การเปรียบเทียบระบบวีซ่าของประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทย (8) เกี่ยวกับ “สิทธิอยู่อาศัยถาวร” ※ เป็นบทความฉบับภาษาไทย วันที่ 2 กันยายน 2563
※「日タイのビザ制度比較(8)~永住権~」のタイ語訳です
คราวนี้จะลองเปรียบเทียบเกี่ยวกับสิทธิอยู่อาศัยถาวรของประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทย
คำว่า “สิทธิอยู่อาศัยถาวร” ได้ยินคำว่า “สิทธิอยู่อาศัยถาวร” บ่อย แล้ว “สิทธิอยู่อาศัยถาวร” คืออะไร
อาจจะพูดได้ว่า “ไม่มีหลักเกณฑ์ที่เหมือนทุกประเทศ”
เนื่องจากการที่จะให้คนต่างด้าวมีสิทธิอยู่อาศัยถาวรในประเทศของตนภายใต้เงื่อนไขอย่างไรนั้น (เงื่อนไขการอนุญาต) ย่อมมีความแตกต่างกันในแต่ละประเทศ
ถ้าจะให้เกิดภาพพจน์ของคำว่า “สิทธิอยู่อาศัยถาวร” ที่ใคร ๆ ก็มีสิทธิที่จะได้รับ เปลี่ยนเป็นคำพูดที่น่าจะเป็นว่า “สิทธิอยู่อาศัยตลอดชีพในประเทศใดประเทศหนึ่งนอกจากประเทศของตนเอง โดยยังคงให้ถือสัญชาติของตนเองไว้”
แต่เมื่อได้รับคำอธิบายจากพาทเนอร์เกี่ยวกับสิทธิอยู่อาศัยถาวรของประเทศไทย หรือที่เรียกว่า “การขอมีถิ่นที่อยู่ถาวร” สำหรับการขอมีถิ่นที่อยู่ถาวรของประเทศไทย รู้สึกว่าไม่ค่อยจะมีข้อดีเท่ากับภาพพจน์ของคนญี่ปุ่นที่ได้มาจากคำว่า “สิทธิ”
อาจจะเป็นเพราะว่าสิทธิอยู่อาศัยถาวรของประเทศญี่ปุ่นให้สิทธิที่มีขอบเขตกว้าง และมีตำแหน่งที่มั่นคงให้กับคนต่างชาติมากกว่าประเทศไทย
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเงื่อนไขหรือความยุ่งยากในการขอสิทธิ แต่ของประเทศไทยนั้นเหมือนจะมีการสูญเสียสิทธิง่ายและไม่มีอิสระในการทำงาน รู้สึกว่าไม่ค่อยจะมีความมั่นคงหรือข้อดีเลย
ต่อไปจะเขียนถึง “สิทธิอยู่อาศัยถาวร” ของทั้งประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทย
รวมถึงเรื่องที่พูดมาในตอนแรกกรณีที่ “ถือสิทธิอยู่อาศัยถาวร” ในประเทศญี่ปุ่น หมายความว่า “สิทธิอยู่อาศัย ผู้อยู่อาศัยถาวร” “สิทธิอยู่อาศัย” โดยทั่วไปจะเรียกว่า วีซ่า (ในบล็อคนี้ด้วย) หรือ “วีซ่าผู้อยู่อาศัยถาวร” ก็คือ สิทธิอยู่อาศัยถาวรของประเทศญี่ปุ่นเป็นประเภทหนึ่งของสิทธิอยู่อาศัย (วีซ่า)
สำหรับวีซ่าประเภทอื่นจะมีระยะเวลาอยู่อาศัย (ระยะเวลาวีซ่า) กำหนดไว้ ถึงแม้จะเป็นวีซ่าที่มีระยะเวลานานก็ตามก็จะต้องต่ออายุวีซ่าอย่างน้อย 5 ปี ต่อ 1 ครั้ง และต้องได้รับการตรวจสอบสภาพการอยู่อาศัยต่าง ๆ แต่สำหรับวีซ่าอยู่อาศัยถาวรเป็นวีซ่าเพียงประเภทเดียวที่ไม่มีระยะเวลาของวีซ่า
