อยากได้วีซ่า 3 ปี ต้องทำอย่างไร (วีซ่าผู้อยู่อาศัยระยะยาว)※ เป็นบทความฉบับภาษาไทย วันที่ 12 สิงหาคม 2563

3年ビザが欲しい(定住者ビザ編)のタイ語訳です

คราวนี้คิดว่าจะพูดถึงจุดสำคัญ เพื่อให้ผู้ที่ถือวีซ่า “ผู้อยู่อาศัยระยะยาว” ได้รับวีซ่า 3 ปีง่ายขึ้น

สำหรับวีซ่า “ผู้อยู่อาศัยระยะยาว”นี้ มีหลายประเภท เช่น “The third-generation Japanese” “ผู้ที่เกิดนอกประเทศญี่ปุ่นที่เป็นบุตรของผู้อยู่อาศัยอยู่ถาวร” “บุตรของคู่สมรสของคนสัญชาติญี่ปุ่น” “บุตรของคู่สมรสของบุคคลผู้อยู่อาศัยถาวร” “คู่สมรสของบุคคลที่ถือวีซ่าผู้อยู่อาศัยระยะยาว” แม้ว่าชื่อวีซ่าจะเหมือนกัน แต่ขึ้นอยู่กับว่าประเภทวีซ่าที่ได้รับ เหตุผลที่ไม่สามารถต่อวีซ่าได้ก็จะต่างกันด้วย และเงื่อนไขการได้รับวีซ่า 3 ปี หรือ 5 ปี ก็จะแตกต่างกันด้วย ที่นี่ลองดูกรณีที่เกิดขึ้นบ่อยในสำนักงานของผม

เครื่องหมาย A-G เป็นเครื่องหมายที่ผมตั้งขึ้นมาเอง ไม่มีความเกี่ยวข้องกับมาตราของกฎหมายใด ๆ
“ประกาศข้อที่” เป็นข้อที่ของการประกาศของกระทรวงยุติธรรม “ไม่มีปรากฎในประกาศ” เป็นข้อที่ไม่ได้กำหนดไว้ในประกาศ 

A.The third-generation Japanese และ The second-generation Japanese (ผู้ที่เกิดจากพ่อแม่สัญชาติญี่ปุ่นที่พ้นจากสัญชาติญี่ปุ่นแล้ว) (ประกาศข้อที่ 3)

B.คู่สมรสของบุคคลที่ถือวีซ่าผู้อยู่อาศัยระยะยาว (ประกาศข้อที่ 5)

C.คู่สมรสของ The second-generation Japanese (ผู้ที่เกิดจากพ่อแม่สัญชาติญี่ปุ่นก่อนพ้นจากสัญชาติญี่ปุ่น) (ประกาศข้อที่ 5)

D.บุตรของคู่สมรสของคนสัญชาติญี่ปุ่น บุตรของคู่สมรสของบุคคลผู้อยู่อาศัยถาวร หรือบุตรของคู่สมรสของบุคคลที่ถือวีซ่าผู้อยู่อาศัยระยะยาว (บุตรที่เกิดก่อนเป็นคู่สมรสของคนสัญชาติญี่ปุ่น เรียกว่า “ลูกติด”) (ประกาศข้อที่ 6)

E.บุตรของบุคคลผู้อยู่อาศัยถาวรที่เกิดนอกประเทศญี่ปุ่น (ประกาศข้อที่ 6)

F.ผู้ที่อุปการะเลี้ยงดูบุตรของคนสัญชาติญี่ปุ่น (ไม่มีปรากฎในประกาศ)

G.ผู้ที่หย่าหรือแยกทางกันเพราะเสียชีวิต กับคนสัญชาติญี่ปุ่นหรือบุคคลผู้อยู่อาศัยถาวร และได้รับอนุมัติเป็นกรณีพิเศษให้อยู่ต่อในประเทศญี่ปุ่นได้ (ไม่มีปรากฎในประกาศ)

 

