หย่ากันแล้ววีซ่าจะเป็นอย่างไร 2 (กรณีที่เป็นคู่สมรสคนญี่ปุ่นหรือคู่สมรสของผู้อยู่อาศัยถาวร) ※เป็นบทความฉบับภาษาไทย วันที่ 6 พฤศจิกายน 2563

2020年11月6日の記事のタイ語版です

ฉบับที่แล้ว ได้เขียนเรื่อง “ถึงอย่างไร(ทำอย่างไร)จะสามารถเปลี่ยนเป็นวีซ่าผู้อยู่อาศัยระยะยาว” ในกรณีผู้ที่ถือ “วีซ่าคู่สมรสของคนญี่ปุ่น” “วีซ่าคู่สมรสของผู้อยู่อาศัยถาวร” ทำเรื่องหย่า และไม่มีบุตรกับคู่สมรสที่หย่ากัน โดยอ้างอิงจากเงื่อนไขการตรวจสอบของ ตม. และจากประสบการณ์ของผม

1. “มีสถานถาพการสมรสหรือมีชีวิตครอบครัวตามปกติ” ในประเทศญี่ปุ่นมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง

2. มีทรัพย์สินหรือทักษะที่สามารถใช้ชีวิตต่อได้

3. ทำหน้าที่ตามกฎหมายหรือคาดว่าจะทำหน้าที่ตามกฎหมายต่อไปได้

4. สภาพการอยู่อาศัยที่ผ่านมาอยู่ในสภาพที่ดี


ข้อที่ 1 ได้อธิบายไว้แล้วในฉบับที่ผ่านมา ในครั้งนี้มาดูตั้งแต่ข้อ 2

สำหรับข้อ 2 : มีทรัพย์สินหรือทักษะที่สามารถใช้ชีวิตต่อได้

สำหรับข้อนี้ คิดว่าสามารถพูดแทนได้ว่า “มีโอกาสน้อยที่จะเป็นภาระกับทางราชการญี่ปุ่นในอนาคต(เป็นคนที่สามารถใช้ชีวิตได้โดยไม่ต้องอาศัยเงินช่วยเหลือค่าครองชีพในอนาคต)”

ถ้าพูดง่ายกว่านี้ก็คือ “มีรายได้ที่สามารถใช้ชีวิตต่อได้” ใช้คำว่า “สามารถใช้ชีวิตต่อได้” คือ ไม่จำเป็นจะต้องมีรายได้ที่สูง

แล้วจะต้องมีรายได้ปัจจุบันแค่ไหน? (หรือประมาณการได้ว่าจะมีรายได้ในอนาคตแค่ไหน?)

แต่ไม่ได้ระบุจำนวนเงินอย่างชัดเจน

เคยมีลูกค้าของผมที่ได้รับการอนุมัติแม้มีรายได้น้อยที่สุด บางคนมีประมาณ 140,000 เยนต่อเดือน และที่ผ่านมาลูกค้าของผมไม่เคยถูกปฏิเสธด้วยเหตุ “รายได้ไม่เพียงพอ” ดังนั้น พูดได้ว่าหากมีรายได้น้อยกว่าก็มีโอกาสได้รับการอนุมัติ

แต่แน่นอนยิ่งรายได้น้อยยิ่งมีความเสี่ยงสูงที่จะถูกปฏิเสธ(ผมไม่ค่อยมั่นใจ แม้จะมี 140,000 เยนก็ตาม ก็มีความกังวลค่อนข้างมาก)

ส่วนค่าครองชีพที่จำเป็น ในแต่ละคนจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับว่ามีพื้นที่อาศัยอยู่ประจำหรือมีบ้านของตนเองหรือไม่ หรือถ้าหย่ากันเพราะเหตุคู่สมรสเสียชีวิต มีเงินบำเหน็จบำนาญหรือไม่
มีบางคนไม่มีความกังวลเรื่องค่าครองชีพด้วยเหตุต่างๆในกรณีพิเศษ ดังนั้น ไม่สามารถระบุจำนวนเงินขั้นต่ำได้ แต่สำหรับคนที่มีรายได้น้อย แม้จะ “ประหยัดแค่ไหนก็ไม่สามารถใช้ชีวิตได้” นั้น จำเป็นจะต้องอธิบายอย่างละเอียดว่าจะใช้ชีวิตอย่างไร