หลักการส่วนใหญ่ของระบบสิทธิอยู่อาศัยของประเทศญี่ปุ่นจะเป็น “หนึ่งคนต่อหนึ่งสิทธิอยู่อาศัย” หมายถึง คนต่างชาติมีสิทธิถือวีซ่าได้เพียงประเภทเดียว เช่น ไม่สามารถถือวีซ่า “วิศวกร ผู้เชี่ยวชาญด้านมนุษยศาสตร์ กิจการระหว่างประเทศ” และวีซ่า “ผู้อยู่อาศัยถาวร” พร้อมกันได้ ดังนั้น แม้จะมีคุณสมบัติครบตามเงื่อนไขของทั้งสองวีซ่าก็ตาม
ในประเทศญี่ปุ่นจะให้การรับรองผู้ถือสิทธิอยู่อาศัยถาวรด้วยบัตร “ไซริวการ์ด” ซึ่งเป็นสิทธิอยู่อาศัย
สำหรับประเทศไทยกำหนดว่า “สิทธิอยู่อาศัยถาวร” ไม่ใช่วีซ่า และสิทธิอยู่อาศัยถาวรของประเทศไทยจะมีโอกาสได้รับเฉพาะผู้ที่ถือวีซ่า 4 ประเภท (วีซ่าทำงาน วีซ่าครอบครัว วีซ่าผู้เชี่ยวชาญ วีซ่านักลงทุน) หมายถึง คนต่างชาติที่จะมีสิทธิขอมีถิ่นที่อยู่ถาวรในประเทศไทยจะต้องถือวีซ่าประเภทใดประเภทหนึ่งในวีซ่า 4 ประเภทดังกล่าว
เนื่องจากประเทศไทยนั้นวีซ่ากับสิทธิอยู่อาศัยถาวรเป็นคนละประเภทกัน โดยจะมีการออกใบอนุญาตอยู่อาศัยถาวรที่แสดงว่าเป็นผู้มีสิทธิอยู่อาศัยถาวรต่างหาก (ค่าธรรมเนียมประมาณ 190,000 บาท อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 21 สิงหาคม 2020 ประมาณ 640,000 เยน เป็นอัตราที่ค่อนข้างสูง)
ต่อไปจะเป็นเงื่อนไขการได้รับสิทธิอยู่อาศัยถาวร
การได้รับสิทธิอยู่อาศัยถาวรนั้นมีหลายเงื่อนไข แม้จะมีเอกสารครบถ้วนก็ตามก็ใช่ว่าจะได้รับการอนุมัติอย่างแน่นอน ในประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทยก็เช่นเดียวกัน ถ้าจะเขียนเรื่องเงื่อนไขหรือเอกสารที่ใช้ประกอบการยื่นคำขอนั้นมีค่อนข้างเยอะ ดังนั้น ในคอลัมน์นี้จะเขียนเฉพาะเงื่อนไขที่สำคัญหลัก ๆ เท่านั้น หมายถึง ถ้าไม่เข้าเงื่อนไขดังจะกล่าวต่อไปนี้ แม้จะยื่นคำขอก็อาจจะเสียเวลาเปล่า (ไม่ได้รับการอนุมัติ)
◎จำนวนปีที่อยู่อาศัย
ประเทศญี่ปุ่น |
ประเทศไทย |
วีซ่าทำงานทั่วไป : 10 ปี วีซ่าคู่สมรสของบุคคลสัญชาติญี่ปุ่น : 1 ปี (ระยะเวลาจดทะเบียนสมรส 3 ปี) วีซ่าคู่สมรสของบุคคลผู้อยู่อาศัยถาวร : 1 ปี (ระยะเวลาจดทะเบียนสมรส 3 ปี) วีซ่าผู้อยู่อาศัยระยะยาว : 5 ปี วีซ่าอาชีพความเชี่ยวชาญสูงทางเทคนิค (มากกว่า 70 แต้ม) : 3 ปี วีซ่าอาชีพความเชี่ยวชาญสูงทางเทคนิค (มากกว่า 80 แต้ม) : 1 ปี |
ไม่น้อยกว่า 3 ปี นับถึงวันที่ยื่นคำขอ |
