อยากได้วีซ่า 3 ปี ทำอย่างไร (วีซ่าทำงาน) ※ เป็นบทความฉบับภาษาไทย วันที่ 20 สิงหาคม 2563

 

3年ビザが欲しい(就労ビザ編)のタイ語訳です

หัวข้อเป็นเรื่องวีซ่าทำงาน แต่วีซ่าทำงานนั้นมีหลายประเภท ดังนั้น จะขอพูดถึง “วิศวกร ผู้เชี่ยวชาญ ด้านมนุษยศาสตร์ กิจการระหว่างประเทศ” “วีซ่าแรงงานมีฝีมือ” “วีซ่าพนักงานโยกย้ายภายในบริษัท” “วีซ่าผู้บริหาร ผู้จัดการ” ที่เกิดขึ้นในสำนักงานของผมบ่อย ๆ  ((เงื่อนไข 3 ปี (เงื่อนไข 1 ปี และเงื่อนไข 5 ปี) ของวีซ่า 4 ประเภทนี้จะเหมือนกัน))

ดูแล้วข้อกำหนดการพิจารณาของ สำนักงาน ตม. หรือความรู้สึกจากการทำงานจริงมีความแตกต่างกับวีซ่า “ตามฐานะ” (วีซ่าที่ได้รับจากการแต่งงานกับคนญี่ปุ่น ผู้อยู่อาศัยถาวร หรือผู้อยู่อาศัยระยะยาวหรือความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ลูก) สำหรับวีซ่าทำงานให้ความสำคัญกับขนาดของบริษัทหรืออื่น ๆ อย่างชัดเจน ดังนั้นเงื่อนไขในการขยายเป็น 3 ปี หรือ 5 ปี จึงมีความชัดเจน แต่สำหรับคนที่ทำงานในบริษัทขนาดกลาง เงื่อนไข 1 ปี ขยายเป็น 3 ปี ยังไม่ชัดเจน ※ ไม่ได้พูดถึงกรณีที่ลดลงเหลือ 5 ปี

กรณีนี้จะพูดถึงเงื่อนไขการขยายระยะเวลาวีซ่าทำงาน 1 ปี เป็น 3 ปี

“กรณีทำงานในบริษัทขนาดใหญ่” ⇒ “กรณีที่บริษัทอยู่ใน Category 1 หรือ 2 ที่ สำนักงาน ตม.กำหนด” ⇒ “กรณีที่ 1

และ

“กรณีทำงานในบริษัทขนาดกลาง” ⇒ “กรณีที่บริษัทอยู่ใน Category 3 หรือ 4 ที่สำนักงาน ตม.กำหนด” ⇒ “กรณีที่ 2

แบ่งออกเป็น 2 กรณี  สำหรับ Category ของบริษัทกรุณาดู Link นี้

กรณีที่ 1

  1. ยื่นเอกสารตามกฎหมาย
  2. บุตรที่อยู่ในช่วงวัยที่ต้องได้รับการศึกษาตามกฎหมายจะต้องให้บุตรไปโรงเรียน
  3. ระยะเวลามีแผนทำงานมากกว่า 1 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี

 

บริษัทของ Category 1 หรือ 2 ต้องเป็นบริษัทขนาดใหญ่หรือได้รับความไว้วางใจจากสังคมสูง เหมือนกับบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์หรือส่วนราชการ ถ้าเข้าเงื่อนไขนี้และเป็นไปตามหลักของข้อ 1. และข้อ 2. และทำงานมากกว่า 1 ปี ตามข้อ 3. ก็จะเป็นไปได้ จึงพูดได้ว่าการได้รับวีซ่า 3 ปี เป็นเรื่องง่าย ตรงกันข้ามถ้าใช้แค่เงื่อนไขของกรณีที่ 1 เท่านั้น สำหรับคนที่ทำงานในบริษัทของ Category 3 หรือ 4 หากไม่ได้ย้ายมาทำงานในบริษัทที่อยู่ใน Category 1 หรือ 2 การขยายเป็น 3 ปี จะเป็นเรื่องยาก ถ้าเป็นผู้บริหาร (วีซ่าผู้บริหาร ผู้จัดการ) จำเป็นจะต้องให้ยกระดับของบริษัทด้วยตนเอง แต่ในความเป็นจริงแล้วมีคนที่ได้รับวีซ่า 3 ปี ที่ไม่ได้ทำงานในบริษัท Category 1 หรือ 2 ซึ่งเป็นกรณีที่ 2 ดังต่อไปนี้

กรณีที่ 2

ไม่เข้าเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่ง คือ  5 ปี หรือ 1 ปี หรือ 3 เดือน

 

