หย่ากันแล้ววีซ่าจะเป็นอย่างไร 1 (กรณีที่เป็นคู่สมรสคนญี่ปุ่นหรือคู่สมรสของผู้อยู่อาศัยถาวร) ※เป็นบทความฉบับภาษาไทย วันที่ 30 ตุลาคม2563

2020年10月30日の記事のタイ語版です

เมื่อวันก่อนมีคำถามแนวๆนี้มาอย่างต่อเนื่องเลย

“อยากจะหย่ากัน แต่เมื่อหย่ากันแล้ววีซ่าจะเป็นอย่างไร?”

คำตอบของคำถามนี้ จะขึ้นอยู่กับสถานะปัจจุบันและอดีตที่ผ่านมา หากถือวีซ่าถาวร ก็สามารถอาศัยอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่นต่อได้ ดังนั้น คงไม่ต้องกังวลอะไรมาก

ที่จะเป็นปัญหาก็คือกรณีถือวีซ่าประเภทอื่น

กรณีที่ได้วีซ่ามาจากการแต่งงาน วีซ่านั้นจะสิ้นสุดเมื่อมีการหย่าหรือคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งเสียชีวิต ถ้าต้องการจะอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่นต่อ จำเป็นจะต้องเปลี่ยนเป็นวีซ่าประเภทอื่นหรือจดทะเบียนสมรสใหม่กับคนที่สามารถได้วีซ่าประเภทเดียวกัน

อย่างไรก็ตาม หลังจากที่หย่ากันแล้ว จะได้วีซ่าประเภทไหนนั้นขึ้นอยู่กับประเภทของวีซ่าที่ถืออยู่ หรือสถานะ ประสบการณ์ สภาพทางการเงินต่างๆของที่ผ่านมาด้วย คราวนี้จะเขียนเรื่อง กรณีที่คนที่ถือ “วีซ่าคู่สมรสคนญี่ปุ่น” หรือ “คู่สมรสของผู้อยู่อาศัยถาวร” หย่ากันหรือคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งเสียชีวิต

กรณีคนที่ถือวีซ่าประเภทนี้แล้วมีการหย่าหรือคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งเสียชีวิต โดยปกติแล้วจะพิจารณาให้เปลี่ยนเป็นวีซ่า “ผู้อยู่อาศัยระยะยาว”

การเปลี่ยนเป็นวีซ่าผู้อยู่อาศัยระยะยาวสามารถทำงานได้ และมีโอกาสได้รับสิทธิอาศัยอยู่ถาวรในเวลาระยะสั้นหากมีความตั้งใจทำงานก็สามารถอาศัยอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่นได้โดยจะมีความมั่นคงสูง โดยเฉพาะมีโอกาสที่จะได้รับอนุมัติสูงในกรณีที่มีบุตรสัญชาติญี่ปุ่นและมีสิทธิเป็นผู้ปกครองหรือมีสิทธิดูแลบุตร ดังนั้น ควรจะเปลี่ยนเป็นวีซ่าผู้อยู่อาศัยระยะยาว

ที่เป็นปัญหาคือกรณีที่ไม่มีบุตร

กรณีได้รับวีซ่าผู้อยู่อาศัยระยะยาวที่ได้รับจากการหย่า เรียกว่า อาศัยอยู่ระยะยาวโดยการหย่า แต่ “จะเป็นอย่างไร(ทำอย่างไร)จึงจะสามารถได้สิทธิอาศัยอยู่ระยะยาวโดยการหย่า” มาตรฐานยังไม่ชัดเจน ตอนแรกคิดว่าจะเอาเงื่อนไขในการพิจารณาของต.ม.มา แต่น่าจะทำให้สับสนมากขึ้น ดังนั้น จะลองเขียนโดยอ้างอิงเงื่อนไขในการพิจารณาของต.ม. และประสบการณ์ของผมด้วย

1.  “สถานถาพการสมรสหรือมีชีวิตครอบครัวตามปกติ” ในประเทศญี่ปุ่นมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง

2. มีทรัพย์สินหรือทักษะที่สามารถใช้ชีวิตต่อได้

3. ทำหน้าที่ตามกฎหมายหรือคาดว่าจะทำหน้าที่ตามกฎหมายต่อไป

4. สภาพการอยู่อาศัยที่ผ่านมาอยู่ในสภาพที่ดี


เกี่ยวกับข้อ 1

“ระยะเวลาหนึ่ง” คือระยะเวลานานแค่ไหน?