กรณีประเทศญี่ปุ่น ไม่ว่าจะอยู่อาศัยโดยวัตถุประสงค์หรือเหตุผลใด โดยหลักจะต้องอยู่อาศัยติดต่อกันมากกว่า 10 ปีขึ้นไป หรือหากผู้ยื่นคำขอมีทักษะเฉพาะตัวในด้านใดก็สามารถขอลดจำนวนปีที่อยู่อาศัยได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าผู้นั้นอยู่อาศัยด้วยวัตถุประสงค์หรือเหตุผลใดด้วย โดยหลักแล้วการอยู่อาศัยจะต้องติดต่อกันมากกว่า 10 ปีขึ้นไป กรณีกลับเข้าประเทศญี่ปุ่นอีกครั้งโดยวีซ่าประเภทใหม่ก็จะต้องเริ่มนับใหม่ แม้จะอยู่อาศัยที่ประเทศญี่ปุ่นครบตามจำนวนปีดังตารางข้างต้นก็ตาม สำหรับกรณีที่เคยเดินทางออกจากประเทศญี่ปุ่นไปแล้วเป็นระยะเวลายาวนาน มีโอกาสที่จะไม่ได้รับอนุมัติโดยเหตุผลที่ว่า “อยู่อาศัยที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นประจำค่อนข้างน้อย”
และประเทศญี่ปุ่นมีเงื่อนไขเพิ่มเติมอีกว่า จะต้องเป็นผู้ที่ถือวีซ่ามากกว่า 3 ปีขึ้นไป ดังนั้น ผู้ที่ถือวีซ่า 1 ปี แม้จะอาศัยอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่นมานานกว่า 10 ปีก็ตาม ก็ไม่สามารถได้รับสิทธิอยู่อาศัยถาวร
※หมายเหตุ สำหรับเงื่อนไขที่จะได้รับวีซ่า 3 ปี กรุณาดูดังต่อไปนี้
วีซ่า “คู่สมรสของบุคคลสัญชาติญี่ปุ่น” และวีซ่า “คู่สมรสของบุคคลผู้อยู่อาศัยถาวร”
วีซ่า “ วีซ่าผู้อยู่อาศัยระยะยาว”
วีซ่า “วิศวกร ผู้เชี่ยวชาญด้านมนุษยศาสตร์ กิจการระหว่างประเทศ” วีซ่า “แรงงานมีฝีมือ” วีซ่า “พนักงานโยกย้ายภายในบริษัท”
สำหรับประเทศไทย โดยหลักจะต้องอยู่อาศัยไม่น้อยกว่า 3 ปี และกรณีที่กลับประเทศของตนและได้รับวีซ่าใหม่ก็จะเริ่มนับใหม่เช่นเดียวกับประเทศญี่ปุ่น แต่ถึงแม้ว่าจะเริ่มนับใหม่ ประวัติการอยู่อาศัยในอดีตอาจจะอยู่ในเกณฑ์การพิจารณาด้วย
◎ประเภทวีซ่าที่สามารถยื่นคำขอได้
ประเทศญี่ปุ่น |
ประเทศไทย |
เช่น วีซ่า “ผู้ฝึกปฎิบัติงานทางเทคนิค”หรือวีซ่า “นักศึกษา” หรือวีซ่า”ทักษะเฉพาะทาง ประเภท1″ มีโอกาสได้รับยกเว้นบางกรณี |
การทำงาน (NON B) การลงทุน (NON IB) ผู้เชี่ยวชาญ (NON EX) ครอบครัว (NON O) |
กรณีประเทศญี่ปุ่น วีซ่า “นักศึกษา” ที่ยังไม่มีรายได้ หรือวีซ่า “ผู้ฝึกปฎิบัติงานทางเทคนิค” ที่ในอนาคตจะต้องกลับประเทศ หรือวีซ่า “ผู้ฝึกปฏิบัติงานทางเทคนิคประเภท 1” ไม่มีโอกาสที่จะได้รับสิทธิอยู่อาศัย นอกจากนั้นเช่น วีซ่า “ผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจกรรมตามที่กำหนด” มีความจำเป็นที่จะต้องมีการตรวจสอบต่างหาก
สำหรับประเทศไทยมีวีซ่า 4 ประเภท ที่มีโอกาส
◎อายุ
ประเทศญี่ปุ่น |
ประเทศไทย |
ไม่มีจำกัด |
อายุ 40 ปีขึ้นไป (ยกเว้นบุตรของผู้มีสิทธิอยู่อาศัยถาวร) |
