เหตุผลที่ไม่ได้รับการอนุมัติให้ต่อหรือเปลี่ยนประเภทวีซ่า คืออะไร? ที่มักจะพบอยู่บ่อย ๆ คือ “สภาพการอาศัยอยู่ไม่เหมาะสม” ※ เป็นบทความฉบับภาษาไทย วันที่ 22 มิถุนายน 2563

คนต่างชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่นโดยถือวีซ่าระยะกลางหรือระยะยาว ยกเว้นคนที่ถือวีซ่าถาวร (คนที่มี “สิทธิอาศัยอยู่ถาวร”) จำเป็นจะต้องต่อวีซ่า และบางกรณีอาจจะไม่ใช่การต่อวีซ่าเพียงอย่างเดียวเท่านั้น อย่างเช่น คนที่เคยเป็นนักศึกษาและต่อมามีความต้องการที่จะทำงานจำเป็นจะต้องเปลี่ยนเป็นวีซ่าทำงาน ซึ่งกรณีนี้ไม่ใช่เพียงแค่ยื่นเอกสารที่จำเป็นต่อสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองแล้วจะสามารถต่อหรือเปลี่ยนประเภทวีซ่าได้ จะต้องมีการตรวจสอบด้วย แต่ก็มีบางคนที่ “ไม่ได้รับการอนุมัติ”

  • ทั้ง ๆ ที่ประเภทงานสอดคล้องกับวีซ่าและเข้าเงื่อนไขของวีซ่า แต่ก็ไม่ได้รับการอนุมัติ
  • แม้ว่าจะสมรสกันจริง จ่ายภาษีอย่างถูกต้อง และมีรายได้เพียงพอที่จะอาศัยอยู่ได้ แต่ก็ไม่ได้รับการอนุมัติ

กรณีที่ไม่ได้รับการอนุมัติทั้ง ๆ ที่เข้าเงื่อนไขของวีซ่าด้านเอกสาร มีเหตุผลหลัก ๆ อยู่ 2 กรณี

กรณี A : เนื้อหาของเอกสารมีความไม่น่าเชื่อถือ (นอกจากจะมีความสงสัยว่าเป็นเอกสารปลอมแล้ว ยังเป็นกรณีที่

การอธิบายเนื้อหามีความไม่น่าเชื่อถือ และมีหลักฐานไม่เพียงพอ)

กรณี B : สภาพการอาศัยอยู่ไม่เหมาะสม

ในครั้งนี้จะเขียนเกี่ยวกับ สภาพการอาศัยอยู่ไม่เหมาะสมของกรณี B

“สภาพการอาศัยอยู่ไม่เหมาะสม” คือ ไม่ถึงกับผิดกฎหมายจนถึงขั้นถูกยกเลิกวีซ่า แต่หมายความว่า ถ้าพิจารณาจากวัตถุประสงค์ของวีซ่าแล้ว สภาพการอาศัยอยู่หรือการกระทำขณะที่อาศัยอยู่นั้นไม่เหมาะสม

เหมือนจะเข้าใจยาก ดังนั้นจึงขอยกตัวอย่างที่มักจะเกิดขึ้นบ่อยที่ถือว่าสภาพการอาศัยอยู่ไม่เหมาะสม

☆☆☆☆☆☆☆

  1. วีซ่า “นักศึกษา” เป็นวีซ่าเพื่อศึกษาในประเทศญี่ปุ่น ดังนั้นหากเป็นนักศึกษาที่มีอัตราการเข้าเรียนของโรงเรียน ในระดับที่ต่ำ อาจจะถูกพิจารณาว่าเป็นการอาศัยอยู่ไม่เหมาะสม
  2. กรณีถือวีซ่านักศึกษาแต่ไม่ได้เป็นนักศึกษา (หลังจากเรียนจบแล้วไม่มีการเรียนต่อ ลาออกจากโรงเรียนหรือถูกให้ออกจากโรงเรียน) และอาศัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่นต่อนานกว่า 3 เดือน โดยไม่เปลี่ยนประเภทวีซ่าที่สอดคล้องกับเงื่อนไขอื่น ๆ อาจจะถูกพิจารณาว่าเป็นการอาศัยอยู่ไม่เหมาะสม (อาจจะถูกยกเลิกวีซ่า)

  แม้จะไม่เป็นนักศึกษาแล้ว ถ้ายังมีอายุวีซ่าเหลืออยู่จะไม่เป็น Over Stay แต่การอนุมัติกิจกรรมนอกคุณสมบัติ(การอนุมัติ Part time) หมดอายุแล้ว หากยังทำงาน Part time ถือว่าเป็นการผิดกฎหมาย (กิจกรรมนอกคุณสมบัติ)