กรณีที่ไม่เข้าเงื่อนไข 5 ปี หมายถึง คนที่มี 5 ปี ถูกลดลงเหลือ 3 ปี จะไม่เกี่ยวกับหัวข้อในคราวนี้ ส่วนที่เกี่ยวข้องคือ เงื่อนไข 1 ปี ที่ควรจะขยาย (ไม่พูดถึงเงื่อนไข 3 ปี ลดลงเหลือ 1 ปี)

เงื่อนไข 1 ปี

  1. บริษัทอยู่ใน Category 4
  2. พิจารณาจากตำแหน่ง ผลการทำงาน ผลการทำงานของที่สังกัดในด้านการทำงานแล้ว จำเป็นต้องตรวจสอบสถานะการอาศัยอยู่ปีละครั้ง
  3. ระยะเวลามีแผนทำงานน้อยกว่า 1 ปี สำหรับ Category ของบริษัทกรุณาดู Link นี้

 

ข้อ 1. และข้อ 3. ชัดเจน แต่ข้อ 2. ไม่ชัดเจน  เอาอะไร “จำเป็นต้องตรวจสอบปีละครั้ง”? ( ⇒ ทำอย่างไร “สำนักงาน ตม.จะไม่จำเป็นต้องตรวจสอบปีละครั้ง”? ) ก็ไม่มีข้อมูลที่เขียนไว้อย่างชัดเจน

จากประสบการณ์ของผมจะลองเขียนจุดสำคัญ เพื่อให้ถูกพิจารณาว่า “ไม่จำเป็นต้องตรวจสอบปีละครั้ง”

  1. ยื่นเอกสารต่าง ๆ ตามกฎหมาย
  2. ทำหน้าที่ชำระภาษีตามกฎหมาย
  3. ได้รับเงินเดือนตามสัญญา (“วิศวกร ผู้เชี่ยวชาญ ด้านมนุษยศาสตร์ กิจการระหว่างประเทศ” “วีซ่าเทคนิค” “วีซ่าพนักงานโยกย้ายภายในบริษัท”)
  4. ได้รับเงินปันผลของกรรมการที่กำหนดในรายงานการประชุมเรื่องเงินปันผลของกรรมการ (วีซ่าผู้บริหาร ผู้จัดการ)
  5. สถานการณ์การทำงานมีความมั่นคง (“วิศวกร ผู้เชี่ยวชาญ ด้านมนุษยศาสตร์ กิจการระหว่างประเทศ” “วีซ่าเทคนิค” “วีซ่าพนักงานโยกย้ายภายในบริษัท”)
  6. สถานการณ์การบริหารมีความมั่นคง (วีซ่าผู้บริหาร ผู้จัดการ)
  7. กรณีที่ประธานบริษัทเป็นคนต่างชาติถือวีซ่า “ผู้บริหาร ผู้จัดการ” จะมีวีซ่ามากกว่า 3 ปี (“วิศวกร ผู้เชี่ยวชาญ ด้านมนุษยศาสตร์ กิจการระหว่างประเทศ” “วีซ่าเทคนิค” “วีซ่าพนักงานโยกย้ายภายในบริษัท”)
  8. ไม่ได้ออกจากประเทศญี่ปุ่นระยะยาวเป็นระยะเวลานาน

 

สำหรับข้อ 1. ในกรณีที่ 2 ก็มีการตรวจสอบเรื่องการยื่นเอกสารต่าง ๆ ตามกฎหมายด้วย จากความรู้สึกของผมแล้วคิดว่า ไม่ได้ตรวจสอบทั้งหมดแต่ตามที่เคยเขียนเรื่องวีซ่าแต่งงาน มีตัวอย่างเกิดขึ้นจริง ถึงแม้เป็นคนที่มีรายได้มากกว่า 10 ล้านเยนต่อปี และชำระภาษีตามกฎหมายก็ตาม หากไม่ได้ยื่นเอกสารวีซ่าก็ยังเป็น 1 ปีเหมือนเดิม (บริษัทที่อยู่ใน Category 3) ดังนั้น หากรู้ตัวว่าไม่ได้ยื่นเอกสารก็ให้ยื่นเอกสารไว้แม้จะล่าช้าก็ตาม

สำหรับข้อ 2. มีการตรวจสอบจากใบรับรองชำระภาษีของภาษี….. ที่เป็นเอกสารต้องยื่น กรณีที่มีการไม่ชำระภาษีไม่มีทางที่จะขยายได้ถึง 3 ปี ในกรณีนี้แน่นอนถ้ามีวีซ่า 3 ปี จะถูกลดลงเป็น 1 ปี จะต้องกังวลว่าจะต่อวีซ่าได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์หรือความถี่ในการค้างชำระภาษี ถ้าเป็นบริษัทที่กรณีที่ 1 น่าจะมีการเคลียร์ภาษีปีละครั้ง จึงไม่มีการค้างชำระภาษี ถ้ามีการค้างชำระภาษีจะกลายเป็นกรณีเช่นเดียวกัน