กรณีประเทศไทยมีการจำกัดอายุ กล่าวคือ คนที่อายุต่ำกว่า 40 ปี ไม่สามารถยื่นคำขอได้ ยกเว้นกรณีบุตรของผู้มีสิทธิอยู่อาศัยถาวรแม้จะมีอายุไม่ถึง 40 ปี ก็สามารถได้สิทธิอยู่อาศัยถาวรตามครอบครัว แต่สิทธิอยู่อาศัยถาวรของบุตรจะหมดอายุตอนอายุครบ 20 ปี
สำหรับประเทศญี่ปุ่นไม่มีจำกัดในเรื่องของอายุ บุตรของบุคคลผู้อยู่อาศัยถาวรจะได้รับสิทธิตลอดชีพ ยกเว้นกรณีที่เกินเวลาอนุมัติเข้าประเทศใหม่หรือทำผิดกฎหมายที่กำหนดไว้
จุดที่เหมือนกันของทั้ง 2 ประเทศ คือกรณีที่ไม่มีรายได้เนื่องจากอายุเยอะแล้ว (กรณีที่ไม่มีรายได้จากระบบเงินบำนาญ หรือ เนงคิน) โอกาสที่จะได้รับสิทธิอยู่อาศัยถาวรค่อนข้างจะยากขึ้น ทั้งนี้ประเทศญี่ปุ่นมีระบบเยียวยาสำหรับคนต่างชาติที่เข้าเงื่อนไขที่กำหนดไว้ ก็สามารถมีสิทธิที่จะได้รับสิทธิอยู่อาศัยถาวร แต่ระบบเยียวยาไม่ถือว่ามีรายได้ ไม่สามารถได้รับสิทธิอยู่อาศัยถาวรได้ (ระบบเยียวยา การได้รับวีซ่า 3 ปี ค่อนข้างจะยาก)
◎ช่วงเวลาในการยื่นคำขอ และจำนวนคนที่รับยื่นคำขอ
ประเทศญี่ปุ่น |
ประเทศไทย |
สามารถยื่นคำขอได้ทุกเวลา / ไม่มีจำกัดจำนวนคน |
เปิดรับคำขอปีละครั้ง (ติดตามข่าวสารได้ที่ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง) / ปีละไม่เกิน 100 คน |
ประเทศญี่ปุ่นสามารถยื่นคำขอได้ทุกเวลา และไม่มีจำกัดจำนวนคนที่ยื่นคำขอ หากมีคุณสมบัติครบตามเงื่อนไขก็สามารถได้รับสิทธิอยู่อาศัยถาวร และสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองจะไม่พูดว่า “ปีนี้มีการยื่นคำขอหลายคนแล้วจะไม่รับอีก”
สำหรับประเทศไทยช่วงเวลายื่นคำขอมีเพียงปีละหนึ่งครั้ง (ช่วงเวลาอาจมีการเปลี่ยนแปลง ติดตามข่าวสารได้ที่ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง) โดยเปิดรับไม่เกิน 100 คน ต่อปี ดังนั้นสำหรับผู้ที่อยากจะยื่นคำขอมีความจำเป็นจะต้องเตรียมตัวล่วงหน้าและยื่นคำขอให้เร็วที่สุด เพื่อจะได้อยู่ในลำดับ 100 คน
◎ความสามารถทางด้านภาษา
ประเทศญี่ปุ่น |
ประเทศไทย |
ไม่มีการทดสอบความสามารถทางด้านภาษาญี่ปุ่น |
มีการทดสอบความสามารถทางด้านภาษาไทยโดยการสัมภาษณ์ |
ประเทศญี่ปุ่นไม่มีการทดสอบความสามารถทางด้านภาษาญี่ปุ่นในการยื่นคำขอ (กรณีเปลี่ยนสัญชาติจะมีการทดสอบความสามารถทางด้านภาษาญี่ปุ่น) สำหรับการยื่นคำขอสิทธิอยู่อาศัยถาวรของประเทศญี่ปุ่นนั้น ผู้ช่วยด้านกฎหมายอย่างพวกเราสามารถยื่นคำขอแทนได้และไม่มีการสัมภาษณ์ แต่ภายหลังจากที่ยื่นคำขอแล้วอาจจะมีการขอเอกสารเพิ่มเติม แต่โดยหลักจะรอฟังผลการพิจารณาอย่างเดียว
