เหตุผลที่อยากจะแนะนำการขออนุญาตให้เข้าประเทศใหม่※ เป็นบทความฉบับภาษาไทย ฉบับวันที่ 3 มิถุนายน 2563

ในตอนท้ายของบทความเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2563 เขียนไว้ว่า 【ในกรณีของประเทศญี่ปุ่น หากกลับเข้ามาในประเทศญี่ปุ่นภายใน 1 ปี สามารถกลับเข้ามาใหม่ได้ด้วยวีซ่าประเภทเดียวกัน (วีซ่าไม่หมดอายุ) ดังนั้นจึงมีส่วนน้อยที่จะได้รับ “การอนุญาตให้เข้าประเทศใหม่อีกครั้ง” อย่างไรก็ตามสำหรับประเทศญี่ปุ่น ผมจึงขอแนะนำให้ขออนุญาตเข้าประเทศใหม่อีกครั้ง】

เหตุผลว่า ทำไมผมอยากจะแนะนำให้ขออนุญาตเข้าประเทศญี่ปุ่นใหม่อีกครั้ง

ในความเป็นจริงแล้ว ประเทศญี่ปุ่นในอดีตก็เหมือนกับประเทศไทย หากคนต่างด้าวออกจากประเทศญี่ปุ่นภายในกำหนดเวลาของวีซ่าและกลับเข้ามาในประเทศญี่ปุ่นอีกครั้งด้วยวีซ่าประเภทเดิม จำเป็นจะต้องได้รับการอนุญาตให้เข้าประเทศใหม่ หากออกจากประเทศญี่ปุ่นโดยไม่ได้รับการอนุญาต แม้ว่าระยะเวลาของวีซ่ายังไม่หมดอายุก็ตาม วีซ่าก็จะหมดอายุ และจะต้องขอวีซ่าใหม่อีกครั้งโดยเริ่มตั้งแต่การขอหนังสือรับรองสถานภาพการพำนัก (COE)(กรณีประเทศญี่ปุ่น)

อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2555 เป็นต้นมา มีหลักเกณฑ์ใหม่เกี่ยวกับ “การขออนุญาตให้เข้าประเทศใหม่เป็นกรณีพิเศษ” หมายความว่า หากกลับเข้ามาในประเทศญี่ปุ่นภายใน 1 ปี (ตามกำหนดระยะเวลาวีซ่า กรณีวีซ่าหมดภายใน 1 ปี)   แม้จะไม่ได้รับการอนุญาตเข้าประเทศใหม่ก็ตาม ก็สามารถเข้าประเทศญี่ปุ่นได้โดยใช้วีซ่าประเภทเดิม (วีซ่าจะยังไม่หมดอายุ หากคนต่างด้าวถือหนังสือเดินทางและบัตรประจำตัวผู้พำนัก (ไซริวการ์ด) ที่ยังไม่หมดอายุการใช้งาน) (เป็นกรณียกเว้น)   

หากพูดถึงระบบการขออนุญาตให้เข้าประเทศใหม่เป็นกรณีพิเศษ คนต่างด้าวส่วนใหญ่อาจจะคิดว่ามีความจำเป็นจะต้องเตรียมอะไรบางอย่างไว้ล่วงหน้า  แต่หากแจ้งว่า “จะกลับเข้าประเทศญี่ปุ่นภายใน 1 ปี พร้อมยื่นบันทึกการเข้าออกประเทศใหม่ (ED การ์ด) ที่สามารถรับได้ที่สนามบินเป็นต้น ขณะทำเรื่องออกนอกประเทศญี่ปุ่น สามารถดำเนินการให้เป็น “ผู้ได้รับการอนุญาตให้เข้าประเทศใหม่เป็นกรณีพิเศษ” เนื่องจากไม่มีขั้นตอนที่ซับซ้อน คนต่างด้าวทุกคนสามารถทำได้เป็นเรื่องปกติ ดังนั้นหากเข้าและออกประเทศญี่ปุ่นเป็นประจำโดยวีซ่าประเภทเดิมโดยไม่ได้รับการอนุญาตให้เข้าประเทศใหม่ แม้จะไม่มีความสนใจเกี่ยวกับ “การอนุญาตให้เข้าประเทศใหม่เป็นกรณีพิเศษ” ก็ตาม ถือว่าคนต่างด้าวคนนั้นออกจากประเทศญี่ปุ่นโดยได้รับ “การอนุญาตให้เข้าประเทศใหม่เป็นกรณีพิเศษ” โดยอัตโนมัติ  

