมันค่อนข้างเป็นไปได้ยาก ผมมักจะมีโอกาสให้คำปรึกษาในกรณีแบบนี้อยู่บ่อยๆ แต่ในประวัติการทำงานที่ผ่านมามีอยู่แค่ 2 ครั้งเท่านั้นที่ได้รับวีซ่าประเภทนี้

หมายเหตุ​: วีซ่าประเภทนี้ไม่สามารถทำงานในประเทศ​ญี่ปุ่น​ได้

 

翻訳(แปลโดย):ผุสดี​ ซูซูกิ

にほんブログ村 海外生活ブログ タイ情報へ    にほんブログ村 士業ブログ 行政書士へ
にほんブログ村   にほんブログ村

Author

福島(Fukushima) 竜太(Ryuta)
福島(Fukushima) 竜太(Ryuta)入管手続専門行政書士(Certified Administrative Procedures Legal Specialists/Immigration Consultant)
aroi行政書士事務所 代表行政書士(東京都行政書士会所属)
アジアランゲージセンター(株) 代表取締役
群馬県渋川市出身
大東文化大学国際関係学部(タイ語選択)卒業後、タイ・バンコクに2年間駐在
日本語教師・日本語学校事務(留学ビザ手続担当)を経て2009年10月行政書士登録

コメントを残す

メールアドレスが公開されることはありません。 が付いている欄は必須項目です

CAPTCHA


このサイトはスパムを低減するために Akismet を使っています。コメントデータの処理方法の詳細はこちらをご覧ください