สำหรับประเทศไทยผู้ยื่นคำขอจะต้องยื่นคำขอพร้อมเอกสารประกอบด้วยตนเอง และมีการนัดหมายเพื่อมาสัมภาษณ์โดยจะมีการทดสอบความสามารถทางด้านภาษาไทยเกี่ยวกับการพูดและการฟัง ซึ่งการสัมภาษณ์นี้อาจจะมีมากกว่า 2 ครั้ง ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของเจ้าหน้าที่ ดังนั้นหากมีความต้องการที่จะได้รับสิทธิอยู่อาศัยถาวรในประเทศไทยจะต้องมีความสามารถทางด้านภาษาไทยพอสมควร
◎ประวัติการทำผิดกฎหมาย
เป็นจุดสำคัญของทั้งประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทย
กรณีประเทศไทยประวัติการทำผิดกฎหมายนอกประเทศก็อยู่ในเกณฑ์การพิจารณาอย่างชัดเจน ดังนั้นตอนยื่นคำขอมีความจำเป็นจะต้องมีหนังสือรับรองประวัติอาชญากรรมด้วย ได้ยินบ่อยครั้งว่า “Overstay ของประเทศไทย จ่ายค่าปรับก็จบ” แต่จะอยู่ในระบบบัญชีเฝ้าดู Blacklist หรือไม่ ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของเจ้าหน้าที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง หากขณะที่ออกจากประเทศส่วนใหญ่มีระยะเวลา Overstay เกิดขึ้นบ่อย ๆ หรือทำซ้ำกัน มีโอกาสสูงที่จะอยู่ในระบบบัญชีเฝ้าดู Blacklist ดังนั้นหากผู้ยื่นคำขอมีรายชื่ออยู่ในระบบบัญชีเฝ้าดู Blacklist การจะได้รับสิทธิอยู่อาศัยถาวรก็จะค่อนข้างยากขึ้น การตรวจสอบว่ามีรายชื่อผู้อยู่ในระบบบัญชีเฝ้าดู Blacklist หรือไม่ สามารถตรวจสอบได้ที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
สำหรับประเทศญี่ปุ่น ไม่ต้องแสดงหนังสือรับรองประวัติอาชญากรรมของประเทศสัญชาติของผู้ยื่นคำขอ แต่อาจจะมีโอกาสสูงที่จะมีการตรวจสอบประวัติการทำผิดกฎหมายนอกประเทศญี่ปุ่นขณะพิจารณาคำขอได้ และประเทศญี่ปุ่นประวัติของ Overstay ทั้งหมดจะถูกบันทึกไว้อย่างถาวร ไม่ใช่ว่า “ถ้ามีประวัติ Overstay แล้ว ไม่สามารถได้รับสิทธิอยู่อาศัยถาวรได้” แต่จะมีผลกระทบในทางลบเกี่ยวกับการพิจารณาโดยขึ้นอยู่กับความถี่หรือระยะเวลา
◎เกี่ยวกับรายได้
ทั้งประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น เรื่องรายได้ก็ถือเป็นจุดสำคัญ แต่ไม่ได้แสดงชัดเจนว่าจะต้องมีรายได้จำนวนเท่าไหร่ถึงจะยื่นคำขอได้
กรณีประเทศญี่ปุ่น ถ้าเป็นผู้ที่ถือวีซ่าทำงานได้ยินบ่อย ๆ ว่าจะต้องมีรายได้ต่อปีมากว่า 3 ล้านเยน ติดต่อกันเป็นเวลา 5 ปีขึ้นไป แต่ก็ไม่ใช่ตัวเลขที่ระบุไว้แน่นอนอาจจะขึ้นอยู่กับฐานะทางครอบครัวด้วย บางกรณีมีรายได้มากกว่านี้แต่ก็ไม่ได้รับการอนุมัติ หรือน้อยกว่านี้อาจจะได้รับการอนุมัติก็มี
◎การชำระภาษี
