อยากได้วีซ่า 3 ปี มีขั้นตอนอย่างไร (วีซ่าแต่งงาน) ※ เป็นบทความฉบับภาษาไทย วันที่ 7 สิงหาคม 2563
※3年ビザが欲しい(結婚ビザ編)のタイ語訳です
คำถามที่พบบ่อยที่มาจากลูกค้าอีกเรื่องหนึ่งคือ “ฉันได้รับวีซ่า 1 ปี … ครั้งแล้ว ถ้าต่อครั้งถัดไปจะได้วีซ่า 3 ปี หรือเปล่า”
ที่จริงแล้วคำถามนี้ อาจจะตอบได้เพียงแค่ว่า “อืมมม อาจจะได้ 3 ปี” หรือ “อาจจะยากหน่อยนะ”
ถ้าเป็นวีซ่า 1 ปี จำเป็นจะต้องไปสำนักงาน ตม. เพื่อยื่นต่อวีซ่าทุก ๆ ปี หลังจากที่ยื่นแล้วก็อาจจะต้องรอหลายสัปดาห์จนกว่าจะได้รับผลการอนุมัติ และจะต้องไปสำนักงาน ตม. อีกครั้งเพื่อไปรับไซริวการ์ด แต่ถ้าเป็นวีซ่า 3 ปี จะทำเพียง 1 ครั้ง ต่อ 3 ปี ถ้าไม่มีวีซ่า 3 ปี แม้จะอาศัยอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่นมานานหลาย 10 ปีก็ตาม ก็ไม่สามารถได้สิทธิอยู่อาศัยถาวร เข้าใจความรู้สึกเป็นอย่างดีว่า อยากได้วีซ่า 3 ปี ให้เร็วที่สุด
ส่วนใหญ่แล้วในตอนแรกจะได้วีซ่าแค่ 1 ปี เช่น “วีซ่าคู่สมรสของบุคคลสัญชาติญี่ปุ่น (วีซ่าแต่งงาน)” “วีซ่าผู้อยู่อาศัยระยะยาว” “วีซ่าวิศวกร ผู้เชี่ยวชาญ ด้านมนุษยศาสตร์ กิจการระหว่างประเทศ (วีซ่าทำงาน)” “วีซ่าแรงงานฝีมือ (วีซ่าทำงาน)”
และโดยเฉลี่ยการต่อวีซ่ามาแล้ว 2 ถึง 3 ครั้ง จะได้เป็นวีซ่า 3 ปี และมีโอกาสที่จะได้มากที่สุด 5 ปี คิดว่าเป็นความรู้สึกทั่วไป
แต่ “การต่อวีซ่า 2 ถึง 3 ครั้งมาแล้ว” เป็นจำนวนครั้งโดยเฉลี่ย (เป็นความรู้สึกด้วย) ไม่ได้หมายความว่า หากต่อวีซ่าครั้งนี้แล้วทุกคนจะได้ 3 ปี
ทำอย่างไรถึงจะได้ วีซ่า 3 ปี ทำอย่างไรถึงจะได้วีซ่า 5 ปี ขึ้นอยู่กับประเภทวีซ่าที่ถืออยู่ด้วย และมีมาตรฐานที่ไม่ชัดเจน นอกจากนี้ไม่มีใครพูดได้ชัดเจนว่า “พอ…แล้ว จะได้วีซ่า 3 ปี” แต่ก็มีการประกาศเงื่อนไขออกมาเหมือนกัน (สำนักงาน ตม. จะระบุไว้ในเอกสารที่กำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการดำเนินการในการพิจารณา ที่เรียกว่า “ขั้นตอนการพิจารณา”)
แต่สำหรับในครั้งนี้จะแนะนำบางส่วนของเงื่อนไขนั้นที่เกี่ยวข้องกับ “วีซ่าคู่สมรสของบุคคลสัญชาติญี่ปุ่น (วีซ่าแต่งงาน)” “วีซ่าผู้อยู่อาศัยระยะยาว” “วีซ่าวิศวกร ผู้เชี่ยวชาญ ด้านมนุษยศาสตร์ กิจการระหว่างประเทศ (วีซ่าทำงาน)” “วีซ่าแรงงานฝีมือ (วีซ่าทำงาน)” ที่สำนักงานของผมดำเนินการอยู่เป็นประจำ และจะลองเขียนจุดสำคัญ แต่สำหรับเนื้อหาที่ไม่ชัดเจนจะเขียนจากประสบการณ์ที่ผ่านมา