วีซ่าประเภทนี้ก็เช่นเดียวกับวีซ่า “คู่สมรสของบุคคลสัญชาติญี่ปุ่น” ของวันก่อน ที่มีระยะเวลาวีซ่า “6 เดือน” แต่สำหรับวีซ่า 6 เดือนนี้ สำหรับคนที่เข้าเงื่อนไขข้อ B. และ C. (ประกาศที่ 5) ที่ได้รับวีซ่าจากการแต่งงานเท่านั้น เช่นเดียวกับคู่สมรสของคนญี่ปุ่นเป็นกรณีพิเศษ เช่น “อยู่ระหว่างดำเนินการเรื่องหย่า” “ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแสดงความต้องการหย่าอย่างชัดเจน”  หรือ “มีกำหนดการที่จะอยู่ประเทศญี่ปุ่นต่ำกว่า 6 เดือน” นอกจากกรณีที่ว่ามานี้ วีซ่า “ผู้อยู่อาศัยระยะยาว” ปกติจะมีระยะเวลา 1 ปี, 3 ปี, 5 ปี สำหรับวีซ่า “ผู้อยู่อาศัยระยะยาว” ส่วนใหญ่ในครั้งแรกจะได้ 1 ปี แต่แน่นอนว่ามีเงื่อนไขอยู่แล้ว และกรณียกเว้นที่ได้ 6 เดือน “ไม่สอดคล้องกับเงื่อนไข 1 ปี” ดังนั้น 1 ปี จะขยายเป็น 3 ปีหรือไม่ กรณี “คนที่มี 5 ปี และไม่เข้าเงื่อนไข” 5 ปี จะลดลงมาเหลือ 3 ปี เช่นเดียวกับคู่สมรสของคนญี่ปุ่น ที่นี่ลองดูเงื่อน “1ปี” อย่างชัดเจน เพื่อให้ 1 ปี ขยายเป็น 3 ปี

  1. สำหรับผู้ที่อยู่อาศัยเป็นคู่สมรส (ข้อ และข้อ C. ประกาศข้อที่ 5) ดูจากสภาพทางครอบครัวหรือการแต่งงาน เช่น ระยะเวลาการแต่งงาน จำเป็นจะต้องตรวจสอบการใช้ชีวิตอย่างต่อเนื่องของคู่สมรสเกี่ยวกับการจดทะเบียนสมรส และฐานะของคู่สมรสปีละครั้ง
  2. ดูจากสาพการอาศัยอยู่ จำเป็นจะต้องตรวจสอบปีละครั้ง
  3. ระยะเวลาการอยู่อาศัยมากกว่า 6 เดือน แต่ไม่ถึง 1 ปี

 

เช่นเดียวกับกรณีที่เป็นวีซ่า “คู่สมรสของบุคคลสัญชาติญี่ปุ่น” แต่มีข้อแตกต่างกันที่ข้อ 2. คือไม่ต้องมีวีซ่าแต่งงานดังนั้น จะเอาอะไร “จำเป็นต้องตรวจสอบปีละครั้ง”? ( ทำอย่างไร “สำนักงาน ตม.จะไม่จำเป็นต้องตรวจสอบปีละครั้ง”?)  ก็ไม่มีข้อมูลที่เขียนไว้อย่างชัดเจนเช่นเดียวกับกรณีคู่สมรสของคนญี่ปุ่น ที่นี่จากประสบการณ์ของผมจะลองเขียนจุดสำคัญ เพื่อให้ถูกพิจารณาว่า “ไม่จำเป็นต้องตรวจสอบปีละครั้ง” ตามหลักแล้วคนที่ได้รับวีซ่า “ผู้อยู่อาศัยระยะยาว” จากการแต่งงานจะเป็นกรณีเดียวกับวีซ่า “คู่สมรสของบุคคลสัญชาติญี่ปุ่น” สรุปได้ดังนี้

H.ผู้ที่มีวีซ่า “ผู้อยู่อาศัยระยะยาว” อยู่ด้วยกันกับคู่สมรสที่ประเทศญี่ปุ่น (กรณีที่เป็นข้อB. และข้อ C.)

I.บุตรที่มีวีซ่า “ผู้อยู่อาศัยระยะยาว” อยู่ด้วยกันกับพ่อแม่ที่ประเทศญี่ปุ่น (กรณีที่เป็นข้อD. และข้อ E.)

J.พ่อแม่ที่ถือวีซ่า “ผู้อยู่อาศัยระยะยาว” อยู่ด้วยกันกับบุตรที่ประเทศญี่ปุ่น (กรณีที่เป็นข้อF. )

K.มีรายได้เพียงพอเพื่อดำรงชีวิตและมีความมั่นคง (ทุกข้อ)

L.ไม่ได้ออกจากประเทศญี่ปุ่นในระยะยาว (ทุกข้อ)

M.ทำหน้าที่ชำระภาษีตามกฎหมาย (ทุกข้อ)

N.ยื่นเอกสารต่าง ๆ ตามกฎหมาย (ทุกข้อ)

O.บุตรที่อยู่ในช่วงวัยที่ต้องได้รับการศึกษาตามกฎหมายจะต้องให้บุตรไปโรงเรียน (ทุกข้อ)

 