ตอนที่ผมเริ่มทำงานใหม่ๆ ได้ฟังมาจากการอมรบของอาจารย์ที่มากด้วยประสบการณ์ คือ “6ปีครึ่งน่าจะปลอดภัย” แต่เพียงแค่ “ปลอดภัย” ไม่ใช่ระยะเวลาที่มีความจำเป็น แค่บอกจากประสบการณ์หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลของอาจารย์ว่า “ถ้ามี 6ปีครึ่ง น่าจะไม่มีปัญหา” เท่านั้น

แล้วขั้นต่ำจะประมาณไหน

โดยทั่วไปประมาณ 3ปี

ในความเป็นจริง  คนที่หย่ากับคู่สมรสคนญี่ปุ่นที่เกิดจากการเสียชีวิต แม้จดทะเบียนสมรสมาแล้ว 2ปีครึ่ง ก็ไม่ได้รับการอนุมัติ แม้จะยืนยันว่า มีบ้านอยู่อาศัยที่ประเทศญี่ปุ่นที่เป็นกองมรดก และได้รับเงินบำเหน็จบำนาญกรณีที่คู่สมรสเสียชีวิต ก็ถือว่าส่วนนี้ยังมีประโยชน์น้อยในการจะได้รับวีซ่านี้ เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับเรื่องส่วนตัว ไม่ใช่ว่าจะต้องมี 3ปี แต่ก็ไม่ใช่ว่ามี 3ปีแล้วจะได้รับการอนุมัติแน่นอน ที่อาจารย์บอกว่า “6 ปีครึ่ง” เป็นระยะเวลาที่ปลอดภัย จึงอาจบอกได้ว่าระยะเวลายิ่งนานยิ่งมีโอกาสได้รับการอนุมัติ

และผมคิดว่า กรณีที่จดทะเบียนสมรสมาแล้ว 3 ปี แล้วหย่ากัน น่าจะเป็นการขอวีซ่าที่น่าจะมีความเสี่ยงมาก

น่าจะพิจารณาจาก สถานะการอาศัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่น(มีความน่าเชื่อถือหรือไม่ที่เป็นสามีภรรยากันจริง, ทำหน้าที่ตามกฎหมาย เช่น เสียภาษีหคืออื่นๆ) หรือสภาพการอาศัยอยู่แบบมั่งคง(มีช่วงเวลาที่ไม่ได้อยู่ในประเทศญี่ปุ่นเป็นเวลานานหรือไม่) หรือเหตุผลในการหย่า(มีเหตุผลที่สมควรหรือไม่) และอื่นๆ ถ้ามีปัญหาเรื่องเหล่านี้แม้เพียงเล็กน้อย การยื่นขอโดยมีระยะเวลา 3ปี หรือไม่ถึง 3ปี คิดว่าน่าจะมีความเสี่ยง

ผมเองไม่เคยรับงานจากคนที่มีระยะเวลาจดทะเบียนสมรส 3ปี คนที่ผมรับงานและได้รับการอนุมัติระยะเวลาที่สั้นที่สุดเป็นประมาณ 4 ปี ผมขอย้ำว่า ไม่ได้หมายความว่า “มี 4ปีแล้วจะไม่มีปัญหา”

และ “สถานภาพการสมรสหรือมีชีวิตครอบครัวตมาปกติ” คืออะไร?