☆☆☆☆☆☆☆
อันดับแรกเป็น “วีซ่าคู่สมรสของบุคคลสัญชาติญี่ปุ่น” วีซ่าประเภทนี้เกี่ยวข้องกับคนที่แต่งงานกับคนญี่ปุ่น และมีบุตรที่เกิดจากคนญี่ปุ่น แต่ในที่นี้จะพูดถึงเฉพาะกรณีที่แต่งงานกับคนญี่ปุ่น เงื่อนไขนี้เหมือนเช่นเดียวกับกรณีที่แต่งงานกับบุคคลผู้อาศัยอยู่ถาวร “คู่สมรสของบุคคลผู้อาศัยอยู่ถาวร”
ความจริงแล้ววีซ่าประเภทนี้มีอายุ “6 เดือน” ด้วย แต่วีซ่า 6 เดือนนี้ จะมีเฉพาะกรณี “อยู่ระหว่างดำเนินการเรื่องหย่า” “ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแสดงความต้องการหย่าอย่างชัดเจน” หรือ “มีกำหนดการที่จะอยู่ประเทศญี่ปุ่นต่ำกว่า 6 เดือน” เท่านั้น และโดยปกติจะเป็นวีซ่า 1 ปี, 3 ปี และ 5 ปี อันใดอันหนึ่ง
พอได้รับวีซ่า “คู่สมรสของบุคคลสัญชาติคนญี่ปุ่น” ส่วนใหญ่ในครั้งแรกจะได้วีซ่า 1 ปี แต่มีเงื่อนไขด้วย ยกเว้นกรณีที่ได้วีซ่า 6 เดือน จะ “ไม่สอดคล้องกับเงื่อนไข 1 ปี” คือ จะไม่เข้าเงื่อนไขวีซ่า 1 ปี แล้วขยายเป็น 3 ปี กรณี “คนที่มีวีซ่า 5 ปี แต่มีคุณสมบัติไม่ครบตามเงื่อนไข” วีซ่า 5 ปี จะลดลงเหลือ 3 ปี ที่นี่จะลองดูเงื่อนไข “วีซ่า 1 ปี” ที่มีคุณสมบัติครบตามเงื่อนไข เพื่อให้วีซ่า 1 ปี ขยายเป็น 3 ปี
1、ดูจากสภาพต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับครอบครัวหรือระยะเวลาการแต่งงาน และสิ่งที่มีความจำเป็นที่จะต้องมีการตรวจสอบปีละ 1 ครั้ง คือ เรื่องการใช้ชีวิตอย่างต่อเนื่องของคู่สมรสเกี่ยวกับการจดทะเบียนสมรส และฐานะของคู่สมรส
2、ระยะเวลาการอยู่อาศัยมากกว่า 6 เดือน แต่ไม่ถึง 1 ปี
ข้อ 2 ค่อนข้างจะชัดเจน และการต่ออายุวีซ่าครั้งที่ 2 เป็นต้นไปทุกกรณีน่าจะเข้าเงื่อนไขข้อ 2 อยู่แล้ว ดังนั้น การต่ออายุครั้งที่ 2 แต่ยังได้วีซ่า 1 ปี แสดงว่าไม่เข้าเงื่อนไขข้อ 1
ซึ่งข้อ 1 ค่อนข้างไม่ชัดเจน อะไรเป็นตัวกำหนดว่า “มีความจำเป็นต้องตรวจสอบปีละครั้ง” แต่ถึงอย่างไร “ก็ไม่มีความจำเป็นที่สำนักงาน ตม. จะตรวจสอบปีละครั้ง”
ต้องขออภัยที่ไม่มีข้อมูลชัดเจน ดังนั้น จะลองเขียนจุดสำคัญที่อาจจะได้รับการพิจารณาง่ายขึ้น “ไม่มีความจำเป็นต้องตรวจสอบปีละครั้ง” จากประสบการณ์ของผม
A คนที่มีวีซ่าคู่สมรสของบุคคลสัญชาติญี่ปุ่นและอาศัยอยู่ด้วยกัน