  1. วีซ่า “ทำงาน” เป็นวีซ่าเพื่อทำงานที่สอดคล้องกับประเภทงาน ดังนั้นหากคนที่มีวีซ่าทำงานลาออกจากงานและไม่ได้ทำอะไรนานกว่า 3 เดือน และไม่ได้เปลี่ยนประเภทวีซ่าที่สอดคล้องกับงานอื่น ๆ อาจจะถูกพิจารณาว่าเป็นการอาศัยอยู่ไม่เหมาะสม (อาจจะถูกยกเลิกวีซ่า)

  กรณีลาออกจากงานแต่ยังมีอายุวีซ่าเหลืออยู่ จะไม่เป็น Over Stay แต่หากทำงานที่ไม่สอดคล้องกับประเภทวีซ่าเนื่องจากไม่สามารถหางานที่สอดคล้องกับประเภทวีซ่าได้ ถือว่าเป็นการผิดกฎหมาย (กิจกรรมนอกคุณสมบัติ)

  1. วีซ่า “คู่สมรสของคนญี่ปุ่น” กรณีแต่งงานกับคนญี่ปุ่น เป็นวีซ่าเพื่อที่จะอาศัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่นกับคนญี่ปุ่นอย่างเป็นสามีภรรยากัน ดังนั้นหากมีการหย่ากันแล้วยังคงอาศัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่นต่อนานกว่า 6 เดือน โดยไม่เปลี่ยนประเภทวีซ่าที่สอดคล้องกัน แม้จะยังมีอายุวีซ่าเหลืออยู่ อาจจะถูกพิจารณาเป็นสภาพการอาศัยอยู่ไม่เหมาะสม ทั้งนี้แม้จะไม่เป็น Over Stay และมีอายุวีซ่าเหลืออยู่ ก็อาจจะถูกยกเลิกวีซ่าได้
  2. วีซ่า “อาศัยอยู่เป็นครอบครัว” โดยแต่งงานกับคนต่างชาติที่มีวีซ่าทำงาน เป็นวีซ่าเพื่ออาศัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่นกับคนต่างชาติที่ถือวีซ่าทำงาน (ได้รับการเลี้ยงดู) ดังนั้นหากมีการหย่ากันแล้วยังคงอาศัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่นต่อ นานกว่า 3 เดือน โดยไม่เปลี่ยนประเภทวีซ่าที่สอดคล้องกัน แม้จะยังมีอายุวีซ่าเหลืออยู่ อาจจะถูกพิจารณาเป็นสภาพการอาศัยอยู่ไม่เหมาะสม (อาจจะถูกยกเลิกวีซ่าได้)

  ภายหลังจากหย่ากันแล้วยังมีอายุวีซ่าเหลืออยู่จะไม่เป็น Over Stay แต่การอนุมัติกิจกรรมนอกคุณสมบัติ (การอนุมัติ Part time) จะหมดอายุ ดังนั้นหากทำงาน Part time ถือว่าผิดกฎหมาย (กิจกรรมนอกคุณสมบัติ)

จากกรณีที่กล่าวมาข้างต้น แม้จะยื่นขอต่อหรือเปลี่ยนประเภทวีซ่าโดยมีเงื่อนไขครบถ้วนจนถึงวันหมดอายุวีซ่า ก็อาจจะมีโอกาสสูงที่จะไม่ได้รับการอนุมัติ ดังนั้นเพื่อไม่ให้เกิดกรณีดังกล่าว หากเป็นนักศึกษาก็ให้พยายามเข้าเรียนอย่างสม่ำเสมอ และกรณีที่สภาพของประเภทวีซ่าอาจจะเปลี่ยนแปลงไป เช่น เรียนจบ ออกจากโรงเรียน ออกจากงาน หรือหย่า แต่อยากจะอาศัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่นต่อ แนะนำให้ตรวจสอบว่ามีประเภทวีซ่าที่สามารถเปลี่ยนได้หรือไม่เป็นต้น

☆☆☆☆☆☆☆

กรณีที่ไม่ได้รับการอนุมัติให้ต่อหรือเปลี่ยนประเภทวีซ่า หากสามารถแก้ไขปัญหาโดยการตรวจสอบเหตุผลที่ไม่อนุมัติได้ อาจจะได้รับการอนุมัติโดยการยื่นขอใหม่ แต่หากไม่ได้รับการอนุมัติเนื่องจากเป็นเหตุผลสภาพการอาศัยอยู่ไม่เหมาะสม “สภาพการอาศัยอยู่ไม่เหมาะสม” คือ “ข้อเท็จจริงของอดีต” ส่วนใหญ่แม้จะยื่นขอใหม่ ก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้และ ไม่สามารถได้รับการอนุมัติ ดังนั้นจำเป็นจะต้องเดินทางกลับประเทศและเริ่มขอวีซ่าใหม่ตั้งแต่การยื่นขอ COE.