ผมคิดว่า “การที่สามีภรรยาอาศัยอยู่ด้วยกัน” ถือเป็นมาตรฐานอย่างหนึ่ง คือ หากระยะเวลาที่ไม่ได้อยู่ด้วยกันมาเป็นเวลานาน มีโอกาสสูงที่จะไม่ได้รับการอนุมัติในการเปลี่ยนเป็นวีซ่าผู้อยู่อาศัยระยะยาว

ในเงื่อนไขการพิจารณาของต.ม.จะมีข้อความดังต่อไปนี้

“สถานภาพการสมรสหรือมีชีวิตครอบครัวตามปกติ” คือ การใช้ชีวิตครอบครัวอย่างเป็นสามีภรรยากันตามปกติ ดังนั้น  แม้จะมีช่วงเวลาที่ไม่ได้อยู่ด้วยกันก็ตาม ถ้ายอมรับว่ามีการช่วยเหลือกัน หรือมีความสัมพันธ์กันเป็นสามีภรรยาอย่างต่อเนื่อง ถือว่าสอดคล้องกับข้อนี้

 

ถ้าจะอ่านแค่นี้ แม้จะไม่ได้อยู่ด้วยกันก็ดูเหมือนจะมีโอกาส แต่เมื่อไม่ได้อยู่ด้วยกันและพิสูจน์ให้ต.ม.เห็นว่า “มีการช่วยเหลือกัน หรือมีความสัมพันธ์กันเป็นสามีภรรยาอย่างต่อเนื่อง” ก็เป็นเรื่องยาก ที่นึกออกได้อาจจะเป็นกรณีที่สามีภรรยาคนใดคนหนึ่งเข้าโรงพยาบาลเป็นระยะเวลานานเนื่องจากป่วยหรือได้รับการบาดเจ็บ

แต่เคยมีเคสในอดีต มีคนที่หย่ากับสามีคนญี่ปุ่นที่เกิดจากการเสียชีวิต แต่ก่อนหน้านี้ล่าสุดกลับไปอยู่ประเทศของตนเองประมาณ แม้มีระยะเวลาการจดทะเบียนสมรสมากกว่า 8ปีแต่ก็ไม่ได้รับการอนุมัติ ทั้งๆที่สามีเข้าโรงพยาบาลก็ไม่ได้ดูแลสามี แต่กลับประเทศของตนเอง ไม่ถือว่า “มีสถานภาพการสมรสหรือชีวิตครอบครัวตามปกติ”

และมีเคสที่ บางครั้งสามี(หรือภรรยา)ของคนญี่ปุ่น(หรือผู้อาศัยอยู่ถาวร)ถูกจำคุกเลยไม่ได้อยู่ด้วยกัน ถือว่าไม่ใช่ช่วงเวลาที่มี “สถานภาพการสมรสหรือชีวิตครอบครัวตามปกติ”

เมื่อก่อนผมเคยขอวีซ่าอาศัยอยู่ระยะยาวโดยการหย่าสำหรับคนที่มีระยะเวลาจดทะเบียนสมรส 4ปีครึ่งแต่ก่อนที่จะหย่าไม่ได้อยู่ด้วยกัน 1 ปี และก่อนหน้านั้นก็กลับไปอยู่ประเทศของตนเองรวมแล้วประมาณครึ่งปี โดยอ้างเหตุผลที่ไม่ได้อยู่ด้วยกันว่า “คู่สมรสคนญี่ปุ่นเป็นโรคซึมเศร้าก็เลยกลับบ้านของสามี ไม่สามารถอยู่ด้วยกันได้เพราะพ่อแม่ของคู่สมรสไม่เห็นด้วยที่จดทะเบียนสมรสกับสามี” แต่ก็ไม่ได้รับการอนุมัติ เนื่องจากไม่เข้าเงื่อนไขทั้ง “สภาพการสมรสหรือชีวิตครอบครัวตามปกติ” และ “สภาพการอาศัยอยู่แบบมั่นคง” (ระยะเวลาอยู่ด้วยกันในช่วงเวลาจดทะเบียนสมรส 3ปี)