B มีรายได้ที่มั่นคง และเพียงพอในการดำรงชีวิต
C ไม่ได้ออกจากประเทศญี่ปุ่นเป็นระยะเวลานานแล้ว
D ชำระภาษีถูกต้องตามกฎหมาย
E ยื่นเรื่องเปลี่ยนแปลงข้อมูลต่าง ๆ ตามกฎหมาย
F ให้การศึกษาแก่บุตร กรณีที่มีบุตร
สำหรับข้อ A กรณีที่ไม่ได้อาศัยอยู่ด้วยกันอาจถูกสงสัยว่า ไม่มีการใช้ชีวิตคู่อยู่ด้วยกันจริง และกรณีที่ได้รับวีซ่าแล้วแยกกันอยู่ทันที ก็อาจถูกสงสัยว่า แต่งงานกันจริงหรือไม่ และอาจจะมีโอกาสที่ไม่ได้รับการอนุมัติให้ต่อวีซ่า ดังนั้น คงไม่ต้องพูดถึงเรื่องการขยายเป็น 3 ปี
กรณีที่มีบุตรและคู่สมรสของบุคคลสัญชาติญี่ปุ่นมีจำเป็นจะต้องย้ายไปอยู่คนเดียวเพื่อการศึกษาของบุตรก็จะมีการพิจารณาให้ แต่อย่างไรก็ตามจำเป็นจะต้องเตรียมข้อมูลและอธิบายอย่างชัดเจน
การอาศัยอยู่ด้วยกันหรือไม่ตามปกติน่าจะตรวจสอบจากทะเบียนบ้าน แต่มีบางกรณีที่พบว่าไม่ได้อาศัยอยู่ด้วยกัน มาจากการแจ้งข้อมูลต่อสำนักงาน ตม. หรือมีหน่วยงานตรวจสอบไปตรวจดูที่บ้าน
สำหรับข้อ B ปกติจะตรวจสอบจากใบรับรองภาษี ของภาษี Rescident tax แม้คู่สมรสคนญี่ปุ่นจะทำงานหรือ คนต่างชาติทำงาน หรือทำงานด้วยกันทั้งคู่ก็สามารถคำนวณภาษีรวมกันได้ การมีรายได้เท่าไหร่ถึงจะเพียงพอต่อการดำรงชีวิต หรือมีรายได้ต่อปีเท่าไหร่ที่จะแสดงได้ว่ามีฐานะมั่นคง เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก สำนักงาน ตม. เองก็ไม่มีเงื่อนไขที่ชัดเจน สิ่งที่ยกตัวอย่างเป็นประจำที่เป็นเงื่อนไขของรายได้ต่อปี เพื่อขอวีซ่า “คู่สมรสของบุคคลสัญชาติญี่ปุ่น” เป็นครั้งแรก คือ จำนวนเงินที่จ่ายเน็นกิง 1 ปี คนละประมาณ 780,000 เยน ถ้าสามีภรรยาอาศัยอยู่ด้วยกันทั้งสองคนรวมกันประมาณ 1,560,000 เยน จำนวนเงินประมาณนี้น่าจะเป็นขั้นต่ำรายได้ต่อปีในการยื่นขอวีซ่าใหม่เป็นครั้งแรก พูดได้ว่าถ้าดูจากประเทศญี่ปุ่น หากมีจำนวนมากกว่าที่กล่าวมานี้แล้ว ไม่น่าจะบอกได้ว่า ไม่เพียงพอในการดำรงชีวิต แต่กรณีนี้สำหรับการยื่นขอวีซ่าใหม่เป็นครั้งแรก ถ้าจะให้วีซ่า 1 ปี ขยายเป็น 3 ปี มีความรู้สึกว่า จำนวนเงินประมาณนี้อาจจะได้หรือไม่ได้ก็ได้ (หากพิจารณาจากเงื่อนไขอื่นประกอบแล้ว หรือสภาพภาพโดยรวมดี ก็มีโอกาสขยายเป็น 3 ปีได้)
จากประสบการณ์หรือความรู้สึกของผมแล้ว ถ้าเป็นรายได้ต่อปีของครอบครัวจะอยู่ประมาณ 1,800,000 เยน และเป็นไปได้หากมีรายได้ต่อปีมากกว่า 2,000,000 เยน ติดต่อกัน 2 หรือ 3 ปี คิดว่าน่าจะมีโอกาส (การย้ายงานทำให้รายได้ลดลง ถือเป็นปัจจัยทางลบในการพิจารณา)