ทั้งประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่นจำเป็นจะต้องชำระภาษีภายในระยะเวลาที่กำหนด เช่น ภาษี หรือเงินประกันสังคม ยกเว้นเป็นผู้ได้รับการเลี้ยงดูเนื่องจากเป็นพ่อบ้าน แม่บ้าน หรือเด็ก
กรณีประเทศญี่ปุ่นจะต้องยื่นสำเนาใบเสร็จ หากมีประวัติการชำระเกินระยะเวลาอาจจะไม่ได้รับอนุญาต เพียงเหตุผลนี้ข้อเดียวก็ได้
เงื่อนไขคร่าว ๆ ก็เป็นที่ดังกล่าวมาข้างต้น
ต่อไปเป็นกรณีที่เกี่ยวกับการเสียสิทธิอยู่อาศัยถาวร
ตามที่กล่าวมาข้างต้น ผู้ยื่นคำขอสิทธิอยู่อาศัยถาวรของประเทศไทยจะต้องถือวีซ่าประเภทใดประเภทหนึ่งในวีซ่า 4 ประเภท หากมีการเสียสิทธิในกิจกรรมหรือฐานะที่ตรงกับวีซ่าแล้ว (กรณีลาออกจากงานหรือหย่า) กล่าวคือ กรณีที่เสียวีซ่าแล้วจะเสียสิทธิอยู่อาศัยถาวรด้วย ส่วนกรณีที่เป็น “วีซ่าครอบครัว” โดยแต่งงานกับภรรยาคนไทย หากภรรยาคนไทยเสียชีวิต สิทธิอยู่อาศัยถาวรก็จะหมดไป
สำหรับประเทศญี่ปุ่น สิทธิอยู่อาศัยถาวร คือ วีซ่าผู้อยู่อาศัยถาวร เมื่อได้รับสิทธิอยู่อาศัยถาวรแล้วจะไม่เกี่ยวข้องกับงานหรือฐานะ แม้จะลาออกจากงานหรือหย่ากับคู่สมรส หรือคู่สมรสเสียชีวิต สิทธิอยู่อาศัยถาวรก็จะไม่หมดไป ดังนั้น หากได้รับสิทธิอยู่อาศัยถาวรของประเทศญี่ปุ่น จึงพูดได้ว่ามีความมั่นคงค่อนข้างมากในการอาศัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่น
นอกจากนี้ทั้ง 2 ประเทศมีกรณีที่อาจจะสูญเสียสิทธิอยู่อาศัยถาวร กล่าวคือ
- กรณีที่ไม่ได้กลับเข้าประเทศใหม่ภายในระยะเวลาอนุมัติในการเข้าประเทศใหม่
- กรณีกระทำผิดกฎหมายตามที่กำหนดไว้
กรณีกระทำผิดกฎหมายตามหัวข้อที่ 2. (รวมถึงละเลยในการทำหน้าที่ด้วย) จะพูดถึงข้อควรระวังเฉพาะของประเทศญี่ปุ่นเกี่ยวกับการสูญเสียสิทธิอยู่อาศัยอถาวรในกรณีที่ไม่ใช่อาชญากรรมที่ร้ายแรง เช่น
- กรณีที่ปรากฏว่ายื่นเอกสารเท็จหรือใช้เอกสารปลอม
→แน่นอนว่าเริ่มจากการโกหก จึงขึ้นอยู่กับเนื้อหาของข้อเท็จจริงว่า “จริง ๆ แล้ว คุณเป็นใคร” และอาจจะถูกสงสัยว่าปกปิดประวัติการกระทำผิดกฎหมายหรือไม่ (อาจจะปรากฎสิ่งที่ปิดบังไว้) - กรณีที่ละเลยหรือแจ้งที่อยู่เป็นเท็จ
→ที่ผ่านมาผมยังไม่มีลูกค้าที่ถูกยกเลิกสิทธิอยู่อาศัยถาวรด้วยเหตุผลนี้ ทั้งนี้ไม่ใช่เงื่อนไขเฉพาะสิทธิอยู่อาศัยถาวรเท่านั้น แต่เป็นข้อกำหนดที่ใช้กับวีซ่าทุกประเภทจึงจำเป็นจะต้องระมัดระวัง เพราะเคยมีเหตุการณ์ที่ “คู่สมรสของคนญี่ปุ่น” ไม่สามารถต่ออายุได้ (ไม่ใช่การยกเลิก)
นอกจากนี้ยังมีการกระทำผิดกฎหมายในประเทศญี่ปุ่นที่ทำให้สูญเสียสิทธิอยู่อาศัยถาวรอีกหลายกรณี แต่ในบทความนี้จะไม่พูดถึง
