หย่ากันแล้ววีซ่าจะเป็นอย่างไร 3 (กรณีที่เป็นคู่สมรสคนญี่ปุ่นหรือคู่สมรสของผู้อยู่อาศัยถาวร) ※เป็นบทความฉบับภาษาไทย วันที่ 24 พฤศจิกายน 2563
※2020年11月24日の記事のタイ語版です
ในครั้งที่แล้ว ได้เขียนเรื่องกรณีหย่ากับคนที่ถือ “วีซ่าคู่สมรสคนญี่ปุ่น” หรือ “วีซ่าคู่สมรสผู้อยู่อาศัยถาวร” และยังไม่มีลูกด้วยกัน “ถึงอย่างไร(ทำอย่างไร)จึงจะสามารถเปลี่ยนเป็นวีซ่าผู้อยู่อาศัยระยะยาวได้” ตามเงื่อนไขการพิจารณาของต.ม. หรือตามประสบการณ์ของผมแล้ว มีดังนี้
- “มีสถานถาพการสมรสหรือมีชีวิตครอบครัวตามปกติ” ในประเทศญี่ปุ่นมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง
- มีทรัพย์สินหรือทักษะที่สามารถใช้ชีวิตต่อได้
- ทำหน้าที่ตามกฎหมายหรือคาดว่าจะทำหน้าที่ตามกฎหมายต่อไป
- สภาพการอยู่อาศัยที่ผ่านมาอยู่ในสภาพที่ดี
สำหรับข้อที่ 1 เคยเขียนไว้แล้วในบทความฉบับวันที่ 30 ตุลาคม และข้อที่ 2 ฉบับวันที่ 6 พฤศจิกายน ในครั้งนี้มาดูข้อที่ 3 กันครับ
เกี่ยวกับข้อที่ 3
- ทำหน้าที่ตามกฎหมายหรือคาดว่าจะทำหน้าที่ตามกฎหมายต่อไป
ที่ผ่านมาบางครั้งก็เคยพูดถึงแล้วในบางเรื่อง เช่น “เงื่อนไขที่สามารถขยายระยะเวลาวีซ่าเป็น 3 ปี” ในครั้งนี้ก็เป็นเรื่องที่มีความจำเป็นอย่างมาก
สำหรับคนที่เป็นพ่อบ้าน หรือแม่บ้านที่ไม่ได้ทำงาน ส่วนใหญ่จะไม่มีรายได้ ในกรณีนี้จะไม่มีหน้าที่เสียภาษี ซึ่งการเสียภาษี “ยังไม่ถือเป็นหน้าที่” ประเด็นนี้จึงไม่ได้เป็นปัญหา
แต่เมื่อปรากฏว่าไม่มีใบรับรองจากทางราชการตามเงื่อนไขข้อที่ 2 จึงจำเป็นจะต้องอธิบายว่าจะสามารถอาศัยอยู่ได้แน่นอน และจะต้องยื่นเอกสารประกอบด้วย ซึ่งได้เขียนไว้แล้วในบทความครั้งที่ผ่านมา
แน่นอนว่า กรณีที่มีรายได้ถึงเกณฑ์จะต้องเสียภาษีก่อนหย่าก็จะต้องชำระภาษีล่วงหน้าไว้ก่อน
ในกรณีที่มีหน้าที่เสียภาษีแต่ไม่ได้ชำระภาษีหรือมีภาษีค้างชำระ ถือว่า “ไม่ได้ทำหน้าที่ตามกฎหมาย” หากบางช่วงเวลาที่มีรายได้และไม่ได้ชำระภาษีหรือมีภาษีค้างชำระจะถูกพิจารณาว่าเป็น “ผู้ที่ไม่อาจทำหน้าที่ตามกฎหมาย” มีโอกาสที่จะเป็นสาเหตุที่ไม่สามารถได้รับการอนุมัติได้
และ “การยื่นขอเกี่ยวกับคู่สมรส” ในกรณีที่หย่าหรือหย่าจากการเสียชีวิตก็เป็นหน้าที่ ดังนั้น ควรจะทำไว้เหมือนกัน (ในกรณีที่ไม่ทันภายใน 14 วันหลังจากหย่าหรือหย่าจากการเสียชีวิตก็ควรจะทำไว้)
ตั้งแต่ข้อที่ 4 จะเขียนในครั้งหน้านะครับ
翻訳(แปลโดย):鈴木秀明(ฮิเดอากิ ซูซูกิ)
Author
-
aroi行政書士事務所 代表行政書士(東京都行政書士会所属)
アジアランゲージセンター(株) 代表取締役
群馬県渋川市出身
大東文化大学国際関係学部(タイ語選択)卒業後、タイ・バンコクに2年間駐在
日本語教師・日本語学校事務(留学ビザ手続担当)を経て2009年10月行政書士登録
最新の投稿
- 2023-08-29Blogภาษาไทยชะตาที่ดีใจ
- 2023-08-27業務日報的めも嬉しい縁
- 2023-08-22業務日報的めもタイ大使館内労働担当官事務所の契約書認証が、予想に反して早く終わった話
- 2023-08-14業務日報的めも国際行政書士実務マスター講座(2023年第四講義:日本人の配偶者等)登壇