และถ้าเพิ่งเข้าประเทศมาไม่นานและเป็นผู้ที่ได้รับความช่วยเหลือในค่าครองชีพ อาจจะไม่ได้รับการอนุมัติในการต่อวีซ่า และโดยหลักแล้ว ถ้าอยู่ในสภาพที่ได้รับความช่วยเหลือค่าครองชีพจะไม่มีโอกาสที่จะขยายเป็น 3 ปีได้เลย
สำหรับข้อ C ไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนว่า ออกจากประเทศญี่ปุ่นเป็นระยะเวลานานแค่ไหนถึงจะเสียเปรียบในการพิจารณาขณะที่ยื่นขอต่อวีซ่า เพราะถือว่าเป็น “การออกนอกประเทศเป็นระยะเวลานาน” แต่กรณีที่กลับเข้าประเทศชั่วคราวคนเดียว และในระยะเวลานั้นไม่ได้อาศัยอยู่ด้วยกัน ถือว่าขาดเงื่อนไขข้อ A เพราะถือว่า “ถ้าไม่ได้อาศัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่น ก็ไม่มีความจำเป็นจะต้องมีวีซ่า” ก่อนจะพูดถึงกรณีขยายเป็น 3 ปีหรือไม่ ควรจะอธิบายเหตุผลในการออกนอกประเทศในระยะยาวโดยแนบเอกสารระบุถึงเหตุผลขณะที่ยื่นขอต่อวีซ่าด้วย เพื่อจะรักษาวีซ่าไว้
ในความรู้สึกของผม ควรจะระวังช่วงเวลาที่เกินกว่า 3 เดือนขึ้นไป แนะนำให้แนบเอกสารระบุเหตุผล
เรื่องนี้เช่นเดียวกับกรณีที่คนญี่ปุ่นออกจากประเทศระยะยาวและคู่สมรสคนต่างชาติอาศัยอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น สำนักงาน ตม. จะมีข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับการเข้าออกประเทศของคนญี่ปุ่นด้วย ดังนั้น ถ้าเป็นกรณีดังที่กล่าวมานี้มีโอกาสยากที่จะขยายเป็น 3 ปี (เคยมีกรณีที่มีวีซ่า 3 ปี ลดลงเหลือ 1 ปี)
และกรณีที่คู่สมรสทั้งสองคนออกนอกประเทศระยะยาวด้วยกัน ก็ขยายเป็น 3 ปี ยากขึ้นเหมือนกัน น่าจะเป็นเพราะไม่สามารถตรวจสอบสภาพการอาศัยอยู่ด้วยกันของคู่สมรสหรือสภาพการดำรงชีวิตได้ กรณีเช่นนี้ก็คือ “ไม่มีความจำเป็นจะต้องมีวีซ่า”
ต่อไปข้อ D ถึง F ถ้าไม่เข้าเงื่อนไข 5 ปี ก็จะลดลงเหลือ 3 ปี
ผมคิดว่า “คนที่มีวีซ่า 5 ปี อยู่แล้ว แต่ไม่เข้าเงื่อนไข ก็ยังได้ 3 ปีอยู่ แต่ถึงจะไม่เข้าเงื่อนไขนี้ น่าจะให้ 1 ปี ขยายเป็น 3 ปี ดีกว่าไหม” แต่คิดว่าคะแนนที่ “ไม่เข้าเงื่อนไขแล้วทำให้ระยะเวลาสั้นลง” ควรจะเข้าเงื่อนไขอันใดอันหนึ่งเป็นอย่างน้อยเพื่อจะให้ขยายเป็น 3 ปี (step up)
