การยื่นคำขอไม่รับเรื่องใบหย่า ※เป็นบทความฉบับภาษาไทย วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2564

2月20日の記事のタイ語版です

มีหลายคนบอกว่า ในหลายๆ ประเทศ  ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีขั้นตอนการหย่าที่ง่าย

เพียงแค่ยื่นใบหย่าและหน่วยงานราชการรับเรื่องแล้ว ก็ถือว่าได้มีการทำเรื่องหย่าเรียบร้อยแล้ว

และอีกกรณีหนึ่ง ถ้าเนื้อหาในใบหย่าไม่มีข้อบกพร่อง สามีหรือภรรยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไปยื่นเรื่องด้วยตนเอง หรือส่งทางไปรษณีย์ หรือฝากเพื่อน ฝากบุคคลอื่นไปยื่นแทน หน่วยงานราชการก็ยังรับเรื่องไว้ให้

แต่ในหลายประเทศ จำเป็นจะต้องให้ศาลเข้ามาเกี่ยวข้อง หรือจำเป็นจะต้องให้สามีภรรยาทไปหน่วยงานราชการและแสดงความยินยอมทั้งสองฝ่าย จึงพูดได้ว่าขั้นตอนในการทำเรื่องหย่าของประเทศญี่ปุ่นถือว่าค่อนข้างง่ายมาก

แต่สิ่งที่ลำบาก

ในการหย่าที่ประเทศญี่ปุ่น คิดว่าน่าจะเป็นเรื่องของ “การตกลงกัน” ก่อนการหย่า เช่น เรื่องทรัพย์สินที่จะต้องแบ่งกัน หรือเรื่องลูก หรือครอบครัว

แต่เรื่องนี้ไม่ใช่ว่าจะมีแต่ประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น

สิ่งที่อยากจะพูดถึงในบทความนี้ก็คือ สำหรับประเทศญี่ปุ่นแล้ว  แม้เจ้าตัวจะไม่ได้ให้ความยินยอมในการหย่าก็ตาม หากหน่วยงานราชการรับใบหย่าของอีกฝ่ายหนึ่งเพียงใบเดียวแล้ว ก็ถือว่าได้มีการทำเรื่องหย่ากันเรียบร้อยแล้ว

ตอนที่ผมทำเรื่องวีซ่าให้คนต่างชาติ บางครั้งก็เจอคนที่ “ถูกคู่สมรสคนญี่ปุ่นทำเรื่องหย่าโดยไม่มีการแจ้งก่อน”

อาจจะมีโอกาสที่ถูกปลอมลายเซ็นทั้งๆที่เจ้าตัวที่เป็นคนต่างชาติยังไม่ได้เซ็น หรือถูกหลอกให้เซ็นใบหย่าโดยคู่สมรสคนญี่ปุ่นอ้างเหตุผลที่ไม่เป็นความจริงเพราะคนต่างชาติอ่านภาษาญี่ปุ่นไม่ออก (แน่นอนว่าผิดกฎหมาย)

สามารถคิดได้หลายกรณี แต่อย่างไรก็ตาม “ใบหย่าที่อีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้ให้ความยินยอม หากถูกส่งไปที่หน่วยงานราชการ ถือว่าทำเรื่องหย่าเรียบร้อยแล้ว

ในกรณีที่วีซ่าคนต่างชาติคนนั้นเป็น “วีซ่าคู่สมรสคนญี่ปุ่น” ที่เกิดจากการจดทะเบียนสมรสกับคนญี่ปุ่น จะเกิดปัญหาว่าคนๆนี้จะสามารถอาศัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่นต่อไปได้หรือไม่ ก็มีโอกาสที่วีซ่าจะหมดอายุโดยขึ้นอยู่กับระยะเวลาของวีซ่าที่เหลืออยู่นั้น