มีหลายคนอยากจะเปลี่ยนประเภทวีซ่าเพื่อขออยู่ต่อในประเทศญี่ปุ่น โดยอ้างว่า “ถ้าเดินทางกลับประเทศแล้วอาจจะเดินทางกลับเข้ามาในประเทศญี่ปุ่นอีกไม่ได้” ซึ่งดูเหมือนว่าตามความรู้สึกแล้ว “คนที่อาศัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่นจะขอวีซ่า” ง่ายกว่า “อยู่ต่างประเทศและขอวีซ่าใหม่”

อย่างไรก็ตาม กฎหมายของประเทศญี่ปุ่น การตรวจสอบ COE. สภาพการอาศัยอยู่ขณะที่เคยอาศัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่น     จะไม่อยู่ในเกณฑ์พิจารณา หมายความว่า สำหรับคนที่อาศัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่นอยู่แล้ว “จะมีการตรวจสอบว่า ขณะที่อาศัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่นมีปัญหาหรือไม่” แน่นอน แต่สำหรับคนที่จะเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่นเป็นครั้งแรก “จะไม่มีการตรวจสอบสภาพการอาศัยอยู่” ดังนั้นกรณี “ต่ออายุ” หรือ “เปลี่ยน” ประเภทวีซ่า สำหรับคนที่ไม่เดินทางกลับประเทศอาจจะไม่ได้รับการอนุมัติ แต่ก็มีหลายกรณีที่ได้รับการอนุมัติโดยเดินทางกลับประเทศและยื่นขอ COE. ดังนั้นคนที่มีปัญหาสภาพการอาศัยอยู่ไม่เหมาะสมได้เดินทางกลับประเทศ บางครั้งเรียกว่า “Reset การอาศัยอยู่”  

แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไม่ง่ายเหมือนที่เรียกว่า “Reset” เพราะการ Reset น่าจะเป็นตรวจสอบเช่นเดียวกับคนที่ยื่นขอเป็นครั้งแรก “ศูนย์” สำหรับคนที่ต้องเดินทางกลับประเทศเนื่องจากสภาพการอาศัยอยู่ไม่เหมาะสม การตรวจสอบจะเริ่มตั้งแต่ “ติดลบ”  แต่ต่างกับกรณีที่ทำการตรวจสอบสภาพการอาศัยอยู่ตามกฎหมายอย่างชัดเจน ดังนั้นคนที่เดินทางกลับประเทศหลายคนก็สามารถได้รับการอนุมัติ โดยการแสดงเอกสารด้วยความสำนึกผิด

กรณีที่ไม่ได้รับการอนุมัติให้ต่อหรือเปลี่ยนประเภทวีซ่า เนื่องจากสภาพการอาศัยอยู่ไม่เหมาะสม แนะนำให้เดินทางกลับประเทศและยื่นขอ COE. (หากมีสภาพการอาศัยอยู่ไม่เหมาะสม ถ้ามีการยื่นขอใหม่ซ้ำ ๆ โดยยังไม่ได้แก้ไขปัญหา อาจจะมีโอกาสถูกขังและให้กลับประเทศ)  

翻訳(แปลโดย):鈴木秀明(ฮิเดอากิ ซูซูกิ)

Author

福島(Fukushima) 竜太(Ryuta)
福島(Fukushima) 竜太(Ryuta)入管手続専門行政書士(Certified Administrative Procedures Legal Specialists/Immigration Consultant)
aroi行政書士事務所 代表行政書士(東京都行政書士会所属)
アジアランゲージセンター(株) 代表取締役
群馬県渋川市出身
大東文化大学国際関係学部(タイ語選択)卒業後、タイ・バンコクに2年間駐在
日本語教師・日本語学校事務(留学ビザ手続担当)を経て2009年10月行政書士登録

コメントを残す

メールアドレスが公開されることはありません。 が付いている欄は必須項目です

CAPTCHA


このサイトはスパムを低減するために Akismet を使っています。コメントデータの処理方法の詳細はこちらをご覧ください