ถ้าเป็นกรณีฆาตกรรม ยาเสพติด ค้าประเวณี การกระทำผิดกฎหมายร้ายแรงจำพวกนี้ น่าจะทำให้สูญเสียสิทธิอยู่อาศัยถาวรของทั้งประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทย
สุดท้ายนี้มาดูข้อดีของการได้รับสิทธิอยู่อาศัยถาวร
ทั้งประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่นไม่จำเป็นจะต้องต่อวีซ่าหลังจากได้รับสิทธิอยู่อาศัยถาวร การต่ออายุวีซ่านอกจากจะต้องเตรียมเอกสารไว้ล่วงหน้าแล้วจะต้องเสียเวลาในการเดินทางไปสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และมีโอกาสที่จะไม่ได้รับอนุมัติในการพิจารณาเป็นประจำ หากไม่ต่ออายุจะกลายเป็น Overstay จำเป็นจะต้องระมัดระวังอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น ทั้งประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น การได้รับสิทธิอยู่อาศัยถาวรจึงเป็นข้อดีที่ดีที่สุดในการที่จะไม่ต้องต่ออายุวีซ่า
นอกจากนั้นที่ประเทศญี่ปุ่นผู้ถือสิทธิอยู่อาศัยถาวรสามารถทำงานได้อย่างอิสระ ยกตัวอย่างเช่น ผู้ที่ถือวีซ่า “แรงงานมีฝีมือ” โดยเป็นกุ๊กร้านอาหารไทยกว่าจะได้รับสิทธิอยู่อาศัยถาวร ไม่สามารถทำงานได้ยกเว้นกุ๊กของร้านอาหารไทย แต่เมื่อได้รับสิทธิอยู่อาศัยถาวรแล้วสามารถทำงานได้ทุกอย่าง ถ้าดำรงชีวิตอยู่ได้ไม่ต้องทำงานก็ได้ สำหรับเรื่องนี้คนที่มีวีซ่า “คู่สมรสคนญี่ปุ่น” วีซ่า “คู่สมรสของผู้อาศัยอยู่ถาวร” วีซ่า “ ผู้อยู่อาศัยระยะยาว” สามารถทำงานได้อย่างอิสระอยู่แล้ว อาจจะไม่รู้สึกว่าเป็นข้อดี แต่คนที่มีวีซ่า “คู่สมรสคนญี่ปุ่น” หรือคนที่มีวีซ่า “คู่สมรสของผู้อยู่อาศัยถาวร” สำหรับเรื่องการทำงานมีอิสระอยู่แล้ว แต่ถ้าเกิดหย่ากันจะมีความเสี่ยงที่จะสูญเสียวีซ่า แต่ถ้าได้รับสิทธิอยู่อาศัยถาวรก่อนจะหย่ากัน ถึงแม้จะหย่ากันก็สามารถอยู่อาศัยต่อในประเทศญี่ปุ่นได้ (กรณีหย่ากันทันทีหลังจากได้รับสิทธิอยู่อาศัยถาวร อาจจะมีโอกาสถูกสงสัยว่าแต่งงานกันหลอก ๆ หรือไม่ )
สิทธิอยู่อาศัยถาวรของประเทศญี่ปุ่นมีความมั่นคงค่อนข้างมากในการที่จะอาศัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่นเมื่อเทียบกับวีซ่าประเภทอื่น