สำหรับการอนุญาตให้เข้าประเทศใหม่ที่ใช้ได้ครั้งเดียว จำเป็นจะต้องได้รับการอนุญาตในแต่ละครั้งที่เรียกว่า Single  มีค่าธรรมเนียม 3000 เยน ซึ่งสามารถเข้าและออกประเทศญี่ปุ่นได้ไม่จำกัดจำนวนครั้งภายในระยะเวลาของวีซ่า (ภายใน 5 ปี สำหรับผู้อยู่อาศัยถาวร) ที่เรียกว่า Multiple มีค่าธรรมเนียม 6000 เยน แต่สำหรับการอนุญาตให้เข้าประเทศใหม่ ไม่มีค่าธรรมเนียม

นอกจากนี้คนต่างด้าวส่วนใหญ่ที่ทำงานหรือมีครอบครัวอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น ไม่ใช่เรื่องผิดปกติสำหรับพวกเขาที่จะไม่กลับเข้าประเทศญี่ปุ่นนานกว่า 1 ปี ดังนั้น “การขออนุญาตให้เข้าประเทศใหม่เป็นกรณีพิเศษ” จึงเพียงพอแล้ว เนื่องจากไม่ซับซ้อนและไม่เสียค่าใช้จ่าย ทำให้คนต่างด้าวที่ขออนุญาตให้เข้าประเทศใหม่จึงมีส่วนน้อย  

อย่างไรก็ตาม ระยะเวลา 1 ปี ถือว่าผ่านไปอย่างรวดเร็ว ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น คนต่างด้าวส่วนใหญ่ที่เดินทางออกนอกประเทศญี่ปุ่นด้วย “การขออนุญาตให้เข้าประเทศใหม่เป็นกรณีพิเศษ” ไม่คิดเลยว่าเมื่อเดินทางออกจากประเทศญี่ปุ่นแล้วจะไม่ได้กลับเข้าประเทศญี่ปุ่นอีกเป็นเวลานานกว่า 1 ปี ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว

วางแผนที่จะกลับเข้าประเทศญี่ปุ่นภายใน 2-3 เดือน แต่ปรากฏว่าพ่อต้องเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลและต้องอยู่ดูแล ทำให้  ไม่สามารถกลับเข้าประเทศญี่ปุ่นได้จนล่วงเลยระยะเวลา 1 ปี

ทั้งนี้เหตุการณ์ที่ไม่ได้คาดการณ์ไว้มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้  ดังนั้นหากมีการ “ขออนุญาตเข้าประเทศใหม่” ไว้  กรณีผู้อยู่อาศัยถาวรจะมีระยะเวลา 5 ปี  สำหรับคนต่างด้าวที่ระยะเวลาของวีซ่าหมดภายใน 1 ปี จะไม่มีความสำคัญสักเท่าใด เว้นแต่กรณีที่ระยะเวลาของวีซ่ามีมากกว่า 1 ปี แต่ไม่เกิน 5 ปี ของวีซ่าแต่ละประเภทนั้น ๆ แม้ไม่สามารถกลับเข้าประเทศญี่ปุ่นได้ เนื่องจากมีเหตุผลใด ๆ ก็ตาม ความเสี่ยงที่จะทำให้วีซ่าหมดอายุก็จะน้อยลง

และที่สำคัญต่อไปนี้ เป็นเรื่องที่ยังไม่เป็นที่รู้จักกันดี

กรณีคนต่างด้าวออกนอกประเทศญี่ปุ่น โดยการ “ขออนุญาตให้เข้าประเทศใหม่เป็นกรณีพิเศษ” และไม่ได้กลับเข้ามาประเทศญี่ปุ่นภายใน 1 ปี ถือว่าวีซ่านั้นหมดอายุทันที ไม่ว่าจะมีเหตุผลใด ๆ ก็ตาม

กรณี “การขออนุญาตให้เข้าประเทศใหม่เป็นกรณีพิเศษ” จะไม่มีการเยียวยาช่วยเหลือใด ๆ

อย่างไรก็ตาม หากคนต่างด้าวที่ได้รับการอนุญาตให้เข้าประเทศใหม่ ไม่สามารถกลับเข้าประเทศญี่ปุ่นได้ภายในระยะเวลาที่ได้รับการอนุญาตให้เข้าประเทศ เช่น เกิดความเจ็บป่วยขึ้นที่ประเทศของตน คนต่างด้าวสามารถยื่นขอขยายระยะเวลาได้ที่สถานทูตญี่ปุ่นในประเทศของตนได้