สำหรับข้อ H. ไม่มีโอกาสที่จะขยายเป็น 3 ปี เช่นเดียวกับกรณีที่เป็นวีซ่า “คู่สมรสของบุคคลสัญชาติญี่ปุ่น”  สำหรับข้อ I. และข้อ J. ทั้ง 2 กรณี เรื่องสำคัญคือพ่อแม่และลูกจะต้องอาศัยอยู่ด้วยกันที่ประเทศญี่ปุ่น   เคยมีกรณีที่เกิดขึ้นจริงคือ พ่อและแม่ (ผู้อยู่อาศัยถาวร) กลับประเทศชั่วคราวในระยะยาว ส่วนลูกอายุ 17 ปี (จบการศึกษาภาคบังคับ) ทำงานอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น กรณีนี้ไม่สามารถต่อวีซ่าได้ ดังนั้นสำหรับวีซ่าประเภทนี้การอาศัยอยู่ด้วยกันหรือการเลี้ยงดูของพ่อและแม่ถือเป็นเรื่องสำคัญในการต่อวีซ่า 1 ปี และการจะขอขยายเป็น 3 ปีได้หรือไม่ เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้

สำหรับข้อ K. ถึงข้อ O. เช่นเดียวกับวีซ่า “คู่สมรสของบุคคลสัญชาติญี่ปุ่น”

สุดท้ายนี้ลองดูเงื่อนเพื่อให้วีซ่า 3 ปี ขยายเป็น 5 ปี กรณีนี้ก็จะมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับแบบของวีซ่าที่ได้รับ ก่อนอื่นสำหรับผู้ที่ได้รับวีซ่าตามแบบข้อ A. ถึง ข้อ E.

  1. ยื่นเอกสารต่าง ๆ ตามกฎหมาย
  2. ทำตามหน้าที่ทางราชการต่าง ๆ
  3. บุตรที่อยู่ในช่วงวัยที่ต้องได้รับการศึกษาตามกฎหมายจะต้องให้บุตรไปโรงเรียน
  4. ทำหน้าที่ชำระภาษีตามกฎหมาย
  5. ยกเว้นผู้ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ และมีความสามารถทางภาษาญี่ปุ่นมากกว่าระดับที่กำหนดไว้
  6. ดูจากสภาพทางครอบครัวหรือการแต่งงาน เช่น ระยะเวลาการแต่งงาน จำเป็นจะต้องตรวจสอบการใช้ชีวิตอย่างต่อเนื่องของคู่สมรสเกี่ยวกับการจดทะเบียนสมรสและฐานะของคู่สมรส (หลังจากแต่งงานจะต้องอยู่ด้วยกันมากกว่า 3 ปี)

 

สำหรับข้อ 1. ถึงข้อ 4. เช่นเดียวกับวีซ่า “คู่สมรสของบุคคลสัญชาติญี่ปุ่น” คนที่มีวีซ่า 5 ปี ถ้าขาดข้อใดข้อหนึ่งจะลดลงเหลือ 3 ปี ข้อ 6. มีความหมายไม่ชัดเจน เช่นเดียวกับวีซ่า “คู่สมรสของบุคคลสัญชาติญี่ปุ่น” แต่วีซ่า “ผู้อยู่อาศัยระยะยาว”ข้อ A. ถึงข้อ E. ต่างกันที่ต้องการความสามารถทางด้านภาษาญี่ปุ่น ในข้อ 5. ที่บอกว่าความสามารถทางภาษาญี่ปุ่นที่มากกว่าระดับที่กำหนดไว้ หมายถึง เข้าเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งตามข้อดังต่อไปนี้และจำเป็นจะต้องยื่นเอกสารรับรอง

  • ได้รับการศึกษาภาษาญี่ปุ่นมากกว่า 6 เดือนที่หน่วยงานการศึกษาภาษาญี่ปุ่น (โรงเรียนภาษาญี่ปุ่นที่สามารถรับนักศึกษาคนต่างชาติได้) ที่รัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมกำหนด
  • สอบผ่านการสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่น N2
  • ได้รับคะแนนการสอบ BJC มากกว่า 400 คะแนน  
  • ได้รับการศึกษามากกว่า 1 ปี ที่โรงเรียน (ยกเว้นโรงเรียนอนุบาล) ที่กำหนดไว้ในมาตรา 1 ตามกฎหมายการศึกษาโรงเรียนของภาษาญี่ปุ่น
    ⇒ได้รับการศึกษามากกว่า 1 ปี จากที่ใดที่หนึ่ง เช่น โรงเรียนประถม โรงเรียนมัธยมต้น โรงเรียนการศึกษาภาคบังคับ โรงเรียนมัธยมปลาย โรงเรียนประถมและมัธยมต้น โรงเรียนการศึกษาพิเศษ มหาวิทยาลัย และโรงเรียนวิชาชีพระดับสูง

 