ระยะเวลาการจดทะเบียนสมรส หมายถึง ระยะการจดทะเบียนสมรส “ที่ประเทศญี่ปุ่น”

แม้มีระยะเวลาการจดทะเบียนสมรสถึง 10 ปี หากอยู่ต่างประเทศมาแล้ว 8 ปี แล้วสามีภรรยาก็กลับมาประเทศญี่ปุ่นด้วยกัน และหลังจากนั้น 2 ปี ก็หย่ากัน ถือว่ามีระยะเวลาจดทะเบียนสมรสเพียง 2 ปี (หมายเหตุ : ไม่ได้พิจารณาจากตัวเลขเท่านั้น)

และหากมีระยะเวลาการจดทะเบียนสมรส 10 ปี โดยมีระยะเวลาการจดทะเบียนสมรสที่ญี่ปุ่น 5 ปี หาก 5 ปี แรกอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น ส่วนที่เหลืออีก 5 ปี อยู่นอกประเทศญี่ปุ่น (5 ปีหลัง ไม่ได้อยู่ประเทศญี่ปุ่น) น่าจะยากที่จะได้รับการอนุมัติ

การอาศัยอยู่ระยะยาวโดยการหย่า มีจุดประสงค์การอนุมัติโดยคำนึงถึงเรื่องมนุษยธรรม สำหรับคนที่ทิ้งฐานชีวิตที่ประเทศตนเองและมาสร้างฐานชีวิตที่ประเทศญี่ปุ่นมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้วและยากที่จะกลับไปมีฐานชีวิตที่ประเทศของตนเอง เพื่อจะอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่นโดยเป็นครอบครัวของคนญี่ปุ่นหรือผู้อาศัยอยู่ถาวรที่ประเทศญี่ปุ่น ดังนั้น ไม่จำเป็นจะต้องคำนึงถึงเรื่องมนุษยธรรม ในกรณีที่ “ไม่มีฐานชีวิตที่ประเทศญี่ปุ่น(ไม่มีความมั่นคงในการอาศัยอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น)” หรือ “มีฐานชีวิตที่ต่างประเทศ”

สรุปแล้วข้อ 1 คือ

ระยะเวลาที่สามีภรรยาอยู่ด้วยกันและช่วยเหลือกันมีมากกว่า 3 ปี ก็จะมีโอกาส แต่ระยะเวลา 3 ปี ยังมีความเสี่ยง ดังนั้น ระยะเวลายิ่งนาน ก็ยิ่งมีโอกาสที่จะได้รับการอนุมัติ

คิดว่าน่าจะเป็นแบบนั้น

ครั้งนี้ยาวแล้ว ไว้ต่อครั้งหน้าครับ

 

翻訳(แปลโดย):鈴木秀明(ฮิเดอากิ ซูซูกิ)

 

にほんブログ村 外国語ブログ タイ語へ
にほんブログ村

にほんブログ村 士業ブログ 行政書士へ
にほんブログ村

Author

福島(Fukushima) 竜太(Ryuta)
福島(Fukushima) 竜太(Ryuta)入管手続専門行政書士(Certified Administrative Procedures Legal Specialists/Immigration Consultant)
aroi行政書士事務所 代表行政書士(東京都行政書士会所属)
アジアランゲージセンター(株) 代表取締役
群馬県渋川市出身
大東文化大学国際関係学部(タイ語選択)卒業後、タイ・バンコクに2年間駐在
日本語教師・日本語学校事務(留学ビザ手続担当)を経て2009年10月行政書士登録

コメントを残す

メールアドレスが公開されることはありません。 が付いている欄は必須項目です

CAPTCHA


このサイトはスパムを低減するために Akismet を使っています。コメントデータの処理方法の詳細はこちらをご覧ください