สำหรับข้อมูลหลักฐานของการทำงานหรือรายได้เพื่อยื่นขอวีซ่าประเภทนี้ ส่วนใหญ่จะเตรียมข้อมูลทันทีหลังจากทำเรื่องหย่า(หากเกินกำหนดมาเป็นเวลาครึ่งปีหลังจากทำเรื่องหย่าจะถือว่าอยู่ในสถานะไม่เหมาะสมในการอาศัยอยู่ มีโอกาสที่จะทำให้การตรวจสอบเข้มงวดมากขึ้นได้) ดังนั้น สำหรับบางคนที่เคยเป็นแม่บ้านหรือพ่อบ้านมาก่อน ยากที่จะแสดงเป็นเอกสารทางการเกี่ยวกับรายได้ที่เพียงพอ(แสดงรายได้ที่เพียงพอโดยใช้ใบรับรองชำระภาษีท้องถิ่น) เพื่อเป็นเอกสารประกอบการยื่นคำขอ ในกรณีเช่นนั้น หากยื่นเอกสารหรืออธิบายให้กับต.ม.ได้ว่าสามารถหารายได้อย่างมั่นคงได้ ก็สามารถยื่นให้ต.ม. อนุมัติได้ ซึ่งเอกสารที่จำเป็นจะต้องยื่น เช่น สัญญาจ้าง หรือข้อมูลแสดงเงินเดือน(เช่น สลิปเงินเดือน หรือสมุดบัญชีธนาคารที่โอนเงินเดือนเข้า)

บางครั้งมีคนบอกมาว่า

“ฉันมีงาน มีรายได้ 10 ล้านเยนต่อปี และชำระภาษีอย่างถูกต้องทุกครั้ง ไม่มีปัญหาใช่ไหม?”

แน่นอนมีรายได้สูงเป็นข้อดี(แน่นอนต้องชำระภาษีไว้แล้ว) แต่ถึงจะมีรายได้สูงและทำหน้าที่ชำระภาษีก็ตาม ถ้าระยะเวลาการจดทะเบียนสมรสมีเพียง 2 ปี อาจไม่ได้รับการอนุมัติ

และถ้าไม่สอดคล้องกับเงื่อนไขข้อที่ 1 ที่ว่า “สถานภาพการสมรสหรือมีชีวิตครอบครัวตามปกติ” ในประเทศญี่ปุ่นมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว อาจไม่ได้รับการอนุมัติเช่นกัน

เหมือนที่เขียนไว้ในฉบับครั้งที่แล้ว เคยมีคนที่ได้รับเงินบำเหน็จบำนาญ มีบ้านของตนเองที่ได้มาจากการรับมรดกอยู่ด้วยกันเป็นสามีภรรยาจนคู่สมรสเสียชีวิต และหย่ากับคู่สมรสด้วยเหตุ “หย่าด้วยเหตุคู่สมรสเสียชีวิต” ก็ตาม แต่ระยะเวลาการจดทะเบียนสมรสมีเพียง 2 ปีครึ่ง ก็ไม่ได้รับการอนุมัติ

ตั้งแต่ข้อ 3 เป็นต้นไปจะเขียนในครั้งหน้าครับ

翻訳(แปลโดย):鈴木秀明(ฮิเดอากิ ซูซูกิ)

Author

福島(Fukushima) 竜太(Ryuta)
福島(Fukushima) 竜太(Ryuta)入管手続専門行政書士(Certified Administrative Procedures Legal Specialists/Immigration Consultant)
aroi行政書士事務所 代表行政書士(東京都行政書士会所属)
アジアランゲージセンター(株) 代表取締役
群馬県渋川市出身
大東文化大学国際関係学部(タイ語選択)卒業後、タイ・バンコクに2年間駐在
日本語教師・日本語学校事務(留学ビザ手続担当)を経て2009年10月行政書士登録

コメントを残す

メールアドレスが公開されることはありません。 が付いている欄は必須項目です

CAPTCHA


このサイトはスパムを低減するために Akismet を使っています。コメントデータの処理方法の詳細はこちらをご覧ください