เกณฑ์อายุที่อนุญาตสำหรับ “วีซ่าผู้อยู่อาศัยระยะยาว (ลูกที่ติดตามพ่อแม่)” จะมีการเปลี่ยนแปลง ※เป็นบทความฉบับภาษาไทย วันที่ 15 กรกฎาคม 2564

2021年7月15日の記事のタイ語版です
※เป็นบทความฉบับภาษาไทย วันที่ 15 กรกฎาคม 2564

ไม่ได้อัพเดทนานเลยครับ
ทุกครั้งที่ไม่ได้อัพเดทนาน รู้สึกว่าเป็นช่วงที่ขี้เกียจ เวลามันจะผ่านไปแป๊บเดียว

ช่วงนี้ต.ม.มีการประกาศเรื่องสำคัญ ๆ ออกมาครับ

http://www.moj.go.jp/isa/applications/procedures/index_zn3.html

ถ้าพูดง่ายๆ กฎหมายแพ่งของประเทศญี่ปุ่นมีการเปลี่ยน อายุของผู้บรรลุนิติภาวะ จากเดิอายุไม่เกิน 20 ปีเปลี่ยนเป็นอายุไม่เกิน 18 ปี  ทำให้เงื่อนไขการขอวีซ่าก็จะเปลี่ยนไปด้วย

1.กรณีที่คนต่างชาติจดทะเบียนสมรสกับคนญี่ปุ่น และถือวีซ่า “คู่สมรสของคนญี่ปุ่น”
2.กรณีที่คนต่างชาติจดทะเบียนสมรสกับคนต่างชาติที่ถือสิทธิ์อยู่อาศัยถาวร และถือวีซ่า “คู่สมรสของผู้อยู่อาศัยถาวร”
3.กรณีที่คนต่างชาติถือวีซ่า “ผู้อยู่อาศัยระยะยาว”
4.กรณีที่คนต่างชาติถือสิทธิ์อยู่อาศัยถาวร


ที่ผ่านมา กรณีที่บุตรของคนต่างชาติที่สอดคล้องกับเงื่อนไขข้างบนอายุต่ำกว่า 20 ปี และได้รับการเลี้ยงดูจากคนต่างชาตินั้น มีโอกาสที่จะเรียกมาอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่นได้ เป็นวีซ่า   “ผู้อยู่อาศัยระยะยาว”  แต่เมื่ออายุของผู้บรรลุนิติภาวะเปลี่ยนเป็นอายุไม่เกิน 18 ปี บุตรที่มีอายุครบ 18 ปี หลังวันที่ 1 เดือนเมษายนปี 2022 แม้จะเป็นบุตรที่อยู่ในเงื่อนไขข้อที่ 1~4 ก็ตาม ก็ไม่สามารถเข้ามาในประเทศญี่ปุ่นได้ (สำหรับคนที่ได้รับวีซ่าแล้ว สามารถเข้ามาได้ แต่ไม่สามารถยื่นขอวีซ่าใหม่ได้)

หมายความว่า “ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2022 เป็นต้นไป ไม่สามารถเข้ามาในประเทศญี่ปุ่นได้ เมื่อคำนึงถึงเวลาตั้งแต่การยื่นขอใบรับรองการพำนักจนถึงการเข้ามาในประเทศญี่ปุ่นจะใช้เวลา 2~3 เดือน สำหรับคนที่มีอายุใกล้จะครบ 18 ปี ในเดือนมีนาคมปี 2022 หากไม่ได้ยื่นขอใบรับรองการพำนักไว้ภายในปีนี้อาจจะไม่ทัน

ที่ผ่านมา บุตรที่มีอายุ 17 ปี หรือ 18 ปี จะยื่นขอวีซ่า “ผู้อยู่อาศัยระยะยาว” การพิจารณาค่อนข้างจะเข้มงวด ดังนั้น ความเป็นไปได้ที่จะเข้ามาในประเทศญี่ปุ่นได้นั้น อาจจะไม่ต่างกันมาก

แต่ที่ผ่านมา อายุ 19 ปีก็ยังยื่นขอได้ ถึงแม้การพิจารณาเข้มงวดก็ตาม ถ้าให้เข้าใจถึงเหตุผลต่างๆ ก็ยังมีโอกาสที่จะได้รับวีซ่าอยู่เล็กน้อย แต่ขอให้เข้าใจว่าตั้งแต่เดือนเมษายนปีหน้า จะไม่สามารถยื่นขอได้ (แต่ความเป็นจริงแล้ว หากอยู่ในช่วงที่อยู่ระหว่างการพิจารณาว่า จะเข้ามาในประเทศญี่ปุ่นไม่ทัน อาจจะปิดรับการยื่นขอ)

สำหรับคนที่กำลังคิดอยู่ว่าอยากจะเรียกบุตรที่โตแล้วเข้ามาในประเทศญี่ปุ่น ก็ให้รีบยื่นขอจะดีกว่า

สำหรับลิงค์เว็บไซต์ของต.ม.ที่ระบุอยู่ด้านบน เขียนเกี่ยวกับคนญี่ปุ่น Third generation แต่จะยังไม่พูดถึงในบทความนี้

翻訳(แปลโดย):鈴木秀明(ฮิเดอากิ ซูซูกิ)

Author

福島(Fukushima) 竜太(Ryuta)
福島(Fukushima) 竜太(Ryuta)入管手続専門行政書士(Certified Administrative Procedures Legal Specialists/Immigration Consultant)
aroi行政書士事務所 代表行政書士(東京都行政書士会所属)
アジアランゲージセンター(株) 代表取締役
群馬県渋川市出身
大東文化大学国際関係学部(タイ語選択)卒業後、タイ・バンコクに2年間駐在
日本語教師・日本語学校事務(留学ビザ手続担当)を経て2009年10月行政書士登録

コメントを残す

メールアドレスが公開されることはありません。 が付いている欄は必須項目です

CAPTCHA


このサイトはスパムを低減するために Akismet を使っています。コメントデータの処理方法の詳細はこちらをご覧ください