ข้อกำหนดได้ยกเว้นผู้ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ส่วนข้อ B. และข้อ C. เป็นผู้ที่ได้รับวีซ่าจากการแต่งงาน เป็นผู้ที่มาประเทศญี่ปุ่นหลังจากบรรลุนิติภาวะแล้ว ถ้าเป็นผู้ที่เคยมาเรียนภาษาญี่ปุ่นอย่างจริงจังที่มหาวิทยาลัยหรือผู้ที่มีประสบการณ์การมาเรียนที่ประเทศญี่ปุ่นก็จะมีโอกาสเป็นไปได้ แต่สำหรับคนทั่วไป (โดยเฉพาะคนต่างชาติที่ไม่ได้อยู่ในประเทศที่ใช้ตัวอักษรคันจิ) ได้เริ่มอาศัยอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่นหลังจากบรรลุนิติภาวะ การสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่น ผ่าน N 2 หรือได้คะแนนการสอบ BJC มากกว่า 400 คะแนน เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก การเรียนที่มหาวิทยาลัยหรือโรงเรียนวิชาชีพที่ประเทศญี่ปุ่นก็เป็นทางเลือกทางหนึ่ง แต่คนที่มีอายุมากพอสมควรจะเรียนที่มหาวิทยาลัยหรือโรงเรียนวิชาชีพโดยไม่วางแผนอะไรจึงเป็นเรื่องที่ลำบากทางด้านเวลา และจิตใจ ดังนั้น ถ้าอยากจะได้วีซ่า 5 ปี ส่วนตัวผมคิดว่าควรเรียนที่โรงเรียนภาษาญี่ปุ่น 6 เดือน เป็นวิธีการที่เป็นไปได้ที่สุด

ต่อไปข้อ F. กับข้อ G.

  1. ยื่นเอกสารต่าง ๆ ตามกฎหมาย
  2. ทำตามหน้าที่ทางราชการต่าง ๆ
  3. บุตรที่อยู่ในช่วงวัยที่ต้องได้รับการศึกษาตามกฎหมายจะต้องให้บุตรไปโรงเรียน
  4. ทำหน้าที่ชำระภาษีตามกฎหมาย
  5. อาศัยอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่นมากกว่า 5 ปี

 

สำหรับข้อ 1. ถึงข้อ 4. เหมือนกันแต่เงื่อนไขไม่ชัดเจน แต่เงื่อนไขข้อ A. ถึงข้อ E. ของวีซ่า “คู่สมรสของบุคคลสัญชาติญี่ปุ่น” หรือวีซ่า “ผู้อยู่อาศัยระยะยาว” ไม่ได้เขียนว่าต้องการความสามารถทางด้านภาษาญี่ปุ่น แต่มีเงื่อนไขข้อ 5. แทนว่า “อาศัยอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่นมากกว่า 5 ปี”

สำหรับคนที่จำเป็นต้องอาศัยอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่นโดยมีเหตุผลพิเศษ ถ้าดำรงชีวิตอย่างมีความมั่นคงโดยทำตามกฎหมายแล้วการที่จะได้รับวีซ่า 5 ปี น่าจะถูกพิจารณาอย่างไม่เข้มงวด

ส่วนตัวผมแล้วคนที่เข้าเงื่อนไขแบบข้อ B. และข้อ C. ที่ได้รับวีซ่าจากการแต่งงาน รู้สึกว่านะจะใช้เงื่อนไขเดียวกับคนที่เข้าเงื่อนไขแบบข้อ F. และข้อ G. สำหรับผู้อยู่อาศัยระยะยาวมีหลายแบบค่อนข้างสับซ้อน คราวหน้าจะลองดูวีซ่าทำงาน

 

翻訳(แปลโดย):鈴木秀明(ฮิเดอากิ ซูซูกิ)

にほんブログ村 海外生活ブログ タイ情報へ    にほんブログ村 士業ブログ 行政書士へ
にほんブログ村   にほんブログ村

Author

福島(Fukushima) 竜太(Ryuta)
福島(Fukushima) 竜太(Ryuta)入管手続専門行政書士(Certified Administrative Procedures Legal Specialists/Immigration Consultant)
aroi行政書士事務所 代表行政書士(東京都行政書士会所属)
アジアランゲージセンター(株) 代表取締役
群馬県渋川市出身
大東文化大学国際関係学部(タイ語選択)卒業後、タイ・バンコクに2年間駐在
日本語教師・日本語学校事務(留学ビザ手続担当)を経て2009年10月行政書士登録

コメントを残す

メールアドレスが公開されることはありません。 が付いている欄は必須項目です

CAPTCHA


このサイトはスパムを低減するために Akismet を使っています。コメントデータの処理方法の詳細はこちらをご覧ください