สำหรับเรื่องที่พูดมากรณีของประเทศไทยก็อาจจะมีเงื่อนไขการสูญเสียสิทธิอยู่อาศัยถาวรเหมือนเช่นเดียวกัน การมีวีซ่า 4 ประเภท ถือเป็นเงื่อนไขของการขอสิทธิอยู่อาศัยถาวร ยกตัวอย่างเช่น ผู้ที่ถือวีซ่า NON B ได้รับสิทธิอยู่อาศัยถาวร ต่อมาลาออกจากงาน ถือว่าไม่อาจถือวีซ่า NON B ต่อไปได้จึงทำให้สูญเสียสิทธิอยู่อาศัยถาวร ดังนั้น การสูญเสียสิทธิอยู่อาศัยถาวร จึงหมายความว่า กรณีมีสิทธิอยู่อาศัยถาวรโดยถือวีซ่าทำงานจึงไม่สามารถออกจากงานได้ และกรณีผู้ที่ถือวีซ่าครอบครัว (วีซ่า NON O) โดยแต่งงานกับคู่สมรสคนไทยและได้รับสิทธิอยู่อาศัยถาวร หากต่อมาหย่ากัน ก็สูญเสียสิทธิอยู่อาศัยถาวรเช่นกัน หมายความว่า หากจะรักษาสิทธิอยู่อาศัยถาวรจะต้องไม่หย่ากัน ดังนั้น กรณีมีการวางแผนที่จะลาออกจากงานและอยู่ในฐานะสมรส จำเป็นจะต้องเปลี่ยนประเภทวีซ่าเป็นวีซ่าครอบครัวเสียก่อน หากเป็นกรณีที่จะมีโอกาสหย่ากันจำเป็นจะต้องเปลี่ยนเป็นวีซ่าทำงาน วีซ่านักลงทุน วีซ่าผู้เชี่ยวชาญ อันใดอันหนึ่งล่วงหน้าก่อนและจะต้องได้รับใบอนุญาตทำงาน ( Work Permit) ไว้ก่อนด้วย
กรณีของประเทศไทย แม้จะได้รับสิทธิอยู่อาศัยถาวรก็ตาม ก็ไม่มีความเป็นอิสระในด้านการทำงาน (วีซ่าทำงาน หรือWork Permit) หรือฐานะ (การแต่งงานหรือการหย่า)
※หมายเหตุ วีซ่าทำงาน หรือการได้รับใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) ไม่ได้หมายความว่า สามารถทำงานได้ทุกอย่าง
เรื่องนี้ทำให้ผมรู้สึกว่า ข้อดีของสิทธิอยู่อาศัยถาวรของประเทศไทยมีน้อย
สำหรับข้อดีของสิทธิอยู่อาศัยถาวรของประเทศไทยนอกจากจะไม่จำเป็นต้องต่ออายุวีซ่า ข้อดีที่ดีที่สุดคืออาจจะเป็นเรื่องที่ไม่จำเป็นต้องรายงานตัว 90 วัน สำหรับคนต่างชาติการรายงานตัว 90 วัน ถือเป็นภาระที่หนัก คิดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ แต่ที่ประเทศญี่ปุ่นคนต่างชาติไม่มีหน้าที่ที่จะต้องรายงานตัว 90 วันอยู่แล้ว
ถ้าเทียบกันง่าย ๆ แล้ว รู้สึกว่าสิทธิอยู่อาศัยถาวรของประเทศไทยไม่น่ามีผลประโยชน์เท่าสิทธิอยู่อาศัยของประเทศญี่ปุ่น
สิทธิอยู่อาศัยถาวรของประเทศญี่ปุ่นดีเกินไปหรือเปล่านะ
สำหรับท่านไหนที่อยากจะได้รับสิทธิอยู่อาศัยถาวรของประเทศไทย กรุณาติดต่อตามข้อมูลดังต่อไปนี้ (สามารถติดต่อจากฟอร์มการติดต่อของบล็อคนี้ได้ด้วย)
พาร์ทเนอร์ของประเทศไทย : Mr.Hideaki SuZuki kunhide111@gmail.com (ภาษาไทย และภาษาญี่ปุ่น)
翻訳(แปลโดย):鈴木秀明(ฮิเดอากิ ซูซูกิ)
Author
-
aroi行政書士事務所 代表行政書士(東京都行政書士会所属)
アジアランゲージセンター(株) 代表取締役
群馬県渋川市出身
大東文化大学国際関係学部(タイ語選択)卒業後、タイ・バンコクに2年間駐在
日本語教師・日本語学校事務(留学ビザ手続担当)を経て2009年10月行政書士登録
最新の投稿
- 2023-08-29Blogภาษาไทยชะตาที่ดีใจ
- 2023-08-27業務日報的めも嬉しい縁
- 2023-08-22業務日報的めもタイ大使館内労働担当官事務所の契約書認証が、予想に反して早く終わった話
- 2023-08-14業務日報的めも国際行政書士実務マスター講座(2023年第四講義:日本人の配偶者等)登壇