แม้ไม่มีการยินยอมของคู่สมรสคนต่างชาติก็ตาม ถ้าหน่วยงานราชการเคยรับเรื่องใบหย่ามาครั้งหนึ่งแล้ว หากต้องการที่จะให้สถานะการแต่งงานกลับคืนมา จำเป็นจะต้องทำเรื่องยื่นต่อศาลแสดงการหย่าเป็นโมฆะ ถ้าเทียบกับความง่ายในการหย่าแล้ว จะเป็นภาระค่อนข้างหนักและใช้เวลานานในการแก้ปัญหา และจะตกอยู่ในสภาวะลำบากสำหรับคู่สมรสคนต่างชาติรวมถึงปัญหาวีซ่าด้วย

ทีนี้จะพูดถึงวิธีรองรับเพื่อจะป้องกัน “การดำเนินการทำเรื่องหย่าจากฝ่ายเดียว” ที่มาจากความง่ายในการทำเรื่องหย่า คือ การยื่นคำขอไม่รับเรื่องใบหย่า ซึ่งเป็นหัวข้อของบทความนี้

# ระบบนี้ไม่ใช่ว่าจะใช้ได้เฉพาะคู่สมรสคนต่างชาติเท่านั้น

กรณียื่นเอกสารนี้ให้กับหน่วยงานราชการล่วงหน้าก่อนแล้ว แม้คู่สมรสคนญี่ปุ่นจะยื่นใบหย่าก็ตาม หน่วยงานราชการก็จะไม่รับเรื่อง ดังนั้น จึงสามารถป้องกันการยื่นเรื่องหย่าจากฝ่ายเดียวได้ และหากเคยยื่นคำขอไม่รับเรื่องหย่ามาครั้งหนึ่งแล้ว ก็จะมีผลต่อไปจนกว่าผู้ที่ยื่นคำขอไม่รับเรื่องหย่าจะยกเลิก

หากคิดว่ามีโอกาสที่คู่สมรสของตนจะยื่นเรื่องใบหย่าโดยไม่มีการตกลงกัน คิดว่าควรจะใช้วิธีนี้

แต่โดยหลัก การยื่นคำขอไม่รับเรื่องใบหย่า เจ้าตัวจะต้องไปยื่นที่หน่วยงานราชการด้วยตนเอง ทนายความหรือพวกเราที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายไม่สามารถยื่นแทนได้

ถ้าคู่สมรสที่เป็นคนต่างชาติอาศัยอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น(แม้จะมีปัญหาด้านภาษาญี่ปุ่น) การยื่นเรื่องดังกล่าวก็ไม่ยากเท่าไหร่ แต่กรณีที่อยู่ต่างประเทศไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม โดยหลักไม่สามารถไปยื่นเรื่องที่หน่วยงานราชการได้ (ถ้าเป็นคนญี่ปุ่นที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศ สามารถยื่นเรื่องที่สถานทูตญี่ปุ่นในต่างประเทศได้)

แต่มีกรณียกเว้น ที่สามารถยื่นคำขอไม่รับเรื่องใบหย่า โดยทำเป็นเอกสารรับรองจากประเทศของตน ก็สามารถส่งทางไปรษณีย์ หรือให้ผู้อื่นยื่นเรื่องแทนได้

วันก่อนได้ทำเรื่องการยื่นขอไม่รับเรื่องใบหย่าแทนคนไทยที่อยู่ประเทศไทย

ที่ประเทศไทยจะไม่มีระบบ “จัดทำเอกสารโดยผู้อนุมัติจากทางหน่วยงานราชการ”  เหมือนประเทศญี่ปุ่น ดังนั้น ทนายความที่มีคุณสมบัติทำคำรับรองได้ สามารถทำหน้าที่เสมือนเป็นผู้อนุมัติของหน่วยงานราชการของประเทศญี่ปุ่นได้

ตอนที่สอบถามอำเภอที่จะยื่นเรื่อง ตอนแรกได้คำตอบว่า “ถ้าเป็นใบรับรองจากทนายความคนต่างชาติ ไม่รับรองว่าจะรับเรื่องได้หรือเปล่า” ทำให้รู้สึกกังวล แต่ก็สามารถยื่นเรื่องได้โดยไม่มีปัญหา