สำหรับข้อ 3. และข้อ 4. มีการตรวจสอบจากใบรับรองการชำระภาษีของ Rescident tax แต่รายได้ที่ระบุไม่จำเป็นจะต้องตรงกับสัญญาจ้างหรือจำนวนเงินที่ระบุในรายงานการประชุม แต่เป็นกรณีที่เกิดขึ้นค่อนข้างน้อยจำเป็นจะต้องอธิบายว่า “ทำไมถึงค่อนข้างน้อย” กรณีเช่นนี้ แม้เป็นกรณีที่คนต่างชาติทำงานที่ไม่สอดคล้องกับวีซ่า ทำงานที่บริษัทอื่น หรือทำงานที่อื่นแต่สอดคล้องกับวีซ่าก็ตาม ก็อาจถูกสงสัยว่า มีโอกาสไม่ยื่นเงินเดือนส่วนที่ทำงานที่อื่น หรือผลตอบแทนของกรรมการ หรือยื่นเพื่อหลีกเลี่ยงภาษี หรือยื่นน้อยกว่าความเป็นจริง ถ้าเป็นกรณีเช่นนี้ ถ้าคนที่มีวีซ่า 3  ปี จะลดลงเหลือ 1 ปี บางกรณีอาจจะต้องกังวลว่า สามารถต่อวีซ่าได้หรือไม่

และกรณีที่จ่ายเงินเดือนมากกว่าปกติไม่ได้เป็นปัญหา (แน่นอนว่าน่าจะชำระภาษีมากกว่าอยู่แล้ว)

สำหรับข้อ 5. ถ้าพูดง่าย ๆ แล้ว เป็นกรณีที่ย้ายงานบ่อย ๆ หรือออกจากงานแล้วมีช่วงเวลาที่ไม่ได้ทำอะไรบ่อย ๆ กรณีที่ออกจากงานแล้วไม่ได้ทำอะไรไม่ถึง 3 เดือน ไม่ได้เป็นการอาศัยอยู่ที่ไม่เหมาะสม แต่คนประเภทนี้มีโอกาสยากที่จะได้รับ 3 ปี  ถ้าย้ายงานแล้วถูกพิจารณาว่า “จำเป็นจะต้องตรวจสอบสถานการณ์การอาศัยอยู่ปีละครั้ง” โดยทั่วไปคนที่มี 3 ปี จะลดลงเหลือ 1 ปี ตามหลักแล้วการย้ายงานจะถูกพิจารณาในทางลบ แต่กรณีที่บริษัทที่ย้ายไปเป็นบริษัทที่อยู่ใน Category 1 หรือ 2 ถือว่าเป็นการย้ายงานเพื่อยกระดับหรือเพิ่มประสบการณ์ในการทำงาน  มีโอกาสที่ 3 ปี จะขยายเป็น 5 ปี

วีซ่า “ผู้บริหาร ผู้จัดการ” ตามข้อ 6. นอกจากใบรับรอง (เอกสารรับรองชำระภาษีของภาษี Rescident tax และใบรับรองชำระภาษี) ที่แสดงสถานะรายได้และการชำระภาษีส่วนบุคคล ตอนยื่นต่อวีซ่าจะต้องยื่นงบการเงินของบริษัทที่บริหารอยู่ด้วย กรณีที่บริษัทอยู่ในประสบปัญหา เช่น “ยอดขายน้อย” “ขาดทุนอย่างต่อเนื่อง” “มีหนี้สินมาก” จะถูกกังวลเรื่องความมั่นคงของการบริหาร โอกาสที่จะขยายเป็น 3  ปี จะยากขึ้น โดยเฉพาะกรณีที่ยอดขายค่อยข้างน้อยมีโอกาสถูกสงสัยว่าทำธุรกิจอย่างจริงจังจริงหรือไม่ (ทำธุรกิจที่สอดคล้องกับวีซ่าในฐานะผู้บริหารหรือไม่) อยู่ในระดับที่กังวลว่าสามารถต่อวีซ่าได้หรือไม่

