ข้อเปรียบเทียบเกี่ยวกับคนต่างด้าวระหว่างประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทย (1) สิ่งที่รับรองการพำนักอยู่อาศัยและการทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ※เป็นบทความฉบับภาษาไทย ณ วันที่ 23 พฤษภาคม 2563(※5月23日の記事のタイ語版)
ระบบวีซ่าของประเทศไทยมีความแตกต่างจากของประเทศญี่ปุ่นค่อนข้างมาก โดยประเทศไทยไม่ได้แยกระหว่างวีซ่าที่ออกโดยสถานทูต (กระทรวงการต่างประเทศ) และวีซ่าที่ออกโดยสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (กระทรวงยุติธรรม) เหมือนกับของประเทศญี่ปุ่น
การเดินทางเข้าในประเทศไทยนั้น ด้วยวีซ่าที่ออกโดยสถานทูตไทยในประเทศนั้น ๆ เป็นผู้ออกให้และสามารถอยู่ในประเทศไทยได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดในวีซ่านั้น และถ้าจะทำงานจำเป็นจะต้องมีใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) แยกต่างหาก สำหรับประเภทวีซ่าที่ได้รับจากสถานทูตไทยเพื่อทำงานเรียกว่า (Non-Immigration B Visa) ดังนั้น อาจจะเรียกได้ว่า Non-Immigration B Visa เป็นวีซ่าทำงาน
อย่างไรก็ตาม ที่ประเทศไทยหากถือวีซ่าประเภทนี้ก็ยังไม่สามารถทำงานได้ จำเป็นจะต้องได้รับใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) หลังจากเข้าประเทศไทยด้วย ดังนั้น ผมจึงไม่ใช้คำว่า (วีซ่าทำงาน) เพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิด
ตามที่พูดมาข้างต้น ที่ประเทศไทยวีซ่าที่ได้รับจากสถานทูตจะเป็นสิ่งที่รับรองการพำนักอยู่อาศัยอย่างถูกต้องตามกฎหมายในประเทศไทย ดังนั้น ถ้าไม่ถือหนังสือเดินทาง (Passport) ก็ไม่สามารถรับรองการพำนักอยู่อาศัยในประเทศไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมายไทยได้ ในทางตรงกันข้ามกรณีของประเทศญี่ปุ่น (บัตรคนต่างด้าว) ที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองออกให้กับ คนต่างด้าวที่อาศัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่นในระยะยาว เป็นสิ่งที่รับรองการพำนักอยู่อาศัยอย่างถูกต้องตามกฎหมายและจำเป็นจะต้องพกบัตรคนต่างด้าวติดตัวตลอดเวลา และหากมีบัตรคนต่างด้าวแล้วไม่จำเป็นจะต้องพกหนังสือเดินทาง (Passport) (ตามพระราชบัญญัติควบคุมการเข้าเมือง มาตรา 23)
※ สำหรับผู้ที่อาศัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่นระยะสั้นไม่เกิน 90 วัน จะไม่ออกบัตรคนต่างด้าวให้ ดังนั้น สิ่งที่แสดงการรับรอง การพำนักอยู่อาศัยอย่างถูกต้องตามกฎหมายด้วยสติกเกอร์ที่ติดกับหนังสือเดินทาง (Passport)→ จึงจำเป็นจะต้องพกหนังสือเดินทาง (Passport) ติดตัวตลอดเวลา
การพิสูจน์ว่าจะทำงานได้หรือไม่ ในประเทศไทยไม่สามารถพิสูจน์ได้ด้วยวีซ่าเพียงอย่างเดียว จะต้องมีใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) แยกต่างหาก ตรงกันข้ามกับประเทศญี่ปุ่น ประเภทวีซ่าจะกำหนดว่า สามารถทำงานได้หรือไม่ หรือสามารถทำงานประเภทไหนได้บ้าง โดยหลักสามารถตรวจสอบได้จากบัตรคนต่างด้าวว่าสามารถทำงานได้หรือไม่
โดยหลักแล้วในประเทศไทย หากไม่พกหนังสือเดินทาง (Passport) และใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) ก็จะมีความเสี่ยงหากมีเจ้าหน้าที่ตำรวจมาสอบถาม แต่ในความเป็นจริงแล้วคนต่างด้าวที่ทำงานอยู่ในประเทศไทยจะพกแต่เพียงสำเนาหนังสือเดินทาง (Passport) ก็ไม่มีปัญหาอะไร ได้รับการยกเว้นให้ อาจจะเป็นเพราะมีความเสี่ยงในการทำหายหรือถูกลักขโมย
ในทางกลับกันดังกล่าวข้างต้น ประเทศญี่ปุ่นจำเป็นจะต้องพกบัตรคนต่างด้าวติดตัวตลอดเวลา (โดยหลักประเทศญี่ปุ่นไม่มี คนต่างด้าวที่สามารถทำงานได้โดยไม่มีบัตรคนต่างด้าว)
ในประเทศญี่ปุ่นเวลาเจ้าหน้าที่มาสอบถาม ถ้าไม่สามารถแสดงบัตรคนต่างด้าวได้ เจ้าหน้าที่อาจจะพาไปที่สถานีตำรวจจนกว่าจะตรวจสอบได้ว่ามีวีซ่าอย่างถูกต้องหรือไม่ถึงจะให้กลับบ้านได้ ดังนั้น จึงจำเป็นจะต้องระมัดระวังไว้ (เคยมีลูกค้าของผมคนหนึ่ง ไม่สามารถออกจากสถานีตำรวจได้เกินกว่า 6 ชั่วโมง จนกว่าเจ้าหน้าที่จะตรวจสอบได้)
ในความเป็นจริงแล้ว ส่วนใหญ่หากมีเจ้าหน้าที่มาสอบถามขณะไม่ได้พกบัตรคนต่างด้าว มีการจัดการเพียงไม่สามารถกลับบ้านได้จนกว่าจะตรวจสอบได้เท่านั้น แต่ตามกฎหมายกรณีที่ไม่พกบัตรคนต่างด้าว มีการกำหนดโทษปรับไม่เกิน 2 แสนเยน (ตามพระราชบัญญัติควบคุมการเข้าเมือง มาตรา 75 ข้อ 3) และกรณีไม่แสดงบัตรคนต่างด้าว มีการกำหนดโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 แสนเยน (ตามพระราชบัญญัติควบคุมการเข้าเมือง มาตรา 75 ข้อ 2) ซึ่งเป็นโทษค่อนข้างหนักจึงจำเป็นจะต้องระมัดระวัง
翻訳(แปลโดย):鈴木秀明(ฮิเดอากิ ซูซูกิ)
Author
-
aroi行政書士事務所 代表行政書士(東京都行政書士会所属)
アジアランゲージセンター(株) 代表取締役
群馬県渋川市出身
大東文化大学国際関係学部(タイ語選択)卒業後、タイ・バンコクに2年間駐在
日本語教師・日本語学校事務(留学ビザ手続担当)を経て2009年10月行政書士登録
最新の投稿
- 2023-08-29Blogภาษาไทยชะตาที่ดีใจ
- 2023-08-27業務日報的めも嬉しい縁
- 2023-08-22業務日報的めもタイ大使館内労働担当官事務所の契約書認証が、予想に反して早く終わった話
- 2023-08-14業務日報的めも国際行政書士実務マスター講座(2023年第四講義:日本人の配偶者等)登壇