เหตุผลที่ผมอยากจะแนะนำการขออนุญาตให้เข้าประเทศใหม่ เนื่องจากอาจจะเกิดเหตุการณ์ที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ 

ปัจจุบันถือว่า การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า สามารถพูดได้เลยว่า “เป็นเหตุการณ์” ที่ไม่ได้คาดการณ์มาก่อนว่าจะเกิดขึ้น

และเรื่องที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริง

คนไทยซึ่งเป็นผู้พำนักถาวรในประเทศญี่ปุ่น  ได้พาบุตร (ผู้พำนักถาวรเช่นกัน) ไปฝากพ่อแม่ของตน (ปู่ ย่า ตา ยาย) เลี้ยงดู      ที่ประเทศไทยเมื่อเดือนมิถุนายนปีที่ผ่านมา และวางแผนว่าจะให้บุตรกลับเข้าประเทศญี่ปุ่นภายในเดือนมีนาคมปีนี้ ปรากฎว่าไม่สามารถกลับเข้าประเทศญี่ปุ่นได้ เนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า และเมื่อบุตรเป็นผู้พำนักถาวรในประเทศญี่ปุ่นและออกจากประเทศญี่ปุ่นเมื่อเดือนมิถุนายนปีที่แล้ว หากสามารถเดินทางกลับเข้าประเทศญี่ปุ่นโดยทางเครื่องบินเพียงลำพังก็สามารถเข้าประเทศญี่ปุ่นได้ เพราะ “มีเหตุผลพิเศษ” แต่หากบุตรมีอายุยังน้อยไม่สามารถเดินทางโดยเครื่องบินเพียงลำพังได้ มีความจำเป็นที่จะต้องให้พ่อแม่ที่อาศัยอยู่ประเทศญี่ปุ่นมารับกลับ หรือให้เดินทางกลับเข้าประเทศญี่ปุ่นพร้อมกับ ปู่ ย่า ตา ยาย ที่เป็นผู้เลี้ยงดู แต่หากไม่มีเหตุผลพิเศษ เช่น ไม่เป็นผู้พำนักถาวร หรือเป็นบุคคลที่ห้ามเข้าประเทศ เนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า ก็ไม่สามารถกลับเข้าประเทศญี่ปุ่นได้ หากเกิดกรณีที่พ่อแม่ไปรับเพื่อกลับเข้าประเทศญี่ปุ่นหลังวันที่ 2 เมษายน 2563 ถือว่าพ่อแม่ที่ไปรับกลายเป็นบุคคลที่ห้ามเข้าประเทศญี่ปุ่น (หากออกจากประเทศญี่ปุ่น เพื่อเข้าประเทศไทย หลังจากวันที่ 2 เมษายน 2563 แม้จะเป็นผู้พำนักถาวรในประเทศญี่ปุ่นก็ไม่ได้รับการอนุญาตแม้มีเหตุผลพิเศษ) ไม่สามารถ  พาบุตรกลับเข้าประเทศญี่ปุ่นด้วยกันได้       

ต่อจากนี้ อาจจะมีมาตรการการช่วยเหลือเป็นกรณีพิเศษ เนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า  แต่สำหรับปัจจุบันกรณีนี้ถือว่าสิทธิการเป็นผู้พำนักถาวรของบุตรจะสูญสิ้นไป (เว้นแต่ประเทศไทยประกาศยกเลิกการเข้าประเทศ ภายหลังจากออกนอกประเทศแล้ว ภายใน 1 ปี) 

สำหรับผมจึงเป็นเหตุการณ์ที่ทำให้รู้สึกว่า “ควรจะขออนุญาตให้เข้าประเทศใหม่” ไว้

翻訳(แปลโดย):鈴木秀明(ฮิเดอากิ ซูซูกิ)

Author

福島(Fukushima) 竜太(Ryuta)
福島(Fukushima) 竜太(Ryuta)入管手続専門行政書士(Certified Administrative Procedures Legal Specialists/Immigration Consultant)
aroi行政書士事務所 代表行政書士(東京都行政書士会所属)
アジアランゲージセンター(株) 代表取締役
群馬県渋川市出身
大東文化大学国際関係学部(タイ語選択)卒業後、タイ・バンコクに2年間駐在
日本語教師・日本語学校事務(留学ビザ手続担当)を経て2009年10月行政書士登録

コメントを残す

メールアドレスが公開されることはありません。 が付いている欄は必須項目です

CAPTCHA


このサイトはスパムを低減するために Akismet を使っています。コメントデータの処理方法の詳細はこちらをご覧ください