สำหรับข้อ 7. ประธานที่อยู่ในบริษัทที่มีฐานะจะไปรอดหรือไม่ มีวีซ่า 1 ปี มีโอกาสน้อยกว่าคนที่มีวีซ่าทำงานที่ทำงานในบริษัทนั้น ที่จะได้รับวีซ่า 3 ปี  แต่ถึงแม้ประธานจะมีวีซ่า 1 ปี ถ้าเป็นวีซ่าที่ขึ้นอยู่กับฐานะ เช่น วีซ่า “คู่สมรสของบุคคลสัญชาติญี่ปุ่น” ก็จะไม่มีผลใด ๆ

กรณีที่ออกนอกประเทศญี่ปุ่นระยะยาวตามข้อ 8. ขึ้นอยู่กับเหตุผล ยกเว้นประเภทงานที่มีการเดินทางไปทำงานต่างประเทศจากงานระหว่างประเทศ ส่วนใหญ่คิดว่าช่วงเวลาที่ไม่ได้อยู่ประเทศญี่ปุ่นเป็นช่วงเวลาที่ไม่ได้ทำงาน ถือเป็นช่วงเวลาที่ไม่ได้ทำงานที่สอดคล้องกับวีซ่า และในกรณีเช่นนั้นส่วนใหญ่จะหยุดงาน ทำให้รายได้น้อยลงและภาษีน้อยลงหรือไม่ต้องเสียภาษี และถูกกังวลเรื่องการถูกจ้างในบริษัทนั้นอย่างต่อเนื่อง กรณีเช่นนี้การที่จะขยายเป็น 3 ปี อาจจะเป็นเรื่องยากขึ้น สำหรับคนที่มีวีซ่า 3 ปี จะมีโอกาสลดลงเหลือ 1 ปี

ถึงแม้มีการไปทำงานต่างประเทศจากงานระหว่างประเทศ การที่ไม่ได้อยู่ที่ประเทศญี่ปุ่นส่วนใหญ่ในช่วงระยะเวลาของวีซ่าอย่างต่อเนื่อง จำเป็นต้องมีวีซ่านั้นหรือไม่ (จำเป็นต้องมีวีซ่าเพื่อจะทำงานที่ประเทศญี่ปุ่นจริงหรือไม่?) หรืออาจจะถูกสงสัยเกี่ยวกับความแท้จริงในการยื่นที่อยู่อาศัย ก็พูดไม่ได้ว่า ไม่ได้อยู่ในประเทศญี่ปุ่นระยะยาว เนื่องจากมีงานระหว่างประเทศจะไม่มีปัญหา บางครั้งทางสำนักงาน ตม. จะร้องขอให้อธิบายเหตุผลโดยยื่นเอกสารที่ระบุเหตุผล

ถึงตรงนี้ได้สรุปเงื่อนไขที่จะทำให้วีซ่าทำงาน (“วิศวกร ผู้เชี่ยวชาญ ด้านมนุษยศาสตร์ กิจการระหว่างประเทศ” “วีซ่าเทคนิค” “วีซ่าพนักงานโยกย้ายภายในบริษัท” “วีซ่าผู้บริหาร ผู้จัดการ”) จาก 1 ปี ขยายเป็น 3 ปี และจุดสำคัญเพื่อที่จะได้รับวีซ่า 3 ปี ง่ายขึ้น

วีซ่าที่กล่าวมานี้มีอายุ “3 เดือน” ด้วย ขึ้นอยู่กับเนื้อหาการทำงานและระยะเวลาในสัญญา ในเงื่อนไขกำหนดแค่ว่า “ระยะเวลามีแผนที่จะทำงานน้อยกว่า 3 เดือน”   

สำหรับวีซ่า “ผู้บริหาร ผู้จัดการ” มีอายุ “4 เดือน” ด้วย แต่เป็นกรณีที่ได้รับวีซ่าใหม่ ในครั้งนี้จะไม่พูดถึง

 

翻訳(แปลโดย):鈴木秀明(ฮิเดอากิ ซูซูกิ)

にほんブログ村 海外生活ブログ タイ情報へ    にほんブログ村 士業ブログ 行政書士へ
にほんブログ村   にほんブログ村

Author

福島(Fukushima) 竜太(Ryuta)
福島(Fukushima) 竜太(Ryuta)入管手続専門行政書士(Certified Administrative Procedures Legal Specialists/Immigration Consultant)
aroi行政書士事務所 代表行政書士(東京都行政書士会所属)
アジアランゲージセンター(株) 代表取締役
群馬県渋川市出身
大東文化大学国際関係学部(タイ語選択)卒業後、タイ・バンコクに2年間駐在
日本語教師・日本語学校事務(留学ビザ手続担当)を経て2009年10月行政書士登録

コメントを残す

メールアドレスが公開されることはありません。 が付いている欄は必須項目です

CAPTCHA


このサイトはスパムを低減するために Akismet を使っています。コメントデータの処理方法の詳細はこちらをご覧ください