“ใบหย่า” เป็นเอกสารที่ทำให้สถานะครอบครัวปัจจุบันเปลี่ยนไปอย่างมากมาย สามารถส่งทางไปรษณีย์ได้โดยง่ายโดยไม่มีการตรวจสอบเลยว่าเป็นเอกสารที่มีการปลอมลายเซ็นหรือไม่ ถ้าเทียบกับเรื่องนี้ “การยื่นขอไม่รับเรื่องใบหย่า” เพื่อรักษาสถานะปัจจุบัน จำเป็นต้องมีการตรวจสอบความต้องการของเจ้าตัวอย่างเข้มงวดมากกว่า จริงๆแล้วรู้สึกไม่เห็นด้วย แต่ปัจจุบันระบบของประเทศญี่ปุ่นเป็นแบบนี้

ทีนี้ในกรณีที่ยื่นขอไม่รับเรื่องใบหย่า สำหรับคู่สมรสอีกฝ่ายจะรู้ว่าไม่สามารถยื่นใบหย่าได้ตอนที่ไปยื่นเรื่อง ทำให้รู้สึกตกใจว่า “จริงเหรอ!?”

ในอดีตที่ผ่านมา พอสามีคนญี่ปุ่นไปยื่นใบหย่าที่หน่วยงานราชการเพื่อจะหย่ากับภรรยาคนต่างชาติที่ไม่สามารถติดต่อได้ ปรากฏว่าภรรยาคนต่างชาติได้ยื่นขอไม่รับเรื่องใบหย่าไว้ก่อนจะกลับประเทศแล้ว กลายเป็นว่า “ถ้าหย่ากันไม่ได้ แต่งงานใหม่ก็ไม่ได้ละสิ ผมจะทำอย่างไรดีนะ !?” ปัญหาแบบนี้ก็เคยเกิดขึ้นจริง

แต่ก็ยังสงสัยอยู่ว่า ติดต่อกับภรรยาไม่ได้ แล้วเอาลายเซ็นในใบหย่าภรรยามาจากไหน?

เมื่อกี้ผมเพิ่งบอกว่า “ถ้าคิดว่ามีโอกาสที่คู่สมรสของตนจะยื่นใบหย่าโดยไม่มีการตกลงกัน คิดว่าควรจะใช้วิธีนี้” แต่เอาเข้าจริงๆแล้ว ระบบการยื่นขอไม่รับเรื่องใบหย่าเป็นระบบที่ตลก

ส่วนตัวผมคิดว่า ถ้าระบบเป็นระบบที่ทำการตรวจสอบความต้องการของเจ้าตัวก่อนที่จะหย่ากัน ที่จริงแล้วไม่จำเป็นต้องมีระบบ “การยื่นขอไม่รับเรื่องใบหย่า” ก็ได้

เรื่องการจัดทำเอกสารไม่รับเรื่องใบหย่าตามบทความนี้ (ในกรณีประเทศไทย) พาร์ทเนอร์ของเรา Miss Kwanjai Promrachayot สามารถทำได้ ในราคาเริ่มต้นตั้งแต่ 3,000 บาท ขึ้นไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณของข้อมูล

(ที่ประเทศไทย)สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
Mr.Hideaki Suzuki
Kunhide111@gmail.com
(ภาษาไทยและภาษาญี่ปุ่น)


翻訳(แปลโดย):鈴木秀明(ฮิเดอากิ ซูซูกิ)

 

にほんブログ村 士業ブログ 行政書士へ
にほんブログ村

Author

福島(Fukushima) 竜太(Ryuta)
福島(Fukushima) 竜太(Ryuta)入管手続専門行政書士(Certified Administrative Procedures Legal Specialists/Immigration Consultant)
aroi行政書士事務所 代表行政書士(東京都行政書士会所属)
アジアランゲージセンター(株) 代表取締役
群馬県渋川市出身
大東文化大学国際関係学部(タイ語選択)卒業後、タイ・バンコクに2年間駐在
日本語教師・日本語学校事務(留学ビザ手続担当)を経て2009年10月行政書士登録

コメントを残す

メールアドレスが公開されることはありません。 が付いている欄は必須項目です

CAPTCHA


このサイトはスパムを低減するために Akismet を使っています。コメントデータの処理方法の詳細はこちらをご覧ください