ชะตาที่ดีใจ

ประมาณ 2 สัปดาห์ก่อน ผมคุยทางโทรศัพท์จากลูกค้าที่เป็นคนประเทศ”U” ซึ่งอาศัยอยู่ในญี่ปุ่น
เขาบอกว่าเพื่อนเขาที่ประเทศเดียวกัน (ซึ่งอาศัยอยู่ในประเทศ”U”) ได้แต่งงานกับคนญี่ปุ่น
จึงเขาอยากให้ผมยื่นขอวีซ่า(ใบCOEที่ ต.ม.ญี่ปุ่น)

ในส่วนของผม อย่างน้อยที่สุดก็ผมต้องคุยกับคู่สมรสชาวญี่ปุ่นโดยตรงและให้เขาเป็นลูกค้าของผม
จึงผมขอข้อมูลติดต่อของเขาและพูดคุยกันทางโทรศัพท์และอีเมล
และเมื่อเสาร์เขามาออฟฟิศเราเป็นครั้งแรก

เขาชื่อ”W”

เมื่อคุยกับเขาครั้งแรกทางโทรศัพท์ การออกเสียงภาษาญี่ปุ่นของเขาฟังดูเหมือนคนไทยนิดหน่อยน้อย แต่ภาษาญี่ปุ่นของเขาคล่องมาก และเขาเข้าใจคำอธิบายของเราดีกว่าบางคนญี่ปุ่นจึงผมเดามาว่าเขาเป็นคนญี่ปุ่น

ดังนั้นผมเขียนอีเมลทั้งหมดเป็นภาษาญี่ปุ่นเหมือนกับที่เขียนถึงคนญี่ปุ่น และการตอบกลับเขานั้นก็เป็นภาษาญี่ปุ่นที่ชัดเจนเหมือนคนญี่ปุ่น

แต่ ชื่อที่แสดงในชื่อผู้ส่งอีเมล์เหมือนคนไทย

ผมรู้สึกว่า “หืม?” แต่ไม่เพียงแต่เขาพูดภาษาญี่ปุ่นได้คล่องเท่านั้น
คุณ”W”มีคู่สมรสเป็นคนประเทศ”U” ไม่ใช่คนญี่ปุ่น
ลูกค้าที่แนะนำคุณ”W”ก็เป็นคนประเทศ”U”และเขาก็มีคู่สมรสที่เป็นคนฟิลิปปินส์

ชุมชนของแต่ละคนต่างประเทศในญี่ปุ่นก็ดูเหมือนจะไม่เกี่ยวข้องกับคนไทย

ไม่เห็นว่าคนไทยจะเข้ามาเกี่ยวข้องที่นี่

ดังนั้นผมรับเขาโดยสมมุติว่าเขาจะเป็นลูกค้าคนญี่ปุ่น

เมื่อเจอเขา ความประทับใจแรกของผมคือ… ผมมองได้ทั้งสองคนประเทศ แต่มารยาทของเขาเป็นคนญี่ปุ่นเหมือนกัน

หลังจากที่ผมแนะนำเขาไปห้องประชุม ผมคิดว่า “เขาคงเป็นคนญี่ปุ่น” ดังนั้นผมเตรียมเอกสารและทักทายเขาอีกครั้งแลพให้น้ำบัตรในห้องประชุม

แล้วเขายิ้มแล้วพูดว่า “อาจารย์คะ คุณเข้าใจภาษาไทยใช่ไหมค่ะ”

ตอนนั้นผมคิดว่า”เขาทำไมรู้ว่าผมภาษาไทยได้..ชื่อออฟฟิศที่เขียนบนนามบัตรคือ “aroi” (แปลว่า อร่อย ในภาษาไทย)ก็เขารู้มั้ง”

แต่ปกติ คนที่ไม่เกี่ยวกับคนไทยหรือประเทศไทยดูคำศัพท์”aroi”ที่เขียนทางภาษาอังกฤษก็รู้ไม่ได้ว่าคำศัพท์นี้เป็นภาษาไทย
เวลาดูคำศัพท์”aroi”ที่เขียนทางภาษาอังกฤษแต่ก็เขารู้ว่าคำศัพท์นี้เป็นภาษาไทยแสดงว่าชอบไทยมาก