สำหรับข้อ D แม้ “ไม่เสียภาษี ไม่จำเป็นต้องเสียภาษี” อาจจะขยายเป็น 3 ปีได้ ขึ้นอยู่กับโครงสร้างของครอบครัว แต่ถ้าค้างชำระภาษี จะขยายไม่ได้
สำหรับข้อ E เป็นการยื่นภายใน 14 วัน กรณีที่หย่าหรือแต่งงานใหม่ (ถ้าเป็นวีซ่าทำงาน จะต้องยื่นตอนที่ลาออกหรือกลับเข้าบริษัทใหม่) ยกตัวอย่างของวีซ่าทำงาน มีคนที่ต่อวีซ่า 1 ปี มาโดยตลอด เนื่องจากไม่ได้แจ้งเปลี่ยนแปลงย้ายที่ทำงานก่อนหน้านี้ ทั้ง ๆ ที่มีรายได้ต่อปีเกิน 10 ล้านเยน และเสียภาษีอย่างถูกต้อง ดังนั้น แม้จะแจ้งเกินเวลาที่กำหนด ก็ขอให้แจ้งทุกครั้ง (หากแจ้งแล้ว การต่อวีซ่าครั้งต่อไปจะได้เป็น 3 ปี)
มีหลายคนที่ยังไม่เข้าใจว่า อันที่จริงแล้ว กรณีที่ละเลยในการแจ้ง ไม่ใช่แค่ไม่สามารถขยายเป็น 3 ปี เท่านั้น แต่ยังมีโทษปรับ (ไม่เกิน 200,000 เยน) ด้วย จึงควรต้องระมัดระวัง
บุตรที่อยู่ในวัยเรียนของข้อ F คือ บุตรที่อยู่ในช่วงวัยที่ต้องได้รับการศึกษาตามกฎหมาย จะต้องให้บุตรไปโรงเรียน ดังนั้น ตอนยื่นขอต่อวีซ่าจะต้องยื่นใบรับรองการเรียนจากโรงเรียนด้วย
สุดท้ายแล้ว จะขอแนะนำเงื่อนไขเพื่อที่จะให้วีซ่า 3 ปีขยายเป็น 5 ปี
สำหรับข้อ 1 ถึง ข้อ 4 คนที่มีวีซ่า 5 ปี แล้ว แต่ขาดเงื่อนไขแค่ข้อเดียวจะลดลงเป็น 3 ปี หน้าที่ทางราชการของข้อ 2 นอกจากจะต้องชำระภาษีแล้วจะต้องมีการเข้าระบบประกันสุขภาพ และชำระเน็นกิง ส่วนข้อ 5 ไม่ชัดเจน คิดว่าก่อนอื่นควรให้เข้าเงื่อนไขข้อ 1 ถึงข้อ 4 และให้รักษาไว้เป็นสิ่งที่สำคัญ
ข้อ 1 ทำหน้าที่การแจ้งต่าง ๆ
ข้อ 2 ทำหน้าที่ทางราชการต่าง ๆ
ข้อ 3 ให้การศึกษาแก่บุตร
ข้อ 4 ทำหน้าที่ชำระภาษี
ข้อ 5 ดูจากสภาพต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับครอบครัวหรือระยะเวลาการแต่งงาน เป็นสิ่งที่แสดงการต่อเนื่องของการดำรงชีวิต และฐานะคู่สมรส (หลังจากแต่งงานแล้วต้องมีช่วงเวลาอยู่ด้วยกันมากกว่า 3 ปี)
คราวหน้าจะดูวีซ่า “ผู้อยู่อาศัยระยะยาว”
翻訳(แปลโดย):鈴木秀明(ฮิเดอากิ ซูซูกิ)
Author
-
aroi行政書士事務所 代表行政書士(東京都行政書士会所属)
アジアランゲージセンター(株) 代表取締役
群馬県渋川市出身
大東文化大学国際関係学部(タイ語選択)卒業後、タイ・バンコクに2年間駐在
日本語教師・日本語学校事務(留学ビザ手続担当)を経て2009年10月行政書士登録
最新の投稿
- 2023-08-29Blogภาษาไทยชะตาที่ดีใจ
- 2023-08-27業務日報的めも嬉しい縁
- 2023-08-22業務日報的めもタイ大使館内労働担当官事務所の契約書認証が、予想に反して早く終わった話
- 2023-08-14業務日報的めも国際行政書士実務マスター講座(2023年第四講義:日本人の配偶者等)登壇