ผมตอบว่า“ได้แต่ไม่ค่อยเก่งครับ ทำไมรู้ครับ”

จากนั้น คุณW ชี้ไปที่แผนภูมิอักษรไทยที่ติดไว้บนผนังด้านหลังผม

ห้องประชุมของออฟฟิศเราเป็นห้องเรียนภาษาไทยด้วย จึงติดไว้แผนภูมิอักษรไทยบนผนังแบบนี้

แต่ถึงแม้ดูแผนภูมิอักษรนี้แล้วก็ถ้าไม่เคยเรียนภาษาไทยก็คงไม่รู้ว่าเป็นตัวละครของประเทศไหน

ผมคิดว่า ถึงแม้จะชอบเมืองไทยนิดหน่อยและเคยไปเที่ยวเมืองไทยก็คนธรรมดาไม่มั่นใจว่าตัวละครนี้เป็นตัวละครภาษาไทย

และคุณWบอกว่า “ตอนนี้ดิฉันเป็นสัญชาติญี่ปุ่น แต่ดิฉันมาจากประเทศไทย”

เอ้า เหรอ!

ผมคิดนิดหน่อยว่าอาจจะเป็นคนไทย แต่ผมถือว่าเขาเป็นคนญี่ปุ่น

เขาบอกว่าเขาเป็นอดีตนักศึกษาต่างชาติทุนรัฐบาล

เขาบอกว่าเขายื่นขอสัญชาติญีปุ่นด้วยตัวเขาเอง

นี่สุดยอดมาก

มิน่า ภาษาญี่ปุ่นเก่งมาก

ว่าแต่ว่า

ออฟฟิศเราแทบจะไม่ดึงดูดลูกค้าจากอินเทอร์เน็ต
ลูกค้าใหม่ส่วนใหญ่ของเราได้รับการแนะนำให้รู้จักกับเราโดยคนญี่ปุ่นที่มีความผูกพันกับประเทศไทยหรือคนทยชุมชนชาวไทยในญี่ปุ่น ดังนั้นผมประหลาดใจนิดหน่อยที่ได้เชื่อมต่อกับคนไทยผ่านการเชื่อมต่อจากประเทศที่แตกต่าง(ประเทศ”U”ไม่ใช่ประเทศอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยซ้ำ)

และเหนือสิ่งอื่นใด สำหรับผมรู้สึกดีใจเมื่อคุณWบอกอย่างมีความสุข ว่า “นี่เป็นชะตาดีมากค่ะ”

ลูกค้าของออฟฟิศเรามากกว่า 40% เป็นคนไทย แต่นั่นเป็นเพราะเราตั้งใจพยายามเชื่อมต่อกับประเทศไทย

เพราะฉะนั้นผมรู้สึกประหลาดใจนิดหร่อยที่ได้เชื่อมโยงกับคนไทยจากชุมชนที่ไม่เกี่ยวข้องกัน แต่ผมรู้สึกมีความสุขในระดับที่แตกต่างกันเล็กน้อย

ผมอยากจะทะนุถนอมความสัมพันธ์แบบนี้ไว้

ก่อนอื่น ผมต้องจะได้ใบอนุญาตสำหรับสามีคุณWจาก ต.ม.ญี่ปุ่น

===

ว่าแล้วเชียว เขียนบล็อกภาษาไทยยากและใช้เวลามาก

เขียนบ่อยไม่ได้เลยครับ(^^;

Author

福島(Fukushima) 竜太(Ryuta)
福島(Fukushima) 竜太(Ryuta)入管手続専門行政書士(Certified Administrative Procedures Legal Specialists/Immigration Consultant)
aroi行政書士事務所 代表行政書士(東京都行政書士会所属)
アジアランゲージセンター(株) 代表取締役
群馬県渋川市出身
大東文化大学国際関係学部(タイ語選択)卒業後、タイ・バンコクに2年間駐在
日本語教師・日本語学校事務(留学ビザ手続担当)を経て2009年10月行政書士登録

コメントを残す

メールアドレスが公開されることはありません。 が付いている欄は必須項目です

CAPTCHA


このサイトはスパムを低減するために Akismet を使っています。コメントデータの処理方法の詳細はこちらをご覧ください

前の記事

嬉しい縁